Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25647
Title: การเปรียบเทียบผลการตัดสินข้อกระทงของมาตรทัศนคติแบบเธอร์สโตน ของผู้ตัดสินที่มีทัศนคติต่อวิชาชีพครูแตกต่างกัน
Other Titles: A comparison of item judgment in Thurstone's attitude scale made by different judges with different attitudes toward teaching profession
Authors: ราตรี นันทสุคนธ์
Advisors: พวงแก้ว ปุณยกนก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการตัดสินข้อกระทงของมาตรทัศนคติแบบเธอร์สโตนของผู้ตัดสินที่มีทัศนคติต่อวิชาชีพครูแตกต่างกัน โดยมีสมมุติฐานว่า กลุ่มผู้ตัดสินที่มีทัศนคติต่อวิชาชีพครูแตกต่างกันตัดสินข้อกระทงของมาตรทัศนคติต่อวิชาชีพครูแบบเธอร์สโตนแตกต่างกัน และลักษณะการกระจายของข้อกระทงของผลการตัดสินของกลุ่มผู้ตัดสินที่มีทัศนคติต่อวิชาชีพครูระดับสูง ปานกลาง และต่ำแตกต่างกัน ลักษณะการกระจายของข้อกระทงของกลุ่มผู้ตัดสินที่มีทัศนคติต่อวิชาชีพครูระดับสูงจะมีลักษณะเบ้ไปทางลบ และลักษณะการกระจายของข้อกระทงของกลุ่มผู้ตัดสินที่มีทัศนคติต่อวิชาชีพระดับต่ำจะมีลักษณะเบ้ไปทางบวก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นคณาจารย์วิทยาลัยครูที่มีวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีประสบการณ์ทางการสอนอย่างน้อย10 ปี หรือเป็นผู้ที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาอย่างต่ำระดับปริญญาโทและมีประสบการณ์ทางการสอนอย่างน้อย 5 ปี [ ] ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาจำนวน 150 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆละ 50 คน โดยคัดเลือกจากคะแนนที่สอดคล้องกันทั้งแนวทฤษฎีพีชบีนและแนวลิเกอร์ตของมาตรทัศนคติต่อวิชาชีพครูฉบับมาตรฐานของภาควิชาวิจัยการศึกษา เป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีทัศนคติต่อวิชาชีพครูระดับสูง ปานกลาง และต่ำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ มาตรทัศนคติต่อวิชาชีพครูแบบเธอร์สโตน สร้างโดย สวัสดิ์ ประทุมราช และสุภาพ วาดเขียน และมาตรทัศนคติต่อวิชาชีพครูสร้างโดย สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และนิยะดา ศรีจันทร์ เป็นชุดเกณฑ์ในการคัดเลือกและจัดแบ่งกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ใช้วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวทดสอบความแตกต่างของผลการตัดสินข้อกระทงของมาตรทัศนคติใช้วิธีของทูกี้ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของผลการตัดสินเป็นรายคู่ และใช้ไคสแควร์ (X² ) ทดสอบลักษณะการกระจายของข้อกระทง ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. กลุ่มผู้ตัดสินที่มีทัศนคติต่อวิชาชีพครูระดับสูง ปานกลาง และต่ำ ตัดสินข้อกระทง 44 ข้อ ของมาตรทัศนคติต่อวิชาชีพครูแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่าหรือเท่ากับ .05 จำนวน 36 ข้อ และไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 8 ข้อ 2. ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของผลการตัดสินข้อกระทงของมาตรทัศนคติต่อวิชาชีพครูโดยกลุ่มผู้ตัดสินที่มีทัศนคติต่อวิชาชีพครูระดับสูง ปานกลาง และต่ำ เป็นคู่ ๆ คือค่าเฉลี่ยของผลการตัดสินข้อกระทงของกลุ่มผู้ตัดสินที่มีทัศนคติต่อวิชาชีพครูระดับสูงกับระดับปานกลาง ระดับสูงและระดับต่ำ และระดับปานกลางกับระดับต่ำ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ข้อ , 29 ข้อ และ 6 ข้อ ตามลำดับ 3. ลักษณะการกระจายของค่ามาตราประจำข้อกระทงของมาตรทัศนคติของกลุ่มผู้ตัดสินที่มีทัศนคติต่อวิชาชีพครูระดับสูง ปานกลาง และต่ำ แตกต่างกัน ดังนี้ 3.1 ผลการตัดสินข้อกระทงของผู้ตัดสินที่มีทัศนคติต่อวิชาชีพครูระดับสูงมีลักษณะกระจายเบ้ไปทางลบ 3.2 ผลการตัดสินข้อกระทงของกลุ่มผู้ตัดสินที่มีทัศนคติต่อวิชาชีพครูระดับปานกลาง มีลักษณะกระจายเป็นโค้งปกติ 3.3 ผลการตัดสินข้อกระทงของกลุ่มผู้ตัดสินที่มีทัศนคติต่อวิชาชีพครูระดับต่ำ มีลักษณะกระจายเบ้ไปทางลบ
Other Abstract: The purpose of this study was to compare the item judgment in Thurstone’s attitude scale by different judges with different attitudes toward the teaching profession. The hypotheses of the research were: 1) a group of judges with different attitudes toward the teaching profession judged differently in Thurstone’s attitude scale 2) the distributions of item judgment in Thurstone’s attitude scale made by the high, mid and low attitude judgment toward the teaching profession were different. The distribution of item judgment made by high attitude judgment was negatively skewed but the distribution of the low was positively skewed. The sample group was Becherlor degree teachers with at least ten years of teaching experience o Master-degree with at least five years in teaching experience. One hundred and fifty college teachers were devided into three group of fifty by the scores of Fishbein and Lidert standareized attitude scale which belong to the Department of Education Research. The instrument used in this study was Thuratone’s attitude scale constructed by Sawat Pratoomrat and Supab Wadkian. The attitude scale toward the teaching profession constructed by Somwang Pitiyanuwat and Niyada Srijan was used as the criterion in selecting the sample. The SPSS program was used in one-way analysis of variance for testing the differences of the judgment, Tukey’s for the average in pair and Chi-squre (X²) for the distribution judgment. The results were as follows: 1. Significant differences at or at least the .05 level of 36 items from 44 items were found among the high, mid and low attitude judgment toward the teaching profession and there was no significant judgment differences at the .05 level of 8 items. 2. The differences of average judgment of the judges who had high, mid and low attitude judgment toward the teaching profession in pair were: the high and the mid, the high and the low and the mid and the low were statistical significant differences at .05 level of 2, 29 and 6 items. 3. The differences in the distributions of the high, mid and low attitude judgment toward the teaching protession were: 3.1 the distribution of high attitude judgment toward the teaching profession was negatively skewed. 3.2 distribution of the mid attitude judgment toward the teaching profession was normal. 3.3 The distribution of attitude judgment toward teaching profession was negatively skewed.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25647
ISBN: 9745632015
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratri_Na_front.pdf645.58 kBAdobe PDFView/Open
Ratri_Na_ch1.pdf532.47 kBAdobe PDFView/Open
Ratri_Na_ch2.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Ratri_Na_ch3.pdf427.12 kBAdobe PDFView/Open
Ratri_Na_ch4.pdf514.08 kBAdobe PDFView/Open
Ratri_Na_ch5.pdf491.3 kBAdobe PDFView/Open
Ratri_Na_back.pdf931.6 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.