Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26009
Title: บทบาทหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอตามความคาดหวัง ของผู้บริหารประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 6
Other Titles: Roles of heads of district primary education as expected by the primary education administrators in educational region six
Authors: สมาน จันทะดี
Advisors: ณัฐนิภา คุปรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาบทบาทหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอตามความคาดหวังของผู้บริหารการประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 6 2. เพื่อเปรียบเทียบบทบาทหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอตามความคาดหวังของผู้บริหารการประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 6 วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยประชากร 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารการประถมศึกษาระดับจังหวัด ประกอบด้วย ผู้อำนวยการประถมศึกษาจังหวัด 7 คน และผู้ช่วยผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด 14 คน เลือกโดยไม่มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มผู้บริหารการประถมศึกษาระดับอำเภอ ประกอบด้วย หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอ 58 คน และหัวหน้าการประถมศึกษากิ่งอำเภอ 4 คน เลือกโดยไม่มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง และกลุ่มผู้บริหารการประถมศึกษาระดับโรงเรียน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษา อาจารย์ใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา และครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา ใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ( stratified random sampling ) และเทียบหาสัดส่วนโดยอาศัยตารางของ Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างดังนี้ ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษา 10 คน อาจารย์ใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา 163 คน และครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามจำนวน 1 ชุด แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบ จำนวน 7 ข้อ ตอนที่ 2 แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอซึ่งครอบคลุมงานทั้ง 4 ด้าน คือ งานบริหารทั่วไป งานการเจ้าหน้าที่ งานการเงินและพัสดุ และงานนิเทศการศึกษา แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า จำนวน 65 ข้อ ส่งและเก็บรวบรวมแบบสอบถามทางไปรษณีย์ โดยส่งไปจำนวน 571 ชุด ได้รับคืนมาจำนวน 524 ชุด คิดเป็นร้อยละ 91.77 ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ( ONE - WAY ANOVA ) แล้วทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีของนิวแมนคูล ( The Newman Keuls Methed ) สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยเกี่ยวกับบทบาทหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอตามความคาดหวังของผู้บริหารการประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 6 เกี่ยวกับงานในหน้าที่ทั้ง 4 ด้าน เป็นดังนี้ 1. งานบริหารทั่วไป ผู้บริหารการประถมศึกษาระดับจังหวัดมีความคาดหวังว่าหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอควรปฏิบัติในระดับมาก ส่วนผู้บริหารการประถมศึกษาระดับอำเภอและระดับโรงเรียน มีความคาดหวังว่าหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอควรปฏิบัติในระดับมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่ ปรากฏว่าผู้บริหารการประถมศึกษาทั้ง 3 ระดับ มีความคาดหวังไม่แตกต่างกัน 2. งานการเจ้าหน้าที่ ผู้บริหารการประถมศึกษาทั้ง 3 ระดับ มีความคาดหวังสอดคล้องกันว่าหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอควรปฏิบัติในระดับมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่ปรากฏว่าผู้บริหารการประถมศึกษาทั้ง 3 ระดับ มีความคาดหวังไม่แตกต่างกัน 3. งานการเงินและพัสดุ ผู้บริหารการประถมศึกษาทั้ง 3 ระดับ มีความคาดหวังสอดคล้องกันว่าหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอควรปฏิบัติในระดับมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังเป็นรายคู่ ปรากฏว่าผู้บริหารการประถมศึกษาระดับจังหวัดกับระดับอำเภอ และระดับจังหวัดกับระดับโรงเรียนมีความคาดหวังแตกต่างกัน โดยผู้บริหารการประถมศึกษาระดับจังหวัดมีความคาดหวังอยู่ในระดับต่ำกว่าผู้บริหารการประถมศึกษาระดับอำเภอและระดับโรงเรียน ส่วนผู้บริหารการประถมศึกษาระดับอำเภอและระดับโรงเรียนมีความคาดหวังไม่แตกต่างกัน 4. งานนิเทศการศึกษา ผู้บริหารการประถมศึกษาระดับจังหวัดมีความคาดหวังว่าหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอควรปฏิบัติในระดับมาก ส่วนผู้บริหารการประถมศึกษาระดับอำเภอและระดับโรงเรียนมีความคาดหวังว่าหัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอควรปฏิบัติในระดับมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบเป็นรายคู่ ปรากฏว่าผู้บริหารการประถมศึกษาทั้ง 3 ระดับ มีความคาดหวังไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: Purposes: The purposes of this research were: 1. To study roles of heads of district primary education as expected by primary education administrators in Educational Region Six. 2. To find a comparison between roles of heads of district primary education as expected by primary education administrators in Educational Region Six. Procedure: The population of this research consisted of 3 groups of primary administrators at 3 different levels: provincials, districts and schools. They were as followings: 1. Provincial education administrators who were 7 provincial primary education directors and 14 provincial primary education assistant directors. 2. District administrators who were 58 district primary education heads and 4 district – equivalent primary education heads which were not selected by randomization. 3. Primary administrators at school level who were school directors, school principals and school headmasters which were selected by the stratified random sampling technique. The Krejcie and Morgan table was used to find a proper proportion of the samples. Consequently, the samples of this study were 10 primary school directors, 163 primary school principals and 315 primary school headmasters. The questionnaire used was divided into 2 parts: one was about the general information of the respondents, while the other was concerning functions and responsibilities of the sample involved. These functions and responsibilities focused on general administration, personel, financial and materials, and supervision. Five hundred and seventy one questionnaires of the rating scale type were mailed to the sampled only 524 (91.77 %) returned through postal services. Percentage, Mean, Standard Deviation and F – test (ONE- WAY ANOVA) were employed to analyzed the data. Findings: The conclusion of this study was concluded as the following : 1. In the area of general administration, the provincial primary school district had a high expectation to perform general administration more than the other three functions while the heads of district primary education themselves and the school administrators thought that the general administration should performed most by the head of distric primary education. However, when the expectation of the three groups of administrators were compared in pairs, no significant difference was found. 2. In the area of personel functions, all three administrator groups had the same expectation that personel administration should performed most by the heads of district primary education comparing their expectations in pairs, no significant differences were found. 3. In the area of financial and material functions, all 3 groups had the same expectation that the heads of district primary education curry out financial and material administration the most, comparing in pairs, the expectation of the administrator varied. The provincial administrators had lower expectation of heads of district primary education regarding the financial and material administration than the district and school administrators while the district and school administrators was found there had no different opinions. 4. As for the supervision function of heads of district primary education expected to perform more and most by the provincial administrators and the district and school administrators respectively. When the three groups were compared in pairs, no significant differences were found.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26009
ISBN: 9745668672
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Smarn_Ja_front.pdf574.5 kBAdobe PDFView/Open
Smarn_Ja_ch1.pdf576.39 kBAdobe PDFView/Open
Smarn_Ja_ch2.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Smarn_Ja_ch3.pdf464.5 kBAdobe PDFView/Open
Smarn_Ja_ch4.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Smarn_Ja_ch5.pdf916.77 kBAdobe PDFView/Open
Smarn_Ja_back.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.