Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26908
Title: ปัญหาของครูพลานามัยเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรวิชาพลานามัย ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ฉบับปี พ.ศ. 2518 ของโรงเรียนรัฐบาล ในเขตการศึกษา 3
Other Titles: Problems of physical education teachers in implementing the upper secondary school syllabus 2518 B.E. of the government schools in educational region 3
Authors: สมศักดิ์ ศิริอนันต์
Advisors: อนันต์ อัตชู
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาปัญหาของครูพลานามัยในการใช้หลักสูตรวิชาพลานามัย ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายฉบับปี พ.ศ. 2518 ของโรงเรียนรัฐบาลในเขตการศึกษา 3 จำนวน 23 คนเป็นชาย 20 คนหญิง 3 คนจาก 13 โรงเรียนซึ่งเป็นแบบสหศึกษาทั้งหมดได้รับแบบสอบถามคือมาครบทั้ง 23 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 100 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ควรแยกวิชาพลศึกษาสุขศึกษาและจุดมุ่งหมายของทั้งสองวิชาออกจากกันการใช้หลักสูตรฯโรงเรียนยังไม่พร้อมในการเตรียมบุคลากรรวมทั้งคู่มือหลักสูตรฯและประมวลการสอนศึกษานิเทศก์ไม่ค่อยได้ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาการใช้หลักสูตรฯเนื้อหาวิชาพลศึกษาที่กำหนดให้เป็นวิชาบังคับยังไม่เหมาะสม แต่จำนวนคาบเรียนที่กำหนดให้เหมาะสมดีแล้ว เนื้อหาวิชาสุขศึกษามีมากและจำนวนคาบเรียนน้อยไปรวมทั้งโรงเรียนยังขาดอุปกรณ์การสอนวิชาสุขศึกษาอยู่อีกมาก เกณฑ์การวัดและการประเมินผลที่กรมพลศึกษาได้แนะนำไว้มีความเหมาะสมดีแล้ว แต่โรงเรียนไม่ได้ใช้เกณฑ์นี้เกณฑ์ที่ใช้เป็นเกณฑ์ของโรงเรียนเอง การกำหนดวิชาเลือก และจุดประสงค์ของหลักสูตรฯมีความเหมาะสมดีแล้ว อาจารย์ใหญ่และหัวหน้าสายวิชาให้ความสนับสนุนวิชาพลานามัยเป็นอย่างดี
Other Abstract: The purpose of this study was to survey the problems of physical education teachers in implementing the upper secondary school syllabus 2518 B.E. of the government schools in educational region 3. The questionnaires, as the tool of this study, were sent to twenty-three teachers who taught health and physical education in the sampled schools. The questionnaires were 100% returned. The data were statistically treated to find the percentage. It was found that health education should be separated from physical education in both subject matter and objectives. The handbooks and personnel were not adequate. The suppervisors seldom helped in solving the problems of implementing the curriculum. The required subjects of physical education were not suitable. The content of health education was too wide to teach in a given time and the schools were short of teaching equipment of health education. The measuring and evaluating methods and criteria used in schools were in agreement with those set up by the Department of Physical Education, but most of the schools preferred to use their own measuring and evaluating methods. The credits of the elective courses and the expecting outcome were practicable and suitable.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26908
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsak_Si_front.pdf386.99 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Si_ch1.pdf819.62 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Si_ch2.pdf244.47 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Si_ch3.pdf968.97 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Si_ch4.pdf354.94 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_Si_back.pdf580.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.