Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26389
Title: การศึกษาสาระในภาพระบายสีเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A study of content in paintings concerning Thai culture of prathom suksa five and six students in Bangkok Metropolis
Authors: โชติวัฒน์ วนเมธิน
Advisors: อำไพ ตีรณสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาระในภาพระบายสีเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ในกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งออกเป็น 8 ด้านดังนี้ 1. ชาติ 2. ศาสนา 3. การเมืองการปกครอง 4. ประเพณี 5. ปัจจัยในการดำรงชีวิต 6. ศิลปกรรม 7. จรรยามารยาทและ 8. การละเล่น ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 404 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบทดสอบการวาดภาพระบายสี 2. แบบสอบถามเกี่ยวกับการวาดภาพระบายสี และ 3. แบบวิเคราะห์ภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า สาระในด้านประเพณีมีมากที่สุด (ร้อยละ 75.24) รองลงมาตามลำดับได้แก่ ด้านจรรยามารยาท (ร้อยละ 9.43) ด้านศิลปกรรม (ร้อยละ 5.90) ด้านการละเล่น (ร้อยละ 4.01) ด้านศาสนา (ร้อยละ 3.54) ด้านชาติและการเมืองการปกครอง (อย่างละ ร้อยละ 0.71) และด้านปัจจัยในการดำรงชีวิต (ร้อยละ 0.47) สาระเรื่องราวในภาพที่พบมากที่สุดคือเรื่องราวทางด้านประเพณี ประกอบไปด้วยประเพณีลอยกระทงมากที่สุด (ร้อยละ 55.97) รองลงมาได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ (ร้อยละ 33.33) ส่วนที่พบน้อยได้แก่ ประเพณีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีผีตาโขน ประเพณีแข่งเรือพาย และประเพณีแห่นางแมว (เรื่องราวละร้อยละ 0.31) รายละเอียดของสิ่งที่ปรากฏในภาพมากที่สุดคือด้านประเพณี (ร้อยละ 31.61) ซึ่งแสดงถึงรายละเอียดเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงมากที่สุด รายละเอียดที่ปรากฏได้แก่ แสดงคืนวันเพ็ญ แสดงเวลากลางคืน เผาเทียนเล่นไฟ แสดงอาชีพการขายกระทงและการขายดอกไม้ไฟตามลำดับ รองลงมาได้แก่รายละเอียดเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ ได้แก่ การสาดน้ำด้วยขัน การก่อกองทราย การสาดน้ำด้วยปืนฉีดน้ำ เล่นน้ำด้วยสายยาง สาดน้ำโดยใช้รถกระบะตระเวนสาด การรดน้ำดำหัวตามลำดับ ส่วนที่พบน้อยได้แก่ รายละเอียดเกี่ยวกับประเพณีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีวิ่งควาย ประเพณีผีตาโขน ประเพณีแข่งเรือพาย และประเพณีแห่นางแมว ในด้านความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการวาดภาพระบายสี พบว่ากิจกรรมทางศิลปศึกษาที่นักเรียนชอบมากที่สุดได้แก่กิจกรรมวาดภาพระบายสี (ร้อยละ 63.12) สำหรับการวาดภาพเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย นักเรียนต้องมีแบบบ้างเพื่อใช้เป็นข้อมูล (ร้อยละ 54.46) นักเรียนรู้สึกชอบถ้าในวิชาศิลปศึกษา ครูนำเอาเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมไทยมาให้ฝึกปฏิบัติเสมอ (ร้อยละ 91.83)
Other Abstract: This research examined the content paintings of Prathom Suksa 5 and 6 students in Bangkok concerning Thai culture in the aspects of 1. Nation, 2. Religious, 3. Politic and Government, 4.Tradition, 5. Life Supportive Factors, 6. Art, 7. Ethics, and 8. Recreation. The sampler of this research were 404 students of Prathom Suksa 5 and 6 in Bangkok Metropolis. The research instruments were constructed by the researcher in the form of 1. Drawing test, 2. The questionnaire for the students, and 3. Analysis form. The obtain drawings were analyzed by means of frequency and percentage. The research findings revealed that majority of the content in students paintings showed the aspect of Tradition (75.24%), followed by Ethics (9.43%), Art (5.90%), Recreation (4.01%), Religious (3.54%), Nation, and Politic and Government (0.71%each), Life Supportive Factors was found at the least (0.47%). The content of story that found at most was in the aspect of Tradition, including Loy Krathong (55.97%), followed by Songkran (33.33%), Khuen Ban Mai, Wing Kwai, Phi Ta Khon, Khaeng Ruea Phai and Hae Nang Maew were found the least (0.31%). The details that appeared in the paintings mostly was in the aspect of Tradition (31.61%) which shown the Loy Krathong Festival the most, the details were shown full moon, night time, Pow Tein Len Fai (fireworks), selling Krathong and fireworks, orderly. Followed by Songkran Festival which were shown throwing water by bowls, Kor Kong Sai (sand constructed), throwing water by water splashing gun; water host; riding on the wagon, Rod Num Dum Hau (sprinkle water to adult), orderly. The details that appear at least were Khun Ban Mai (New House), Wing Kwai (buffalo racing), Khang Rue Phai (boat racing), and Hae Nang Maew (cat parading). Concerning the opinions of the students on drawing and painting, it was found that the students preferred drawing and painting activity the most (63.12%). In drawing and painting about Thai culture, the students indicated that they needed samples for guiding in their paintings (54.46%). They would like the teachers to include the content about Thai culture as drawing and paint activities occasionally (91.83%).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26389
ISBN: 9741756038
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chotiwat_va_front.pdf5.68 MBAdobe PDFView/Open
Chotiwat_va_ch1.pdf5.75 MBAdobe PDFView/Open
Chotiwat_va_ch2.pdf56.17 MBAdobe PDFView/Open
Chotiwat_va_ch3.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open
Chotiwat_va_ch4.pdf15.21 MBAdobe PDFView/Open
Chotiwat_va_ch5.pdf16.29 MBAdobe PDFView/Open
Chotiwat_va_back.pdf31.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.