Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26688
Title: การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูคณิตศาสตร์เกี่ยวกับปัญหา การสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนรัฐบาล เขตการศึกษา 7
Other Titles: A comparison of opinions of administrators and mathematics teachers concerning problems of mathematics remedial teaching at the upper secondary education level in government schools in educational region seven
Authors: สายหรุ่ย ตยานันท์
Advisors: ยุพิน พิพิธกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูคณิตศาสตร์เกี่ยวกับปัญหาการสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในปัญหาที่เกี่ยวข้องกับด้านต่าง ๆ ดังนี้ หลักสูตร ผู้บริหาร ตัวครูผู้สอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ นักเรียนที่เรียนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ การวางแผนการสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ การวัดและประเมินผลการเรียนในการสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ ตัวอย่างประชากรเป็นผู้บริหารจำนวน 105 คนซึ่งได้แก่ผู้อำนวยการหรืออาจารย์ใหญ่ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หรือผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าหมวดวิชาคณิตศาสตร์กับครูคณิตศาสตร์ที่สอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 156 คน รวมตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 261 คน จากโรงเรียนรัฐบาล เขตการศึกษา 7 ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถาม 1 ชุด เป็นแบบตรวจคำตอบ แบบมาตราส่วนประเมินค่าและแบบให้ตอบโดยเสรี ตามหัวข้อที่กำหนดให้แล้วส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างประชากร นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (t – test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาของผู้บริหารและครูคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1.1 หลักสูตร โดยส่วนรวมทั้งผู้บริหารและครูคณิตศาสตร์มีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาค่ามัชฌิมเลขคณิตสูงสุด ทั้งผู้บริหารและครูคณิตศาสตร์มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า ปัญหาในเรื่องการปฏิบัติตามวิธีการเกี่ยวกับการจัดสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นปัญหาแรก 1.2ผู้บริหาร โดยส่วนรวมทั้งผู้บริหารและครูคณิตศาสตร์มีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาค่ามัชฌิมเลขคณิตสูงสุด ผู้บริหารเห็นว่ามีปัญหาในเรื่องการจัดเวลาและจำนวนคาบที่สอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์เป็นปัญหาแรก ส่วนครูคณิตศาสตร์เห็นว่ามีปัญหาในเรื่องการชี้แจงนักเรียนและผู้ปกครองให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์เป็นปัญหาแรก 1.3 ตัวครูผู้สอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ โดยส่วนรวมทั้งผู้บริหารและครูคณิตศาสตร์มีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับตัวครูผู้สอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาค่ามัชฌิมเลขคณิตสูงสุดผู้บริหารเห็นว่ามีปัญหาในเรื่องวิธีการที่เสริมกำลังใจแก่นักเรียน ที่เรียนสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์เป็นปัญหาแรก ส่วนครูคณิตศาสตร์เห็นว่ามีปัญหาในเรื่องการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนมาสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์เป็นปัญหาแรก 1.4 นักเรียนที่เรียนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ โดยส่วยรวมทั้งผู้บริหารและครูคณิตศาสตร์มีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนที่เรียนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาค่ามัชฌิมเลขคณิตสูงสุดทั้งผู้บริหารและครูคณิตศาสตร์ มีความเห็นสอดคล้องกันว่ามีปัญหาในเรื่องความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนเป็นปัญหาแรก 1.5 การวางแผนการสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ โดยส่วนรวมทั้งผู้บริหารและครูคณิตศาสตร์มีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาค่ามัชฌิมเลขคณิตสูงสุดทั้งผู้บริหารและครูคณิตศาสตร์ มีความเห็นสอดคล้องกันว่ามีปัญหาในเรื่องการศึกษาจุดอ่อนของนักเรียนที่อ่อนวิชาคณิตศาสตร์เป็นปัญหาแรก 1.6 การดำเนินการสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ โดยส่วนรวมทั้งผู้บริหารและครูคณิตศาสตร์มีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาค่ามัชฌิมเลขคณิตสูงสุดทั้งผู้บริหารและครูคณิตศาสตร์ มีความเห็นสอดคล้องกันว่ามีปัญหาในเรื่องการจัดสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ แบบจัดสอนเป็นรายบุคคล โดยใช้ชุดการสอนหรือเอกสารแนะแนวทางเป็นปัญหาแรก 1.7 การวัดและประเมินผลการเรียนในการสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ โดยส่วนรวมทั้งผู้บริหารและครูคณิตศาสตร์มีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการวัดและประเมินผลการเรียนในการสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาค่ามัชฌิมเลขคณิสูงสุด ทั้งผู้บริหารและครูคณิตศาสตร์มีความเห็นสอดคล้องกันว่า มีปัญหาในเรื่องการวางหลักเกณฑ์ในการวัดผลตามหลักสูตรที่กำหนดให้ เมื่อนำมาใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนเป็นปัญหาแรก 2. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูคณิตศาสตร์เกี่ยวกับปัญหาการสอนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
