Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25910
Title: การใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ในเขตการศึกษาหนึ่ง
Other Titles: An implementation of B.E. 2521 lower secondary school curriculum in educaiton region one
Authors: สมาน บุญล้น
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษากระบวนการและกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติในการนำหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ไปใช้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 1 2. เพื่อศึกษาปัญหาในการนำหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ไปใช้ในเขตการศึกษา 1 วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบุคคล 3 ฝ่ายที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2523 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตการศึกษา 1 จำนวน 35 โรงเรียน ซึ่งเลือกมาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้น ( Stratified Random Sampling ) บุคลากรทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนใช้ประชากรทุกคน จำนวน 105 คน หัวหน้าหมวดวิชาต่าง ๆ หมวดวิชาละ 1 คน ทุกหมวดวิชา จำนวน 170 คน ครูผู้สอนทุกหมวดวิชา เลือกมาโดยวิธีสุ่มแบบง่าย ( Simple Random Sampling ) หมวดวิชาละ 1 คน จำนวน 280 คน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ เลือกมาโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย ( Simple Random Sampling ) ฝ่ายละ 1 คน ของแต่ละฝ่ายในแต่ละโรงเรียน จำนวน 75 คน รวมกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 630 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเอง มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบ ( Check list ) แบบมาตราส่วนประมาณค่า ( Rating Scale ) และแบบปลายเปิด ( Open Ended ) แบบสอบถามทั้งหมดมี 5 ชุด แยกตามบุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง การรวบรวมข้อมูล ได้ส่งแบบสอบถามโดยมอบแก่ครูที่มารับการอบรมที่เขตการศึกษา 1 จำนวน 20 โรงเรียน และส่งทางไปรษณีย์ 15 โรงเรียน จำนวน 630 ฉบับ ได้รับคืน จำนวน 586 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 93.01 การวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( Mean ) และค่าส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ( Standard Deviation ) ผลการวิจัย กิจกรรมที่ผู้บริหารโรงเรียนส่วนมากได้ปฏิบัติคือ ส่งเสริมการใช้หลักสูตรโดยส่งเสริมให้ครูได้เข้ารับการอบรมเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรเป็นส่วนมาก รองลงมาคือจัดสรรงบประมาณประจำปีให้แก่หมวดวิชาต่าง ๆ และจัดครูสอนให้ตรงตามความสามารถและวิชาเอก ปัญหาสำคัญที่ผู้บริหารโรงเรียนพบ คือการจัดหลักสูตรหมวดวิชาการงานและอาชีพเพื่อสนองความต้องการของนักเรียน การจัดตารางสอนและแผนการเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตรและการขาดความร่วมมือจากครูในการจัดการเรียนการสอนเพื่อปฏิบัติตามหลักสูตร สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ กิจกรรมที่ได้ปฏิบัติมากในการใช้หลักสูตรของแต่ละฝ่ายคือ เจ้าหน้าที่ทะเบียนและวัดผล ได้ให้คำแนะนำการใช้แบบฟอร์มการวัดผลแก่ครูจัดบริการเกี่ยวกับการวัดผล ประเมินผล จัดระเบียบในการเก็บเอกสารหลักฐานการลงทะเบียนและประเมนผลการเรียน เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ได้จัดทำบัญชีหนังสือของห้องสมุด ควบคุมดูแลการใช้ห้องสมุด และจัดควบคุมดูแลรักษาหนังสือและทำเลขหมู่หนังสือ เจ้าหน้าที่แนะแนว ได้จัดบริการให้คำปรึกษาแก่นักเรียนที่มีปัญหาเรื่องการเรียนการเลือกวิชาอาชีพ จัดบริการสนเทศ และจัดให้มีกิจกรรมโฮมรูมโดยครูที่ปรึกษาเป็นประจำ ปัญหาสำคัญที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ พบในการใช้หลักสูตร คือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนและวัดผล พบว่าบุคลากรที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานทะเบียนและวัดผลไม่เพียงพอ ขาดวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในงานทะเบียนวัดผล ขาดการประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ทะเบียนและวัดผลกับฝ่ายต่าง ๆ ส่วนเจ้าหน้าที่ห้องสมุดพบว่างบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอ จัดหาหนังสือเรียนและหนังสืออ่านเพิ่มเติมตามหลักสูตรได้ไม่ครบ จำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ และเจ้าหน้าที่แนะแนวพบว่าขาดความร่วมมือจากผู้ปกครอง การศึกษาเกี่ยวกับรายวิชาอาชีพในหลักสูตรเพื่อช่วยในการแนะแนวและการแนะนำเกี่ยวกับการเลือกแผนการเรียนกระทำได้ยาก และขาดสถานที่เฉพาะในการแนะแนว หัวหน้าหมวดและครูผู้สอนวิชาต่าง ๆ มีความเห็นเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนการสอนสอดคล้องกันว่า เอกสารหลักสูตร เอกสารประกอบและวัสดุอุปกรณ์มีแต่ไม่เพียงพอ ขาดสถานที่เรียนที่เป็นห้องพิเศษเฉพาะหมวดวิชา หมวดวิชาต่าง ๆ ยังคงใช้ห้องเรียนเป็นส่วนมาก ยกเว้นหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีห้องปฏิบัติการโดยเฉพาะเป็นส่วนมาก และหมวดวิชาพลานามัยที่ใช้สนามเป็นส่วนมาก วิธีการสอนส่วนมากยังคงใช้วิธีการบรรยาย รองลงมาคือสาธิต มดลอง ฝึกทักษะ แก้ปัญหา และปฏิบัติจริง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย วิธีวัดผลส่วนมากใช้วิธีตรวจผลงาน สังเกต สอบข้อเขียนแบบปรนัยและอัตนัยส่วน วิธีการกรอกข้อสอบและให้ระดับคะแนนครูผู้สอนเป็นผู้ออก และให้ระดับคะแนนเองเป็นส่วนมาก ปัญหาที่สำคัญของหัวหน้าหมวดและครูผู้สอนวิชาต่างๆ ในการใช้หลักสูตรได้แก่ ขาดความร่วมมือของครูในหมวดวิชาเพื่อปฏิบัติตามหลักสูตร งบประมาณที่ได้รับในการดำเนินงานตามหมวดวิชาไม่เพียงพอ เอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบการเรียนการสอนไม่เพียงพอ หนังสือเรียนและหนังสืออ่านประกอบไม่เพียงพอ/การเปิดสอนรายวิชาต่าง ๆ ตามแผนการเรียนไม่อาจกระทำได้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เพราะขาดบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่
