Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26757
Title: ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน ของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 9
Other Titles: Job satisfaction in community development of teachers at the community secondary school under the jurisdiction of General Educaiton Department in educational region nine
Authors: สุพรรณี สมบัติธีระ
Advisors: จุมพล พูลภัทรชีวิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบทในเขตการศึกษา 9 2.เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนของครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบทในเขตการศึกษา 9 ที่มีเพศ อายุ อายุราชการ วุฒิทางการศึกษา สถานภาพทางการสมรสและภูมิลำเนาแตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบทในเขตการศึกษา 9 จาก 3 จังหวัด คือ จังหวัดเลย ขอนแก่น และอุดรธานี มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับการศึกษาครั้งนี้ 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน ซึ่งมี 8 องค์ประกอบ คือ 1.นโยบายและการบริหารงานพัฒนาชุมชน 2.ลักษณะของงานพัฒนาชุมชน 3.สภาพการทำงานพัฒนาชุมชน 4.ความรับผิดชอบงานพัฒนาชุมชน 5.การได้รับการยอมรับนับถือ 6.ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน 7.ความสำเร็จของงานพัฒนาชุมชน 8.ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบและประเมินค่า ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามไปจำนวน 370 ชุด ด้วยตัวเอง และได้รับการคืนมาจำนวน 350 ชุด คิดเป็นร้อยละ 94.59 ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทอสอบทีเทส สรุปผลการวิจัย 1.องค์ประกอบที่ทำให้ครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท รู้สึกพึงพอใจในการปฏิบัติงานในระดับมากเรียงตามลำดับได้แก่ การยอมรับนับถือ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชาและสภาพการทำงานพัฒนาชุมชน 2.องค์ประกอบที่ทำให้ครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท รู้สึกพึงพอใจในการปฏิบัติงานในระดับปานกลาง เรียงตามลำดับได้แก่ ความรับผิดชอบงานพัฒนาชุมชน ลักษณะของงานพัฒนาชุมชนและความสำเร็จของงานพัฒนาชุมชน 3.องค์ประกอบที่ทำให้ครูโรงเรียนมัธยมเพื่อพัฒนาชนบท รู้สึกพึงพอใจในการปฏิบัติงานในระดับน้อย เรียงตามลำดับได้แก่ นโยบายและการบริหารในการพัฒนาชุมชน และความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน 4.ครูชายและครูหญิงมีความพึงพอใจในหารปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ใน 6 องค์ประกอบ คือ ลักษณะของงานพัฒนาชุมชน ความรับผิดชอบงานพัฒนาชุมชน การได้รับการยอมรับนับถือ ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ความสำเร็จของงานพัฒนาชุมชนและความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ 5.ครูที่มีอายุระหว่าง 20-29 ปี และอายุ 30 ปีขึ้นไป มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ใน 3 องค์ประกอบ คือ นโยบายและการบริหารในการพัฒนาชุมชน การได้รับการยอมรับนับถือและความสำเร็จของงานพัฒนาชุมชน ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ 6.ครูที่มีอายุราชการต่ำกว่า 5 ปี และอายุราชการ 5 ปีขึ้นไป มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ใน 6 องค์ประกอบ คือ นโยบายและการบริหารในการพัฒนาชุมชน ความรับผิดชอบงานพัฒนาชุมชน การได้รับการยอมรับนับถือ ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน ความสำเร็จของงานพัฒนาชุมชนและความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 7.ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและปริญญาตรีขึ้นไป มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ใน 2 องค์ประกอบ คือ ลักษณะของงานพัฒนาชุมชนและความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 8.ครูโสดและครูที่สมรสแล้วมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ใน 3 องค์แระกอบคือ ความรับผิดชอบงานพัฒนาชุมชน ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงานและความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 9.ครูที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในจังหวัดเดียวกับที่ทำงานและครูที่มีภูมิสำเนาเดิมอยู่จังหวัดอื่นมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ใน 4 องค์ประกอบ คือนโยบายและการบริหารในการพัฒนาชุมชน สภาพการทำงานพัฒนาชุมชน ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงานและความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: Purposes of the Study 1.To study the level of job satisfaction in community development of teachers at the Community Secondary School Project in Educational Region 9. 2.To compare job satisfaction in community development according to different variables of sex, age, years in service, educational degree, marital status and domicile. Procedures The population of this research consisted of 370 teachers at the Community Secondary School Project in educational region 9. They were randomly drawn from three provinces: Loei, Khonkean and Udorntani. The instrument used in this research was a questionnaire composing of 8 factors which affect the job satisfaction of teachers. They are: 1.School policy and administration in community development 2.nature of work in community development 3.working condition 4.responsibility in community development 5.recognition 6.advancement 7.achievement of community development 8.interpersonal relationship with peers and superiors, The questionnaire was of the checklist and rating scale. Three hundred seventy questionnaires were distributed, and three hundred fifty completed copies (94.59 %) were returned. The data were analysed by using percentage, arithmatic mean standard deviation and t-test. Research Findings 1.The factors affecting job satisfaction of the teachers in the Community Secondary School Project at high level were recognition, interpersonal relationship with peers and superiors, and working condition of community development. 2.The factors affecting job satisfaction of the teachers in the Community Secondary School Project at a moderate level were responsibility of community development, nature of work in community development, and achievement in community development. 3.The factors affection job satisfaction of the teachers in the Community Secondary School Project at a low level were school policy and administration of community development, and advancements. 4.The job satisfaction between male and female were found statistically significant at .05 on the following factors: nature of work in community development , responsibility in community development, recognition, advancement, achievement of community development, and interpersonal relationship with peers and superiors. The other factors were not significantly different. 5.The job satisfaction between 20-29 years old and thirty or more years old were found statistically significant at .05 on the following factors: school policy and administration of community development, recognition and achievement of community development. The other factors were not significantly different. 6.The job satisfaction between those officers who had worked under five years and for over five years were found statistically significant at .05 on the following factors: school policy and administration of community development, responsibility in community development, recognition, advancement, achievement of community development and interpersonal relationship with peers and superviors. The other factors were not significantly different . 7. The job satisfaction between those who had degree lower than a Bachelor’s degree and those who had a Bachelor’s degree or higher were found statistically significant at .05 on the following factors: nature of work in community development and advancement. The other factors were not significantly different. 8.The job satisfaction between those who were single and who got married were found statistically significant at .05 on the following factors: responsibility of community development, advancement and interpersonal relationship with peers and superiors. The other factors were not significantly different. 9.The job satisfaction between hometown teachers and non-hometown teachers were found statistically significant at .05 on the following factors: school policy and administration of community development , advancement and interpersonal relationship with peers and superiors. The other factors were not significantly different.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26757
ISBN: 9745670685
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supannee_So_front.pdf584.63 kBAdobe PDFView/Open
Supannee_So_ch1.pdf579.14 kBAdobe PDFView/Open
Supannee_So_ch2.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
Supannee_So_ch3.pdf416.98 kBAdobe PDFView/Open
Supannee_So_ch4.pdf819.75 kBAdobe PDFView/Open
Supannee_So_ch5.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Supannee_So_back.pdf786.44 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.