Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26182
Title: | ปัจจัยที่กำหนดการเลือกงานและท้องที่ปฏิบัติของปลัดอำเภอ |
Other Titles: | Factors Influencing Work and Area Selection of Deputy district Officers |
Authors: | ชุลีพร เดชขำ |
Advisors: | ศุภชัย ยาวะประภาษ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาและวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่กำหนดการเลือกงานและท้องที่ปฏิบัติของปลัดอำเภอนี้ มีวัตถุประสงค์จะศึกษาและทดสอบพฤติกรรมการเลือกงาน และเลือกท้องที่ปฏิบัติงานของปลัดอำเภอตามแนวความคิดทางเลือกสาธารณะ ซึ่งต้องการทดสอบข้อสมมติฐานเกี่ยวกับปัจเจกบุคคลที่กล่าวว่า ปัจเจกบุคคลจะเลือกทำในสิ่งที่ทำให้เขาได้รับผลประโยชน์สูงสุด แต่เสียค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด การทดสอบข้อสรุปนี้จำทำการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มข้าราชการในระบบราชการไทย เฉพาะปลัดอำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปลัดอำเภอบรรจุใหม่ที่เข้ารับการอบรม ณ วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ระหว่างวันที่ 16-27 กันยายน 2528 ซึ่งผลจากการวิจัยพบว่า 1. ในการเลือกงาน ปลัดอำเภอจังหวัดพระนราศรีอยุธยาส่วนใหญ่จะเลือกงานในฝ่ายงานที่เขารับผิดชอบอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นงานที่เขามีความเข้าใจในงานที่รับผิดชอบอยู่เดิม และชำนาญอยู่แล้ว ในขณะที่ปลัดบรรจุใหม่ส่วนใหญ่ จะเลือกงานในฝ่ายปกครองและพัฒนา และฝ่ายกิจการพิเศษตามลำดับ ซึ่งงานทั้งสองฝ่าย เป็นงานที่มีปัจจัยซึ่งเอื้อต่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และท้าทายความสามารถของเขา 2. ในการเลือกท้องที่ปฏิบัติงาน ในระดับภาคพบว่าปลัดอำเภอพบว่า ทั้งที่เป็นปลัดอำเภอจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปลัดอำเภอบรรจุใหม่จะเลือกภาคที่เป็นภูมิลำเนาเดิมของเขา ยกเว้นปลัดอำเภอบรรจุใหม่ที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในส่วนกลางจะเลือกท้องที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ ส่วนในระดับจังหวัด การศึกษาเฉพาะปลัดอำเภอจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่าผู้ที่มีภูมิลำเนาเดิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาส่วนใหญ่จะเลือกท้องที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนี้เช่นเดิม และในระดับอำเภอ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการเลือกระดับชั้นอำเภอ พบว่าปลัดอำเภอทั้งสองกลุ่มที่มีภูมิลำเนาเดิมในอำเภอชั้นที่มีความเจริญสูงอยู่แล้ว เช่น อำเภอชั้นที่ 1 จะเลือกท้องที่ปฏิบัติงานในท้องที่ปฏิบัติงานในอำเภอชั้น 1 เหมือนเดิม ส่วนปลัดอำเภอที่มีภูมิลำเนาในอำเภอชั้นที่มีความเจริญในระดับต่ำกว่า เช่น ชั้น 5 และชั้น 4 จะเลือกอำเภอชั้นที่สูงขึ้นไป สำหรับการเลือกการปฏิบัติงานในอำเภอที่จัดตั้งเป็นศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ (ศอป.) ซึ่งเป็นอำเภอในเขตพื้นที่เสี่ยงต่ออันตรายนั้น ปลัดอำเภอส่วนใหญ่ทั้งสองกลุ่ม ว่าจะดำรงตำแหน่งอยู่ในระดับใด หรือมีภรรยาประกอบอาชีพที่โยกย้ายตามสามีได้หรือไม่ก็ตาม จะไม่เลือกอำเภอที่จัดตั้งเป็น ศอป. จึงเห็นได้ว่า ปลัดอำเภอส่วนใหญ่ทั้งสองกลุ่มต้องการทำงานในพื้นที่ที่มีความปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยงต่ออันตรายมากเกินไปนัก 3. ส่วนการเลือกงานและเลือกท้องที่ปฏิบัติงานของปลัดอำเภอ ที่ทำให้เขาได้รับผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุดนั้น ปลัดอำเภอส่วนใหญ่ทั้งสองกลุ่มจะเลือกงาน และเลือกท้องที่ปฏิบัติงานที่ทำให้เขาได้รับผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด ซึ่งผลประโยชน์ดังกล่าวประกอบไปด้วยรายได้ตอบแทน การประหยัดค่าใช้จ่าย โอกาสในการก้าวหน้า การท้าทายความสามารถ ความสะดวกสบาย โดยมีลำดับความสำคัญแตกต่างกันไปในทางเลือกงาน และเลือกท้องที่ปฏิบัติของปลัดอำเภอแต่ละกลุ่ม ยกเว้นปลัดอำเภอบรรจุใหม่ จะไม่เลือกงาน และไม่เลือกท้องที่ที่ทำให้เขาได้รับความสะดวกสบาย เป็นต้น จึงสรุปผลการศึกษาวิจัยได้ว่า ปลัดอำเภอทั้งสองกลุ่ม คือปลัดอำเภอจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งปลัดอำเภอบรรจุใหม่ มีแนวโน้มที่จะเลือกงานและเลือกท้องที่ปฏิบัติงาน ที่ทำให้เขาได้รับผลประโยชน์ตอบแทนสูงสุด เป็นการสอดคล้องกับความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับปัจเจกบุคคลในแนวความคิดทางเลือกสาธารณะ ดังที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น |
