Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27131
Title: | การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคเหนือ |
Other Titles: | Academic administration of secondary schools in northern region |
Authors: | สุรัตน์ เจียตระกูล |
Advisors: | นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2521 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาโครงสร้างการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สายสามัญศึกษาในภาคเหนือ 2. เพื่อศึกษาถึงภารกิจและการปฏิบัติงานด้านวิชาการที่เป็นจริงของโรงเรียนมัธยมศึกษาสายสามัญศึกษาในภาคเหนือ 3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานด้านวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาสายสามัญศึกษาในภาคเหนือ วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารงานวิชาการและครู-อาจารย์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสายสามัญศึกษาในภาคเหนือ จำนวน 23 โรง จาก 6 จังหวัดคือ เชียงราย พะเยา ลำปาง เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ และตาก แยกเป็นผู้บริหาร 198 คน ครู-อาจารย์ 302 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการหาค่า ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัย 1. โครงสร้างการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสายสามัญศึกษาในภาคเหนือ แยกได้เป็น 3 ระดับคือ ระดับเล็ก ระดับกลาง และระดับใหญ่ โรงเรียนทั้ง 3 ระดับ ส่วนมากมีผู้ช่วยผู้บริหาร 3 คน โรงเรียนระดับเล็กส่วนมากแต่งตั้งผู้ช่วยฝ่ายวิชาการมากกว่าฝ่ายธุรการและฝ่ายปกครอง โรงเรียนระดับกลางแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายวิชาการและฝ่ายธุรการมากกว่าฝ่ายปกครอง และโรงเรียนระดับใหญ่ทุกโรงเรียนมีการแต่งตั้งผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ ฝ่ายธุรการและฝ่ายปกครอง สำหรับการแต่งตั้งกรรมการวิชาการของโรงเรียนนั้น โรงเรียนระดับเล็กยังไม่พร้อมที่จะแต่งตั้งมากที่สุด โรงเรียนระดับกลางส่วนมากมีการแต่งตั้ง บรรณารักษ์ หัวหน้าฝ่ายแนะแนว และผู้ประสานงานการวัดผล และโรงเรียน ระดับใหญ่ส่วนมากมีการแต่งตั้ง บรรณารักษ์ หัวหน้าฝ่ายแนะแนว ผู้ประสานงานวิชาการ ผู้ประสานงานกิจกรรมพิเศษ และผู้ประสานงานการวัดผล โรงเรียนทั้ง 3 ระดับ เปิดสอนทั้ง 8 หมวดวิชา ในการปฏิบัติงานเมื่อผู้บริหารงานวิชาการไม่สามารถปฏิบัติงานวิชาการได้ ผู้บริหารโรงเรียนมอบหมายงานให้แก่ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการมอบหมายงานให้แก่หัวหน้าหมวดวิชา และหัวหน้าหมวดวิชามอบหมายงานให้แก่ครู-อาจารย์ที่ไว้วางใจ เป็นผู้ปฏิบัติงานแทนตามลำดับ 2. ภารกิจและการปฏิบัติงานวิชาการที่เป็นจริงของโรงเรียนมัธยมศึกษาสายสามัญศึกษาในภาคเหนือ จากงานวิชาการทั้ง 11 ด้าน ทั้งผู้บริหารงานวิชาการและครู-อาจารย์โดยส่วนรวมเห็นว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 3.15 แต่ในด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการและด้านวิธีการสอนและตารางสอนนั้น ผู้บริหารงานวิชาการกับครู-อาจารย์มีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ ผู้บริหารเห็นว่าได้มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก แต่ครู-อาจารย์เห็นว่ามีการปฏิบัติในระดับน้อย จากค่าเฉลี่ยโดยส่วนรวม ภารกิจและการปฏิบัติงานวิชาการ การแนะแนว วิธีสอนและตารางสอนและกิจกรรมนักเรียน ขบวนการบริหารงานวิชาการ วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน และห้องสมุด การวางแผนปรับปรุงงานวิชาการ การใช้ทรัพยากรและแหล่งความรู้ในท้องถิ่น หลักสูตรและเอกสารการใช้หลักสูตร และการนิเทศงานวิชาการ อันดับสุดท้ายคือ การวัดผลและการประเมินผลการศึกษา 3. ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสายสามัญศึกษาในภาคเหนือ มีส่วนเกี่ยวพันกับลักษณะงานวิชาการ ทั้งผู้บริหารและครู-อาจารย์มีความเห็นคล้ายคลึงกัน คือ โรงเรียนขาดการวางแผนงานล่วงหน้า และไม่มีความคล่องตัวในการประสานงาน ครู-อาจารย์บางสายวิชา และวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนมีไม่เพียงพอ ห้องสมุดมีหนังสือไม่สมดุลกับจำนวนครู-อาจารย์และนักเรียน ผู้บริหารไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของครู-อาจารย์ส่วนใหญ่ และขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สนใจงานด้านอื่นมากกว่างานวิชาการ ครู-อาจารย์ขาดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานวิชาการ และชุมชนหรือสังคมในท้องถิ่นที่โรงเรียนตั้งอยู่ ยังให้ความสนใจต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนน้อย |
