Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25436
Title: พฤติกรรมในการซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Private automobile purchasing behavior in Chiang Ma
Authors: สุรพร จุ่งพิวัฒน์
Advisors: นาท ธานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในจังกวัดเชียงใหม่ แสดงให้เห็นว่าจำนวนรถมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหมายถึงว่าร้านค้ารถยนต์จะขายรถได้มากขึ้นและมีกำไรมากขึ้นด้วย แต่ในขณะเดียวกันทำให้การจราจรแออัดและอากาศเป็นพิษ ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ซื้อรถยนต์มีความสำคัญต่อการกำหนดกลยุทธทางการตลาดของพ่อค้ารถยนต์มาก ด้วยเหตุที่ในอดีตมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมในการซื้อรถยนต์ในเชียงใหม่น้อยมาก เพราะฉะนั้นถึงวาระแล้วที่จะต้องทำการศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและเพื่อที่พ่อค้ารถยนต์และรัฐบาลจะนำไปใช้ประโยชน์ การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ได้เลือกเจ้าของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่โดยสารได้ไม่เกิน 7 คน มีภูมิลำเนาในจังหวัดเชียงใหม่โดยวิธี systematic random sampling เป็นตัวอย่าง 318 ราย ใช้แบบสอบถาม 43 ข้อ สัมภาษณ์เจ้าของรถยนต์ซึ่งตกเป็นตัวอย่างในการนี้สัมภาษณ์เจ้าของรถยนต์ได้ 200 ราย นอกนั้นไม่สามารถที่จะสัมภาษณ์ได้ด้วยเหตุขัดข้องบางประการ เจ้าของรถยนต์ที่ซื้อรถก่อนวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2516 ไม่ได้รวมอยู่ในตัวอย่างเพราะการศึกษาวิจัยครั้งนี้ต้องการค้นคว้าพฤติกรรมของผู้ซื้อรถยนต์ตั้งแต่เริ่มเกิดวิกฤตการณ์น้ำมัน ในกรณีที่ไม่สามารถสัมภาษณ์ตัวอย่างใดตัวอย่างหนึ่งได้จะสัมภาษณ์เจ้าของรถยนต์คันถัดไปแทน นอกจากผู้เขียนจะออกสัมภาษณ์เองแล้ว ยังได้รับการช่วยเหลือจากนักศึกษาวิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ จำนวน 20 คนด้วย การศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่าผู้ซื้อรถยนต์นั่งส่วนใหญ่เป็นชาย สมรสแล้วอายุระหว่าง 21 ถึง 50 ปี สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ประกอบอาชีพส่วนตัว (ร้อยละ 43.5) รับราชการ (ร้อยละ 35.0) เป็นลูกจ้างเอกชน (ร้อยละ 14.5) ประกอบอาชีพอื่น ๆ (ประมาณร้อยละ 7) และมีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 2,000 ถึง 6,000 บาท ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์มากกว่าครึ่งหนึ่งมีบ้านและที่ดินเป็นของตนเอง รถญี่ปุ่นได้รับความนิยมสูงสุด (ร้อยละ 51.5) รถโตโยต้าได้รับความน้อยมากที่สุด คนในเชียงใหม่ชอบรถที่มีสีบรอนซ์ ชนิด 4 ประตู เกียร์กระปุก ชนิด 4 เกียร์ ติดเครื่องปรับอากาศ เครื่องยนต์ขนาด 1200 ถึง 1800 ซี.ซี. ข่าวเกี่ยวการขึ้นราคารถยนต์มีส่วนสนับสนุนการซื้อรถยนต์มากพอสมควร มีการซื้อรถยนต์โดยวิธีผ่อนส่งประมาณร้อยละ 33 ของการซื้อทั้งหมด การพิจารณาซื้อรถในอนาคตผู้ที่เคยซื้อจะใช้ปัจจัยในการพิจารณาอย่างเดียวกันกับการซื้อรถในปัจจุบัน จากผลของการวิจัยนี้ได้ข้อเสนอแนะ ที่สามารถนำไปใช้สำหรับพ่อค้ารถยนต์และรัฐบาลได้ดังต่อไปนี้คือ ด้านพ่อค้ารถยนต์ควรกำหนกลยุทธทางการตลาดโดยเน้นหนักสินค้ารถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1200 ถึง 1800 ซี.ซี. ชนิด 4 ประตู เกียร์กระปุก ชนิด 4 เกียร์ และราคาไม่ควรเกินคันละ 200,000 บาท การโฆษณาควรเน้นทางด้านหนังสือพิมพ์รายวันและวารสาร การซื้อรถยนต์เงินผ่อนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาก รัฐบาลอาจควบคุมโดยใช้มาตรการที่เหมาะสม เช่นออกกฎหมายควบคุมการซื้อขายผ่อนส่งโดยกำหนดให้วางเงินดาวน์จำนวนสูงขึ้น และกำหนดระยะเวลาในการผ่อนส่งให้น้อยลง จะมีผลให้อัตราการซื้อผ่อนส่งน้อยลง ทำให้การสั่งรถยนต์และน้ำมันเข้าประเทศลดลง เป็นการประหยัดเงินตราต่างประเทศและไม่เพิ่มความแออัดของรถยนต์บนถนนด้วย
