Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25722
Title: ความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิตนักศึกษาเกี่ยวกับบทบาท ของอาจารย์ที่ปรึกษาสาขาวิชาพลศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
Other Titles: Opinions of advisors and students concerning roles of the advisors in physical education programs in higher education institutions
Authors: ชัยยุทธ์ เจริญพิพัฒนสุข
Advisors: ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิตนักศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาสาขาวิชาพลศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังอาจารย์ที่ปรึกษา 210 คน และนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา 540 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจากอาจารย์ที่ปรึกษา ร้อยละ 85.24 และจากนิสิตนักศึกษาร้อยละ 85.56 นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า “ที” วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบเป็นรายคู่ตามวิธีของนิวแมน-คูลส์ แล้วจึงนำเสนอในรูปตารางและความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. อาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิตนักศึกษามีความคิดเห็นสอดคล้องกันคือ อาจารย์ที่ปรึกษาสาขาวิชาพลศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา มีบทบาทที่ควรจะปฏิบัติอยู่ในระดับมากในด้านการศึกษาของนิสิตนักศึกษาได้แก่ ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรสาขาวิชาพลศึกษา ให้คำปรึกษา เมื่อมีปัญหาในด้านการเรียน ด้านสวัสดิการของนิสิตนักศึกษา ได้แก่ ช่วยแนะนำแหล่งหรือสถานที่ทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้บริการต่าง ๆ ของสถาบัน เช่น ห้องสมุด หน่วยอนามัย ฯลฯ ด้านการพัฒนานิสิตนักศึกษาได้แก่ ให้คำแนะนำในเรื่องการแต่งกายให้เหมาะสม ให้คำแนะนำเกี่ยวกับฝึกทักษะกีฬาต่าง ๆ และด้านวิชาชีพพลศึกษา ได้แก่ ให้ความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติที่ถูกต้องของวิชาชีพพลศึกษา ปลูกฝังให้มีความภาคภูมิใจในวิชาชีพพลศึกษา 2. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิตนักศึกษา เกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาสาขาวิชาชีพพลศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา พบว่าแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ได้แก่ ด้านการศึกษาของนิสิตนักศึกษา และด้านการพัฒนานิสิตนักศึกษา 3. ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวของความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัยครู และวิทยาลัยพลศึกษา เกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาสาขาวิชาชีพพลศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 4. ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวของความคิดเห็นของนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัยครู และวิทยาลัยพลศึกษา เกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาสาขาวิชาชีพพลศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา พบว่านิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยกับนักศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษา มีความคิดเห็นแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ด้านสวัสดิการของนิสิตนักศึกษาด้านการพัฒนานิสิตนักศึกษาและด้านวิชาชีพพลศึกษา
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the opinions of advisors and student concerning roles of the advisors in physical educations programs in higher education institutions. Questionnaires were constructed and sent to 210 advisors and 540 students in physical educations programs in higher education institutions. Eighty five point twenty four percent of advisor’s questionnaires and eighty five point fifty six percent of student’s questionnaires were returned. The obtained data were then analyzed in terms of percentage, means, standard deviation and t-test. The One-Way Analysis of Variance and Newman-Keuls Multiple Comparison Method were employed to determince the significant difference. The results of this study were: 1. The major practicing roles of advisors in physical education programs in higher education institutions were the students education such as to inform the physical education curriculum and to counsel about the learning problems. The student’s security such as to advise the job placement after the graduation, to advise about the institutional services such as the library the health center and etc. The student’s self development such as to advise students how to dress appropriately, to advise students to practice the sports skill. The profession of physical education such as to inform student for understanding and having good attitude toward the profession of physical education and to establish students to proud of their profession in physical education. 2. The comparison between the opinions of advisors and students showed that there was a significant difference at the .05 level concerning the roles of advisors in physical education programs in higher education institutions in terms of the student’s education and the student’s self development. 3. The one way analysis of variance of opinions of advisors in universities, teacher colleges and physical education colleges concerning roles of the advisors in physical education programs in higher education institutions, it was found that there was no significant different at the .05 level. 4. The one way analysis of variance of opinions of students in universities, teacher colleges and physical education colleges concerning roles of the advisors in physical education programs in higher education institutions, it was found that there was a significant different at the .05 level between the opinions of students in universities and students in physical education colleges in terms of student’s security, student’s self development, and the profession of physical education.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25722
ISBN: 9745632547
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaiyut_Ch_front.pdf635.26 kBAdobe PDFView/Open
Chaiyut_Ch_ch1.pdf498.83 kBAdobe PDFView/Open
Chaiyut_Ch_ch2.pdf839.84 kBAdobe PDFView/Open
Chaiyut_Ch_ch3.pdf342.55 kBAdobe PDFView/Open
Chaiyut_Ch_ch4.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open
Chaiyut_Ch_ch5.pdf748.54 kBAdobe PDFView/Open
Chaiyut_Ch_back.pdf683.89 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.