Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27283
Title: การเปรียบเทียบผลของการใช้คำถามก่อน หลัง และระหว่างการอ่านที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ห้า
Other Titles: A comparison of the effects of pre-questioning, post-questioning and interspersed questioning techniques on the English reading comprehension of mathayom suksa five students
Authors: สุนทรี วัฒนจินดาพร
Advisors: สุภัทรา อักษรนุเคราะห์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษระหว่างกลุ่มที่ได้รับคำถามก่อนการอ่าน หลังการอ่าน และระหว่างการอ่าน ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะที่ตรงกับคำถามประกอบระหว่างกลุ่มที่ได้รับคำถามก่อนการอ่าน หลังการอ่าน และระหว่างการอ่าน ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะที่ไม่ตรงกับคำถามประกอบระหว่างกลุ่มที่ได้รับคำถามก่อนการอ่าน หลังการอ่าน และระหว่างการอ่าน และความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียนที่มีระดับความสามารถสูง ปานกลาง และต่ำ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ห้าจำนวน 120 คน โรงเรียนวัดราชโอรส ปีการศึกษา 2526 นักเรียนถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 40 คน แต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนที่มีความสามารถสูง 8 คน ระดับความสามารถกลาง 24 คน และระดับความสามารถต่ำ 8 คน โดยใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียนของวิชาภาษาอังกฤษ 412 ซึ่งเป็นวิชาที่สอนภาคปลาย ปีการศึกษา 2525 ของประชากรกลุ่มนี้เป็นเกณฑ์แบ่งกลุ่มคือ นักเรียนที่มีระดับผลการเรียน 3 และ 4 เป็นกลุ่มสูง ระดับผลการเรียน 2 เป็นกลุ่มปานกลาง และระดับผลการเรียน 1 และ 0 เป็นกลุ่มต่ำ ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบ 3 ฉบับ สำหรับวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ 3 ข้อความ แบบสอบแต่ละฉบับประกอบด้วยคำถามแบบเลือกตอบ 16 ข้อ คัดเลือกเอาแต่ข้อคี่จำนวน 8 ข้อ ในแบบสอบแต่ละฉบับ คือข้อที่ 1, 3, 5, 7, 9, 11, 13 และ 15 มาเป็นคำถามประกอบข้อความที่อ่าน โดยวางไว้ในตำแหน่งก่อนการอ่าน หลังการอ่าน และระหว่างการอ่าน แบบสอบทั้ง 3 ฉบับนี้ ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความถูกต้องของการใช้ภาษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 ท่าน และการวิเคราะห์หาค่าความเที่ยง กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม จะได้อ่านข้อความเดียวกันแต่ได้รับคำถามในตำแหน่งต่างกันคือ ก่อนการอ่าน หลังการอ่าน และระหว่างการอ่าน หลังการอ่านแต่ละข้อความและตอบคำถามประกอบข้อความที่อ่าน กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม จะทำแบบสอบซึ่งมีคำถาม 16 ข้อ โดยที่ข้อคี่เป็นข้อที่ใช้วัดความเข้าใจในการอ่านที่ตรงกับคำถามประกอบข้อความที่อ่าน และข้อคู่เป็นข้อใช้วัดความเข้าใจในการอ่านที่ไม่ตรงกับคำถามประกอบข้อความที่อ่าน นำคะแนนที่ได้จากแบบสอบมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการสวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสององค์ประกอบ และการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคู่ของค่าเฉลี่ยโดยวิธีของนิวแมนคูลส์ (Newman-Kouls Test) ผลของการวิจัยสรุปได้ว่า 1. นักเรียนที่ได้รับคำถามก่อนการอ่าน หลังการอ่าน และระหว่างการอ่านมีความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษรวมทั้งฉบับไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับคำถามก่อนการอ่าน หลังการอ่าน และระหว่างการอ่านมีความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะที่ตรงกับคำถามประกอบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่ได้รับคำถามก่อนการอ่าน หลังการอ่าน และระหว่างการอ่านมีความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษเฉพาะที่ไม่ตรงกับคำถามประกอบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนที่มีความสามารถสูง ปานกลาง และต่ำ มีความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษแตกต่างกันทุกกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this research were to compare English reading comprehension among students given pre-questions, post-questions and interspersed questions, English reading comprehension of the information asked by the study-guide questions among students given pre-questions, post-questions and interspersed questions, English reading comprehension of the information not asked by the study-guide questions among students given pre-questions, post-questions and interspersed questions, English reading comprehension among students of high, average and low ability. The subjects in this research were 120 Mathayom Suksa Five Students of Raj-O-Ros School in the academic year 1983. The students were divided into three group of 40. Each group consisted of 8 high ability students, 24 average ability students and 8 low ability students. The students were classified by the grade of English 412, a subject in the second semester of the academic year 1982, as follows: grade 3 or 4 were high ability, grade 2 was average ability and grade 1 or 0 were low ability. The researcher constructed three tests measuring English reading comprehension of three passages. Each test consisted of 16 multiple choice questions. Eight odd items: 1, 3, 5, 7, 9, 11, 13 and 15 in each passage were used as pre-questions, post-questions and interspersed questions. The three tests were investigated on their content validity by 6 experts. The reliability of the testswere also analysed. The three groups read the same passage with different positions of study-guide questions: pre-questions, post-questions and interspersed questions. Having finished reading each passage, the students were given a sixteen-item test to do. Eight odd items were the questions measuring reading comprehension of the information asked by the study-guide questions. The others were the questions measuring reading comprehension of the information not asked by any study-guide questions. The data were analyzed by among of the aritlumtic mean, stanard deviation, two-way analysis of variance and Newman-Kouls Test. The results of the research were concluded as follows: 1. English reading comprehension of the whole passage among students given pre-questions, post questions and interspersed questions was not significantly different at .05 level. 2. English reading comprehension of the information asked by the study-guide questions among students given pre-questions, post questions and interspersed questions was not significantly different at .05 level. 3. English reading comprehension of the information not asked by the study-guide questions among students given re-questions, post questions and interspersed questions was not significantly different at .05 level. 4.English reading comprehension among students of high, average and low ability was significantly different at .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27283
ISBN: 9745637068
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suntaree_Wa_front.pdf535.89 kBAdobe PDFView/Open
Suntaree_Wa_ch1.pdf580.86 kBAdobe PDFView/Open
Suntaree_Wa_ch2.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Suntaree_Wa_ch3.pdf506.05 kBAdobe PDFView/Open
Suntaree_Wa_ch4.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Suntaree_Wa_ch5.pdf513.12 kBAdobe PDFView/Open
Suntaree_Wa_back.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.