Other Abstract: An analysis of past data on private car registration in Chiangmai revealed an upward trend in the number of private cars in this province for many years. This trend is likely to persist in the future. This means a boom in sales and profit for the car dealers while it increases the problem of traffic congestion, and air-pollutions at the same time. To cars dealers, who must devise marketing strategies for their cars, information on car buyers’ behavior is absolutely important for them. Therefore, a research study on car buyers’ behavior in this province is in order for pure academic as well as pragmatic purposes in the interest of car dealers and government since there has been very little research carried out in this area in the past. An exploratory survey was conducted by using a sample of 318 people, living in Chiangmai, who own automobiles capable of seating not more than 7 people, with Chiangmai registration plate. They were selected through the systematic random sampling method. A questionnaire of 43 items was administered to the respondents through personal interview. Out of the total sample of 318 only 200 were actually covered. The rest were unable to be covered due to a number of reasons. Automobile owners who purchased their cars prior to February 14, 1973 were not included in this study. Therefore, this study is concerned only with taping the automobile buyers’ behavior since the beginning of the oil crisis. In cases where any respondent was not available for interview, he was substituted by the next respondent in the order. The interviewing of respondents was conducted by myself, assisted by 20 students of business administration from the Institute of Technology and Vocational Education, Chiangmai Campus. The major findings of this study can be summarized as follows: the majority of private car buyers were found to be male, married, aged between 21 and 50, university educated, self-employed (43.5%), government employees (35%), employees of private business firms (14.5), others (7%), with monthly earnings between 2000 and 6000 baht. Over one-half of them owned at least a piece of real estate and a home on it. Japanese-made automobiles ranked at the top in terms of percentage of ownership (51.5%).’Toyota’ cars enjoyed the highest preference among the automobile owners. Metallic, 4-door, air-condition, 4-speed transmission with central gearshift, 1200 – 1800 c.c. engine models were the most preferred. News or rumours of possible rise in automobile prices were found to be an effective tool that motivated people to buy automobiles. Installment purchases made up approximately 33 per cent of the total purchases. There is a strong tendency that automobile buyers will use the same evaluation criteria in their future purchases. In the light of these findings, recommendations for the feasible course of actions, both to the car dealers as well as the government are in order. The dealers should plan their marketing strategies with a greater emphasis on 1200-1800 c.c. engines, 4-door, 4-speed transmission with central gearshift model, with prices not exceeding 200,000 baht, and heavy newspaper and magazine advertising. Since the trend of installment purchases for automobiles is increasing significantly the government may control this trend by utilizing appropriate measures such as issuing rules or regulations requiring a high down payment and/or shorter term of payment to discourage potential installment buyers. An effective control of this trend would lower imports of automobiles and gasoline which in turn would save an amount of foreign exchange and deter traffic congestion in the streets.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25436
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surabhorn_Ch_front.pdf472.13 kBAdobe PDFView/Open
Surabhorn_Ch_ch1.pdf316.94 kBAdobe PDFView/Open
Surabhorn_Ch_ch2.pdf424.72 kBAdobe PDFView/Open
Surabhorn_Ch_ch3.pdf489.89 kBAdobe PDFView/Open
Surabhorn_Ch_ch4.pdf490.01 kBAdobe PDFView/Open
Surabhorn_Ch_ch5.pdf863.95 kBAdobe PDFView/Open
Surabhorn_Ch_ch6.pdf335.37 kBAdobe PDFView/Open
Surabhorn_Ch_back.pdf515.42 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.