Other Abstract: | Purposes of the study 1. To study the structure of the academic administration in the secondary schools in Northern region. 2. To study the real academic responsibilities and practice in the secondary schools in Northern region. 3. To study the problems and the obstacles concerning the academic practice in the secondary schools in Northern region. Research procedures Samples of this study were composed of administrators, academic assistant administrators, heads of academic sectors, and teachers in 23 secondary schools from 6 Northern provinces. These provinces were Chiengrai, Phayao, Lampang, Chiengmai, Utradit and Tak. Samples were consisted of 198 academic administrators and 302 teachers. Tools used in this research were constructed questionnaires which were based on the principles and theories of academic administration developed from books, documents and research reports. Data were analysed and reported in terms of percentage, arithmetic mean and standard deviation. Findings 1. The structures of the academic administration in the secondary schools in Northern region were devided into 3 categories according to their sizes which were small, medium and large sizes. There were 3 assistant administrative positions, the academic assistant administrators; the business-management assistants and the student-personnel assistants in most secondary schools in Northern region. The academic assistant administrators were appointed more often than any other assistant position in the small schools, the academic assistant administrators and the business-management assistants were appointed more often than the student personnel assistants in the medium schools. But there were 3 positions of assistant administrators in each school of the large category. It appeared that the academic committee in the small schools were mostly not appointed. In most of the medium schools, the librarians, the head of guidance and evaluation coordinators were appointed. But in the large schools, the academic coordinators and the activity coordinators were added. According to all categories of all schools were devided into 8 academic sector administrators delegated works to academic assistant administrators who related them to the head of the sectors and the head of the sectors might delegate some works to the responsible teachers. 2. The academic administrators and teachers in secondary schools in Northern region carried out the academic administrative tasks in a low degree, average 3.19. However, the academic administrator have never agreed to accept opinions of the school teachers. They indicated that the process of academic administration, the task in teaching and scheduling were carried out rather high degree while the teachers showed rather low. According to the average score, the academic administrative task can be ranked respectively as follow: the academic practices of teachers, guidance, methodology in teaching and scheduling and student activities, the process of academic administration, teaching equipments and library, academic evaluation, planning for academic administration, the using local resources and knowledge, curriculum and curriculum documentation using and supervision came last. 3. The problems and the obstacles concerning the academic in secondary schools in Northern region concerned with the academic tasks. All administrators and teachers have common opinion that most schools were lack of pre-planning and streamline in coordination libraries didn’t have enough books for teachers and students. The administrators have never agreed to accept opinions of most teachers. Besides, they were lack of good human relationship. They paid more attention to business and school plant management rather than to academic tasks. The teachers were lack of enthusiasm to coordinate in academic tasks and the community where the schools were located seemed to pay less interest in school tasks. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27131 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Surat_Ji_front.pdf | 635.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surat_Ji_ch1.pdf | 616.97 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surat_Ji_ch2.pdf | 4.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Surat_Ji_ch3.pdf | 533.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Surat_Ji_ch4.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Surat_Ji_ch5.pdf | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Surat_Ji_back.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.