Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26395
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการบริหารงาน ของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาในส่วนกลาง
Other Titles: Opinions of administrations and teachers concering the administration of secondary school clusters in central region
Authors: สุภาพร ลีวิโรจน์
Advisors: อุทัย บุญประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูเกี่ยวกับการบริหารงานของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาในส่วนกลาง 2. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไข ในการบริหารงานกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาในส่วนกลาง สมมติฐานของการวิจัย ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการบริหารงานของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาในส่วนกลาง แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ผู้บริหารและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษาในส่วนกลาง ซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าสถานศึกษาและผู้ช่วยหัวหน้าสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ อย่างละ 101 คน โดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง และสุ่มตัวอย่างครู 25% ของจำนวนประชากรจะได้ครู 200 คน รวม 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามซึ่งแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่สถานภาพส่วนตัว ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาในส่วนกลาง และปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไข ในการบริหารงานกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาในส่วนกลาง ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบ แบบประเมินค่า แบบเรียงลำดับ และแบบปลายเปิด การวิเคราะห์ ใช้ค่าความถี่ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการตรวจสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ผลการวิจัย 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับการบริหารงานของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาในส่วนกลางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2.การบริหารงานของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาในส่วนกลางมีประสิทธิภาพและให้ผลประโยชน์ในด้านการบริหารงานวิชาการในระดับปานกลาง ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นว่างานประชุมอบรมสัมมนาทางวิชาการได้ดำเนินการไปมากที่สุด งานปรับซ่อมบำรุงรักษาและสร้างอุปกรณ์การสอนดำเนินไปน้อยที่สุด งานวัดและประเมินผลการเรียนการสอน งานหลักสูตร งานนิเทศการศึกษา งานส่งเสริมการเรียนการสอน ดำเนินไปในระดับปานกลาง 3. ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การบริหารงานของกลุ่มโรงเรียนยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรเกิดจาก งบประมาณไม่พอเพียง การติดต่อสื่อสารล่าช้า ผู้บริหารไม่มีเวลาจะอุทิศให้แก่งานกลุ่ม ไม่มีหลักเกณฑ์ในการนิเทศและติดตามผล สถานที่ทำงานไม่เป็นเอกเทศกลุ่มมีขนาดใหญ่ไม่มีกฏหมายรองรับ สมาชิกในกลุ่มโรงเรียนใช้หลักสูตรต่างกัน 4. เพื่อให้การบริหารงานของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น กลุ่มโรงเรียนควรปรับปรุงในเรื่องของกลุ่ม และการบริหารงานกลุ่ม
Other Abstract: Purposes of the thesis 1. To study and compare the opinions of administrators and teachers concerning the administration of secondary school clusters in central region 2. To study the problem, obstacles and their respective solution in the administration of secondary school clusters in central region. Hypothesis of the Research The opinions of administrators and teachers concerning the administration of secondary school clusters in central region are different. Research Methodology The subjects of the research are the administrators and teachers of secondary schools of the department of general educational in central region. The administrators are school heads and assistant school heads for academic affair. 101 subjects were used in each group and no random selection was done. Whereas in teacher group, a random of 25% of the population or 200 teachers were used. The total number of subjects used therefore were 402. The instrument used was questionnaire. The data were analysed and presented in term of frequency, percentage, mean and standard deviation analysis of variance and Scheffe’s method of double comparison. The outcome of the Research 1. The opinions of the administrators and teachers concerning the administration of the secondary school clusters in central region were statistically significant different at the .05 level. The finding was pertinent to the research hypothesis. 2.The administration of the secondary school clusters in central region was effective and the academic performances were satisfactory at a “fair” level. The academic seminars were thought to be most performed while the maintenance and the producing of the teaching-aids were thought to be least done. The performance regarding the curriculum administration, the educational supervision and the educational promotion were performed at a “fair” level. 3.There were many factors contributing to the inefficiency of the secondary school clusters’ administration especially budget constraints, communication problems, administrator’s time devoted to the school cluster affairs, good supervision monitoring and control system, facilities problems and legal basis of the cluster. More over some of the member of school cluster were different at the curriculum employed. 4.It was recommended that this school cluster be restructure and administration be improved to suit school clusters’ needs and problems found.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26395
ISBN: 9745631175
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn_Le_front.pdf494.62 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Le_ch1.pdf366.1 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Le_ch2.pdf996.77 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Le_ch3.pdf358.98 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Le_ch4.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Le_ch5.pdf891.19 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Le_back.pdf908.56 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.