Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26463
Title: | ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการโฆษณา |
Other Titles: | Opinions of secondary school students in Bangkok metropolis concerning language used in advertisin |
Authors: | สุรีย์ประภา ตรัยเวช |
Advisors: | สุจริต เพียรชอบ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2523 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการโฆษณา 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนชายและหญิงเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการโฆษณา 3. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายเกี่ยวกับภาษาที่ใช้ในการโฆษณา 4. เพื่อศึกษาเหตุผลของการเลือกภาษาโฆษณาแต่ละประโยควิธีดำเนินการวิจัย สร้างแบบสอบถาม 1 ชุด มีลักษณะเป็นแบบกำหนดคำตอบให้เลือกและแบบมาตรส่วนประเมินค่า จากนั้นนำไปแจกนักเรียนชายและนักเรียนหญิง จำนวน 620 คนจากโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนราษฎร์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 แห่ง แบบสอบถามที่นำมาวิจัยจำนวน 577 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 93.06 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความเห็นระหว่างนักเรียนชาย และนักเรียนหญิง นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย โดยทดสอบค่าซี แล้วนำเสนอในรูปตารางและความเรียง ผลการวิจัย 1. นักเรียนมีความเห็นว่ารายการโฆษณามีอิทธิพลต่อนักเรียนในด้านทำให้เกิดการเลียนแบบการใช้ภาษาโฆษณา 2. ความคิดเห็นของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงเกี่ยวกับลักษณะภาษาที่ใช้ในการโฆษณาไม่แตกต่างกัน และมีความเห็นอีกว่าภาษาโฆษณามีลักษณะเหมาะที่จะใช้เป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน ใช้คำพูดหรือข้อความที่เกินจริง ทำให้เกิดการเลียนแบบหรือใช้ตามอย่าง และมีการสร้างสำนวนที่ผิดจากแบบแผนเดิม อยู่ในระดับมาก 3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ความคิดเห็นที่แตกต่างกันเด่นชัดได้แก่ใช้คำที่จำได้ง่าย เหมาะที่จะใช้เป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน ใช้คำพูดหรือข้อความที่เกินจริง และทำให้เกิดการเลียนแบบหรือใช้ตามอย่าง 4. นักเรียนมีความเห็นว่า ถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในภาษาโฆษณามีทั้งเหมาะสมและไม่เหมาะสม ภาษาโฆษณาที่เหมาะสมนั้น นักเรียนให้เหตุผลว่าเพราะใช้คำคล้องจองดีมากที่สุด รองลงมาคือ ใช้ถ้อยคำที่มีความหมายดี และใช้ถ้อยคำสำนวนที่ดึงดูดความสนใจ ส่วนที่ให้เหตุผลว่าภาษาโฆษณาไม่เหมาะสม เพราะใช้คำพูดหรือข้อความที่เกินจริงมากที่สุด รองลงมาคือ ใช้ภาษาที่ฟังแล้วไม่เข้าใจความหมาย ใช้คำกำกวม คลุมเครือ และใช้คำหรือสำนวนผิดหลักภาษาไทย |
Other Abstract: | The purpose of the study 1. To study the opinions of secondary school boys and girls concerning the language used in advertising. 2.To compare the opinions of boys and girls concerning the language used in advertising. 3. To compare the opinions of the lower secondary students and the higher secondary student concerning the language used in advertising 4. To study the reasons they they select each advertising sentence. Method of Study. The researcher constructed a series of questionnaires consisting of checklists and rating seales. The questionnaire were then sent to 620 students, boys and girls, from 10 public and private secondary schools in Bangkok Metropolis Five hundred and seventy seven or 93.06 percent were returned. The data were tabulated and analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and Z test. The result of the study. It was found that : 1. The students thought that the advertising language had some influence on their daily language. 2. There was no significant difference between boys’ and girls’ opinions concerning the characteristics of the advertising language and they thought that the language used was more suitable for spoken than written language. The advertising language was exaggerated, creating new expressions and the students tended to imitate what they had heard or read. 3. The opinions of the lower and higher secondary school students differed significantly at the level of .05 in the following aspects : easy to remember, suitable to be cologuial, exaggerated expressions, causing the imitation of the language used. 4. The students indicated that some expressions used in advertising were suitable for everyday usage and some were not. The majority of the students who thought that they were suitable explained that the advertising language used was punning, meaningful and attractive. Some students indicated that the expressions were exaggerated, add hard to understand, unclear and, ungrammatical. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26463 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sureeprapha_Tr_front.pdf | 484.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sureeprapha_Tr_ch1.pdf | 613.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sureeprapha_Tr_ch2.pdf | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sureeprapha_Tr_ch3.pdf | 366.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sureeprapha_Tr_ch4.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sureeprapha_Tr_ch5.pdf | 773.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sureeprapha_Tr_back.pdf | 749.99 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.