Other Abstract: The purposes of this research were to study and to compare the opinions of administrators and mathematics teachers concerning problems of mathematics remedial teaching at the upper secondary education level in the following aspects :- curriculum, administrators, mathematics remedial teachers, students in mathematics remedial classes, measurement and evaluation. The samples were 105 administrators consisted of directors or principals, assistant directors or assistant principals for academic affairs, mathematics department heads and 156 mathematics teachers who taught mathematics at the upper secondary education level. The total samples were 261 administrators and mathematics teachers from the government schools in educational region seven. A questionnaire consisting of check-list, rating scale, open-ended questions was constructed by the researcher. The questionnaires were sent to the samples. The data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test. The results of the research were as follows: 1. The problems of administrators and mathematics teachers concerning mathematics remedial teaching at the upper secondary education level were the following aspects: 1.1 Curriculum As a whole, both administrators and mathematics teachers had problems concerning curriculum at the low level. By considering the highest arithmetic mean, they agreed that the performance concerning mathematics remedial teaching at the upper secondary education level was their first problem. 1.2 Administrators As a whole, both administrators and mathematics teachers had the problems concerning administrators at the low level. By considering the highest arithmetic mean, the administrators’ first problem was the arrangement of the time-table and the number of periods in mathematics remedial teaching. But the mathematics teachers’ first problem was how to inform the students and guardians to understand about mathematics remedial teaching. 1.3 Mathematics remedial teachers As a whole, both administrators and mathematics teachers had the problems concerning mathematics remedial teachers at the low level. By considering the highest arithmetic mean, the administrator’s first problem was the reinforcement techniques to students in mathematics remedial classes. But the mathematics teachers’ first problem was on the selection of instructional materials in mathematics remedial teaching. 1.4 Students in mathematics remedial classes As a whole, both administrators and mathematics teachers had the problems concerning students in mathematics remedial classes at the low level. By considering the highest arithmetic mean, they agreed that the students’ mathematics basic knowledge was their first problem. 1.5 Planning for mathematic remedial teaching As a whole, both administrators and mathematics teachers had the problems concerning planning for mathematics remedial teaching at the low level. By considering the highest arithmetic mean, they agreed that the study of the students’ mathematics weak point was their first problem. 1.6 Procedure of mathematics remedial teaching As a whole, both administrators and mathematics teachers had the problems concerning procedure of mathematics remedial teaching at the low level. By considering the highest arithmetic mean, they agreed that the arrangement of mathematics remedial teaching on individualized instruction by using instructional package or guide sheet was their first problem. 1.7 Measurement and evaluation in mathematics remedial teaching As a whole, both administrators and mathematics teachers had the problems concerning measurement and evaluation in mathematics remedial teaching at the low level. By considering the highest arithmetic mean, they agreed that the implementation of the criteria of measurement and evaluation as curriculum given was their first problem. 2. In comparing the opinions of administrators and mathematics teachers, it was found that the problem concerning the mathematics remedial teaching at the upper secondary education level was different at the 0.05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26688
ISBN: 9745646091
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sairuee_Ta_front.pdf516.48 kBAdobe PDFView/Open
Sairuee_Ta_ch1.pdf464.8 kBAdobe PDFView/Open
Sairuee_Ta_ch2.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Sairuee_Ta_ch3.pdf324.03 kBAdobe PDFView/Open
Sairuee_Ta_ch4.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Sairuee_Ta_ch5.pdf689.52 kBAdobe PDFView/Open
Sairuee_Ta_back.pdf755.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.