Other Abstract: Objectives: The objectives of this study were as follows: 1. To study the process and activities in implementing the B.E. 2521 lower secondary school curriculum in secondary schools in the Education Region one. 2. To study problems in implementing the B.E. 2521 lower secondary school curriculum in secondary school in the Education Region one. Methodology: The sample composed of 105 school administrators 170 head of academic section, 280 instructors, and 75 school officers, which were selected by simple random sampling from each school with in 35 secondary schools under the auspicious of General Education Department in the Education Region one which were selected by stratified random sampling. Five sets of questionnaires were used in gathering data for this study, and being constructed in the forms of check list, rating scale, and open ended, of the total 630 questionnaires sent out 586 or 93.01 percent were completed and returned. Data were analized by using percentage, means and standard deviation. Findings: It was found that the school’s administrators promoted better implementation by providing teachers more special training in curriculum. The other way of promoting was to allot the annual budget to subject categories and to assign teachers to perform their duties according to their ability and academic background. The important problems faced by the school administrators are pertaining to the arrangement of the curriculum to suit the student’s needs in work education, in adjusting time-tables and programes of study in line with the curriculum, and the most vital problem is lack of co-operation from teachers in curriculum implementation. The registration and evaluation officers suggested that the evaluation forms should be used by teachers, measurement and evaluation services should be provided registration and evaluation evidence and documents also be kept in and organized way. The library officers had listed all the books kept in the library, supervising the library, controlling and keeping book and numbering them. The guidance officers had provided consultation service for problem-ridden students on studies, selection of work education information services and home-room activities with teachers as regular consultans. The significant problems of all the officers an implementation of the curriculum were as follows: Registration and Evaluation Section; Insufficiency of personnel, lack of necessary supplies and equipments used in the registration and evaluation section and lack of co-ordination between the registration and evaluation officers and others. Library; Insufficiency of budget, textbooks and supplementary readings could not be fulfilled, and insufficiency of personnel. Guidance Officers; Lack of co-operation from parents, difficulty in providing studies on each work education area in support of guidance, guidance in selection of program of study, and problems in arranging in and providing particular places for guidance. Head of academic section and other teachers in each subject agreed with one another on learning process that; Insufficiency curriculum materials, complementary materials, and supplies. Lack of special rooms for some particular subjects, most of which were still taught in classrooms except science and physical education subjects that used scientific labs and the school yard respectively. The mostly-used teaching method was lecture. The less-used methods were demonstration, experiment, drills, and problem-solving respectively. The mostly-used evaluation method was by checking assignments, observation, objective and subjective tests. Examination papers and grade levels were made by teachers responsible for each subject. The significant problems faced by head of academic section and teachers of each subject were as follows: Lack of co-operation among teachers in each subject in fulfillment of the curriculum, insufficiency of budget used for the performance of each subject category, insufficiency of curriculum materials and complementary materials used for teaching and learning, insufficien of textbooks and supplements and unability in expanding each subject according to the program of study due to lack of personnel, materials and places.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25910
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Samarn_Bo_front.pdf583.52 kBAdobe PDFView/Open
Samarn_Bo_ch1.pdf642.11 kBAdobe PDFView/Open
Samarn_Bo_ch2.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
Samarn_Bo_ch3.pdf409.7 kBAdobe PDFView/Open
Samarn_Bo_ch4.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Samarn_Bo_ch5.pdf929.89 kBAdobe PDFView/Open
Samarn_Bo_back.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.