Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25541
Title: ระบบบัญชีค่าแรงโดยคอมพิวเตอร์ของการไฟฟ้านครหลวง
Other Titles: The computerized payrool system of the metropolitan electricity authority
Authors: วิลาวัณย์ ธาราวลีรัตน์
Advisors: ถาวร อุชชิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การดำเนินงานของธุรกิจทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นธุรกิจของเอกชน หน่วยงานของทางราชการ หรือองค์การรัฐวิสาหกิจใด ๆ ก็ตาม รวมทั้งหน่วยงานที่ดำเนินงานโดยไม่หวังกำไร เช่น สโมสร หรือสมาคม จะต้องมีนายจ้างและลูกจ้างทำงานร่วมกันเพื่อดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นนายจ้างจะต้องว่าจ้างลูกจ้างเข้ามาทำงานและได้มีการจ่ายเงินเดือนและค่าแรงเพื่อเป็นการตอบแทนค่าแรงงาน ทำให้ระบบบัญชี เงินเดือนและค่าแรงมีความสำคัญมากขึ้น เพราะมีผลต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง หรือผู้บริหารกับพนักงาน สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก พนักงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านระบบบัญชีเงินเดือนและค่าแรงอาจมีสอง สามคน หรือนายจ้างอาจจะปฏิบัตินี้ด้วยตนเอง แต่ธุรกิจหรือองค์การขนาดใหญ่ที่มีพนักงานหรือลูกจ้างเป็นจำนวนมากย่อมจะมีหน่วยงานหนึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบด้านระบบบัญชีเงินเดือนและค่าแรงโดยเฉพาะ เมื่อธุรกิจมีขนาดใหญ่ขึ้นการใช้เครื่องจักรจัดทำบัญชีเงินเดือนและค่าแรงอาจจะล่าช้า ไม่ทันเวลาที่ต้องการ หรืออาจมีการผิดพลาดเกิดขึ้นได้ จึงควรนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดทำบัญชีเงินเดือนและค่าแรง จากการวิจัยนี้จะเน้นถึงการใช้ระบบคอมพิวเตอร์จัดทำบัญชีเงินเดือนและค่าแรงของการไฟฟ้านครหลวงเท่านั้น ปัจจุบันการดำเนินงานจัดทำระบบบัญชีเงินเดือนและค่าแรงของการไฟฟ้านครหลวงได้แยกออกเป็น 16 หน่วยงาน ทั้ง ๆ ที่สถานที่ทำการของการไฟฟ้านครหลวง ตั้งอยู่ในเขต 3 จังหวัด คือกรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ และนนทบุรี บางหน่วยงานก็ใช้เครื่องจักรจัดทำบัญชีเงินเดือนและค่าแรง บางหน่วยงานก็ใช้เครื่องจักรร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากการจัดทำบัญชีเงินเดือนและค่าแรงแยกหน้าที่กันหลายหน่วยงาน ลักษณะการปฏิบัติงานและผลที่ได้รับก็แตกต่างกันไป จึงได้เสนอแนะให้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์จัดทำระบบบัญชีเงินเดือนและค่าแรงทั้งระบบเพื่อปรับปรุงแก้ไขระบบงานที่ปฏิบัติอยู่ และให้การปฏิบัติงานเป็นแนวเดียวกันตลอด ผลที่ได้รับก็ถูกต้องรวดเร็วขึ้น โดยกำหนดให้มีหน่วยงานบัญชีเงินเดือนและค่าแรงมีหน้าที่และรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีเงินเดือนและค่าแรงเพียงหน่วยงานเดียว เพื่อจัดทำบัญชีเงินเดือนและค่าแรงสำหรับพนักงาน 8,811 คน ซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัดเวลา กำลังคน และยกเลิกการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนกัน และก่อให้เกิดผลได้หลายประการ เช่น ทะเบียนประวัติพนักงาน ซึ่งมีประโยชน์ต่อฝ่ายการเจ้าหน้าที่เพื่อใช้แทนการจดบันทึกประวัติพนักงานโดยใช้พนักงานปัจจุบัน การแจกแจงเงินเดือนและค่าแรงเข้างาน การวิจัยโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์จัดทำบัญชีเงินเดือนและค่าแรง ได้ศึกษาถึงขั้นตอนในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และผลประโยชน์ที่ได้รับ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ การวิเคราะห์ระบบงานโดยจัดทำแผนภูมิระบบงาน (SYSTEM FLOWCHART) ของระบบบัญชีเงินเดือนและค่าแรง ขยายภูมิระบบงานโดยละเอียดออกเป็นแผนภูมิโปรแกรม (PROGRAM FLOWCHART) เพื่อใช้เป็นแบบแผนในการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (COMPUTER LANGUAGE) ออกแบบฟอร์มข้อมูลในรูปที่จะนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ และรายงาน, ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนสุดท้ายก็คือ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา COBOL (COMMON BUSINESS ORIENTED LANGUAGE) พร้อมกับทดสอบความถูกต้องของโปรแกรมโดยใช้ข้อมูลที่สมมติขึ้นตามแบบฟอร์มข้อมูล และให้ได้ผลลัพธ์ รายงาน ตามที่กำหนดไว้ ผลจากการวิจัยนี้สามารถนำไปปรับปรุง แก้ไขระบบบัญชีเงินเดือนและค่าแรงที่มีในปัจจุบัน จัดทำรายงานซึ่งช่วยในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานเพื่อใช้แก้ไขการดำเนินงานที่ขาดประสิทธิภาพ เช่น รายงานค่าล่วงเวลาของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งใช้วิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพในการปฏิบัติของพนักงาน นอกจากนี้จะใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาขยายรายละเอียดของระบบงานนี้ให้เกิดการประหยัด และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Other Abstract: Business administration of either private enterprise, government office or government enterprise including non-profit organization such as club or association involves employers, employees, and their compensations. Thus, payroll system is one of the important factors which may affect the relationship between employers and employees, or executives and workers. For a small enterprise, only a small amount of payroll employees are sufficient, however, for a larger enterprise, one section of several employees may be required. Calculating machine used in compiling the accounting records may be slow and mistaken. Thus, computer system becomes very useful in this respect. This study focuses on how to use computer in administering the payroll system of the Metropolitan Electricity Authority. Presently, the payroll system is divided into 16 sections. Offices are in three provinces: Bangkok, samutprakarn, and Nondhaburi. Some sections use calculating machine and some use both calculating machine and computer The payroll system is thus disaggregated and inefficient. This study attempts to suggest a more efficient way by setting up one section devoted to manage the payroll account for 8,811 workers. Not only that this system will save time, labour and repetitions work but also the personnel record will be kept in one place. This study analyzes the method setting up the computer system in administering the payroll accounts. The detailed system flowchart is thus prepared. By using COBOL (Common Business Oriented Language), the data format is set up and the results can be obtained. The procedure and the results outlined in the study may be used to improve the present payroll system to be more efficient.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25541
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vilawan_Th_front.pdf569.64 kBAdobe PDFView/Open
Vilawan_Th_ch1.pdf658.14 kBAdobe PDFView/Open
Vilawan_Th_ch2.pdf398.48 kBAdobe PDFView/Open
Vilawan_Th_ch3.pdf755.24 kBAdobe PDFView/Open
Vilawan_Th_ch4.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Vilawan_Th_ch5.pdf11.6 MBAdobe PDFView/Open
Vilawan_Th_ch6.pdf337.15 kBAdobe PDFView/Open
Vilawan_Th_ch7.pdf754.08 kBAdobe PDFView/Open
Vilawan_Th_back.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.