Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26930
Title: การประเมินเงินกองทุนทางเศรษฐศาสตร์และการรวมพอร์ตโฟลิโอความเสี่ยงโดยคอปปูลาฟังก์ชัน
Other Titles: Economic capital valuation and aggregation portforio of risks via copula function
Authors: จักรพงศ์ เกียรติดำรง
Advisors: ฐิติวดี ชัยวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Advisor's Email: Thitivadee.C@Chula.ac.th
Subjects: กองทุนบริหารความเสี่ยง
ความเสี่ยง
การประเมินความเสี่ยง
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินเงินกองทุนทางเศรษฐศาสตร์สำหรับความเสี่ยงด้านการประกันภัย โดยใช้อัตราส่วนความเสียหาย ในงานวิจัยนี้ได้รวมความเสี่ยงด้วยคอปปูลาแบบปกติ และคอปปูลาแบบสติวเดนท์ ที ที่มีองศาความอิสระเท่ากับ 1 3 5 10 15 20 และ 25 ร่วมกับการประเมินความเสี่ยงด้วยวิธีมูลค่าความเสี่ยง และวิธีมูลค่าความเสี่ยงส่วนปลาย ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ รายงานประจำเดือนของงบกำไรขาดทุนจากการรับประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัยแห่งหนึ่งตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ของการรับประกันภัยทั้งหมด 7 ประเภท คือ การประกันอัคคีภัย การประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ การประกันภัยเบ็ดเตล็ด การประกันภัยความเสี่ยงภัยต่อทรัพย์สิน และการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ผลการวิจัยพบว่าการรวมความเสี่ยงด้วยคอปปูลาแบบสติวเดนท์ ที องศาความอิสระเท่ากับ 1 ให้ผลการประเมินเงินกองทุนทางเศรษฐศาสตร์สูงที่สุด เนื่องจากสามารถอธิบายความสัมพันธ์ที่ไม่อิสระกันได้ดี ส่วนคอปปูลาแบบปกติให้ผลการประเมินเงินกองทุนทางเศรษฐศาสตร์ต่ำที่สุด เนื่องจากไม่สามารถอธิบายลักษณะความไม่อิสระกันได้ เมื่อพิจารณาการกระจายความเสี่ยงพบว่า การกระจายความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเป็นผลให้บริษัทดำรงเงินกองทุนทางเศรษฐศาสตร์น้อยลง โดยคอปปูลาแบบสติวเดนท์ ที องศาความอิสระเท่ากับ 1 ให้ค่าการกระจายความเสี่ยงสูงที่สุด ส่วนคอปปูลาแบบปกติให้ค่าการกระจายความเสี่ยงต่ำที่สุด จึงกล่าวได้ว่าคอปปูลาแบบสติวเดนท์ ที องศาความอิสระเท่ากับ 1 สามารถอธิบายความสัมพันธ์ส่วนหางได้ดีที่สุดเมื่อพอร์ตโฟลิโอความเสี่ยงของบริษัทมีลักษณะที่ไม่อิสระกัน
Other Abstract: This research aims to assess economic capital for underwriting risks by using loss ratio and aggregation portfolio of risks via guassian copula and student‘s t copula with degree of freedom 1, 3, 5, 10, 15, 20 and 25. This paper uses value at risk (VaR) and tail value at risk (TVaR) to measure risks. The data used in this research are drawn from the income statement of a non-life insurance company reported monthly from march 2008 to december 2010. This research classifies business units into 7 groups : fire insurance, marine & transportation insurance, compulsory automobile insurance, voluntary automobile insurance, miscellaneous insurance, industrial all risks insurance and personal accident insurance. The result shows that economic capital of aggregation portfolio of risks using student‘s t copula with 1 degree of freedom gives highest value. This is able to explain correlation of tails distribution. However, guassian copula yields the lowest economic capital since this ignores the tail dependence of each business line. Considering the diversification benefit it seems that student‘s t copula with 1 degree of freedom yields maximum diversification benefit while guassian copula yields minimum diversification benefit. Therefore, student‘s t copula with 1 degree of freedom gives the best performance if firm has an insurance dependent risks between each line of business and especially when firm faces catastrophe.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประกันภัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26930
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1931
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1931
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chakkapong_ki.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.