Other Abstract: | The study on “Factors Influencing Work and Area Selection of Deputy District Officers” aims to investigate the behavior of deputy district officers in work and area selection based on the theoretical concept offered by the public choice approach. This approach assorts that any individual make a decision on a premise that it will maximize his own benefits with the least cost. Subjects under investigation are the officers from Ayuthaya Province and the new recruits who are attending the recruitment orientation at the Academy for Government Administration during September 16-27, 1985. The investigation reveals that the behavior of these selected subjects can be summarized as follows: 1. With regard to work preferences. Most Ayuthaya Province’s officers reported that they will choose to work in their present job since it is the job that they understand the most and can do the best. On the other hand, the fresh recruits prefer administration and development job the best and special activity job the second. This is because both jobs can lead to better chances of getting promoted as well as offer a challenging experience. 2. For choice of areas, most Ayuthaya Province’s officers as well as fresh recruits prefer working in their home region. The exceptions are those fresh recruits who live in Bangkok. This group reported that they prefer working in the Northern and the Northeastern Region, respectively. Pertaining to provinces, most Ayuthaya Province’s officers who live in Ayuthaya Province would rather work in this province than others. And for choice of amphurs, with regard to the selection of ampher’s class, both group of deputy district officers who had lived in developed class such as the first class would select to work in the same class. On the other hand, those who live in underdeveloped class such as the fourth and the fifth class would select to work in the better class. With regard to the risky area-amphurs that located in the Central of Communist Protection and Suppression area, both groups reported no preference. These include not only the ones who are at G.S. 3 and higher but also those with spouse no matter the spouse can or cannot transfer along with that officers when duty station changed. The underlying reason is that most officers prefer the safety areas to the risky ones. 3. With regard to the selection works and areas that offer chances to maximize benefits. Most officers under study would select works and areas on the premise that it will maximized benefits such as income, cost saving, promotion, challenging, and conveniences. The exception is that fresh recruits wouldn’t select works and areas which will offer them the most convenience. As a conclusion, this study confirms that the behavior pertaining to works and areas selection of deputy district officers are determined by factors which will lead to benefits in various form. This is consistant with the proposition asserted by the public choice approach. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26182 |
ISBN: | 9745666408 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chuleepon_De_front.pdf | 534.83 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chuleepon_De_ch1.pdf | 427.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chuleepon_De_ch2.pdf | 815.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chuleepon_De_ch3.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chuleepon_De_ch4.pdf | 912.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chuleepon_De_ch5.pdf | 536.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chuleepon_De_back.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.