Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25809
Title: การเปรียบเทียบสัณฐานคะแนน เอ็ม เอ็ม พี ไอ ระหว่างเด็กยุวอาชญากรและเด็กวัยรุ่นปกติ
Other Titles: A comparison of MMPI profiles between juvenile delinquents and adolescents
Authors: สุรางค์ วีรกิจพาณิชย์
Advisors: เกษมสักดิ์ ภูมิศรีแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของสัญฐานคะแนน เอ็ม เอ็ม พี ไอ ระหว่างกลุ่มยุวอาชญากร กลุ่มเด็กที่มีพฤติกรรมผิดปกติ และกลุ่มเด็กวัยรุ่นปกติ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มยุวอาชญากร ชายอายุ 14-18 ปี จบการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และถูกกักกันอยู่ในทัณฑสถานวัยหนุ่มลาดยาว 35 คน และทัณฑสถานวัยหนุ่มมีนบุรี 15 คน ด้วยคดีอันธพาล ฆ่าและพยายามฆ่า ลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และข่มขืน โดยต้องโทษครั้งแรกและกุมขังไม่เกิน 10 ปี กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มนักเรียนชายอายุ 14-18 ปี ซึ่งกำลังศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางกะปิ โรงเรียนบวรมงคล และโรงเรียนสารวิทยา โดยเป็นนักเรียนที่เจ้าหน้าที่แนะแนวของโรงเรียนลงความเห็นว่าเป็นเด็กนักเรียนที่มีพฤติกรรมผิดปกติจำนวน 50 คน กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มเด็กวัยรุ่นชายอายุ 14-18 ปี ซึ่งจบการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบทดสอบ เอ็ม เอ็ม พี ไอ ของสตาร์ด อารี ฮาร์ททะเวย์ และเจ ชารันเลย์ แมคคินเลย์ ฉบับแปลเป็นภาษาไทย และดัดแปลงครั้งที่ 2 โดยเกษมศักดิ์ ภูมิศรีแก้ว เลือกใช้มาตรที่ประเมินความเจ็บป่วยทางจิตและประสาท 2 มาตรคือ มาตรไซโคแพททิต คีวิเอท (Pd) และไฮโปมาเนีย (Ma) และมาตรพิเศษอีก 7 มาตรคือ อัลกอฮอลลิค ดิฟเฟอเรนทิเอชัน (Ah) ดีเพนเดนซี (Dy) แฟมมีเลียล ดีสคอรัด (Pd₁) ออธอริตี้ พรอบเลม (Pd₂) โซเซียล แอเลียเนชัน (Pd[subscript 4A]) เซลฟ์ แอเลียเนชัน (Pd[subscript 4B]) และไซโคทิค เทนเดนซี แฟคเตอร์ (Pq) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. มีความแตกต่างในสัณฐานคะแนน เอ็ม เอ็ม พี ไอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในมาตร Ah, Dy, Ma, Pd, Pd₁, Pd₂, Pd[subscript 4A] และ Pd4B ในกลุ่มยุวอาชญากรและกลุ่มวัยรุ่นปกติ ส่วนมาตร Pq นั้น ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ 2. มีความแตกต่างในสัณฐานคะแนน เอ็ม เอ็ม พี ไอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในมาตร Ah, Dy, Ma, Pd, Pd₁, Pd₂, Pd[subscript 4A] และ Pd[subscript 4B] ในกลุ่มเด็กที่มีพฤติกรรมผิดปกติ และกลุ่มวัยรุ่นปกติ ส่วนมาตร Pq นั้น ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ 3. มีความแตกต่างในสัณฐานคะแนน เอ็ม เอ็ม พี ไอ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ในมาตร Ah ระหว่างกลุ่มยุวอาชญากรและกลุ่มเด็กที่มีพฤติกรรมผิดปกติ ส่วนในมาตรอื่นทั้ง 8 นั้น ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: The purpose of this research was to study the differences of the MPI Profiles between juvenile delinquents, behavior disorders, and adolescents. The subjects were divided into three groups matched by age (14-18 years), sex (male) and education (Prathom Suksa 7 to Mathayom Suksa 3). The first group was juvenile delinquents who had been convicted of legal offense, such as armed robbery, assault, malicious mischief and rape and were incarcerated for the first time (not more than ten years) in Delinquent Detention Centers. The second group was 50 students from Bangapi School, Saravidhaya School and Bavornmongkol School counselors. The third group was 50 adolescent from Youth Center, The Minnesota Multiphastic Personality Inventory (translated into Thai and 2nd modified by Kasemsak Poomsrikeo) was administered to the subjects. The scale which were of two types, clinical scales Psychopthic Deviate (Pd), Hypomania (Ma) and 7 special scales : Alcoholic Differentiatin (Ah), Dependency (Du), Familial Discord (Pd₁), Authority Problem (Pd₂), Social Alienation (Pd[subscript 4A]), Self Alienation (Pd[subscript 4B]), and Psychotic Tendency Factors (Pq) were used for this purpose. The major results were : 1. There were significant differences (p < .05) of the MMPI profiles between juvenile delinquents and adolescents on scales Ah, Dy, Ma, Pd, Pd₁, Pd₂, Pd[subscript 4A] and Pd[subscript 4B] 2. There were significant differences (p < .05) of the MMPI profiles between disorders and adolescents on scales Ah, Dy, Ma, Pd, Pd₁, Pd₂, Pd[subscript 4A] and Pd[subscript 4B] 3. There were significant differences (p < .05) between juvenile delinquents and behavior disorders on scale Ah.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25809
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surang_We_front.pdf416.43 kBAdobe PDFView/Open
Surang_We_ch1.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Surang_We_ch2.pdf302.64 kBAdobe PDFView/Open
Surang_We_ch3.pdf443.92 kBAdobe PDFView/Open
Surang_We_ch4.pdf877.95 kBAdobe PDFView/Open
Surang_We_ch5.pdf321.06 kBAdobe PDFView/Open
Surang_We_back.pdf908.69 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.