Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27335
Title: การเปรียบเทียบความคิดเห็นด้านคุรุธรรมนิยมของครูประถมศึกษา กับนักศึกษาฝึกหัดครูปีสุดท้าย ในจังหวัดสงขลา
Other Titles: A comparison of elementary school teachers' and teacher training college seniors' opinions concerning Guru-Dhamaniyom in Shongkhla province
Authors: เสนีย์ มีทรัพย์
Advisors: สุมน อมรวิวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นด้านคุรุธรรมนิยมของครูประถมศึกษากับนักศึกษาฝึกหัดครูปีสุดท้าย ในจังหวัดสงขลา 2. เพื่อศึกษาเกณฑ์คุรุธรรมนิยมของครูประถมศึกษาจังหวัดสงขลา ใน 4 ด้านคือ ก. ด้านอุดมคติของครู ข. ด้านวิญญาณครู ค. ด้านคุณธรรมของครู ง. ด้านจริยธรรมของครู วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้สอบถามความคิดเห็นจากครูประถมศึกษาในจังหวัดสงขลาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) จำนวน 162 คน และนักศึกษาฝึกหัดครูปีสุดท้ายในวิทยาลัยครูสงขลา โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแยกประเภท เป็นนักศึกษาภาคปกติและภาคต่อเนื่อง ร้อยละ 10 จากจำนวนนักศึกษาฝึกหัดครูปีสุดท้ายทั้งสิ้น 1627 คน จำนวนที่สุ่มได้ 162 คน กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ตอบแบบสอบถามชุดเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วย 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับผู้ตอบ ตอนที่ 2 เป็นความคิดเห็นเกี่ยวกับคุรุธรรมนิยมด้านต่างๆ ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านอุดมคติวิญญาณครู ด้านคุณธรรมของครู และด้านจริยธรรมของครู แบบสอบถามเกี่ยวกับคุรุธรรมนิยมด้านต่าง ๆ นี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประเมินค่า ส่วนที่ 3 เป็นแบบสอบถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็นโดยเสรี วิธีวิเคราะห์ข้อมูล 1. ส่วนที่เป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบ เมื่อรวบรวมได้แล้วนำมาคิดเป็นร้อยละ 2. ส่วนที่เกี่ยวกับคุรุธรรมนิยมต่างๆ เมื่อรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาหาความถี่ของคะแนนและคำนวณหาค่าเฉลี่ย (X̅) หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของแต่ละข้อและเปรียบเทียบความคิดเห็นของทั้งสองกลุ่มด้วยค่าไคสแคว (X² ) 3. ส่วนที่เป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิด (ซึ่งเป็นความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ตอบ ได้รวบรวมและนำมาเขียนเป็นความเรียง สรุปผลการวิจัย จากการวิจัยพบว่า ครูประถมศึกษาและนักศึกษาฝึกหัดครู ปีสุดท้ายในจังหวัดสงขลา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุรุธรรมนิยมในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. ด้านอุดมคติของครู (Teacher’s Will ) พบว่าส่วนใหญ่ครูประถมศึกษาและนักศึกษาฝึกหัดครูมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 2. ด้านวิญญาณครู (Teacher’s Spirit) พบว่าส่วนใหญ่ความคิดเห็นของครูประถมศึกษาและนักศึกษาฝึกหัดครูไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 3. ด้านคุณธรรมของครู (Teacher’s Qualification) พบว่าส่วนใหญ่ความคิดเห็นของครูประถมศึกษากับนักศึกษาฝึกหัดครูต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 4. ด้านจริยธรรมของครู (Teacher’s Function) พบว่าส่วนใหญ่ความคิดเห็นของครูกับนักศึกษาฝึกหัดครูต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05
Other Abstract: Purposes: 1. To compare the elementary school teachers’ and teacher training college seniors’ opinions concerning Guru-Dhananiyom in Songkhla province. 2. To study the criteria of the elementary school teachers’ Guru-Dhamaniyom 4 areas 1. Teacher’s Will 2. Teacher’s Spirit 3. Teacher’s Qualification 4. Teacher’s Function Procedures: One hundred and sixty-two elementary school teachers in Songkhla Province were clusterly sampling. The other group of the respondents were 10 percent of Songkhla senior student teachers. The number of 162 were stratified random sampling pick-up from 1627 senior student teachers. The researcher constructed the questionnaire concerning Guru- Dhamaniyom into 3 parts. The first one were the status of the respondents. The second were the opinion concerning Guru-Dhamaniyom that were rating scales and the third were the open-ended questions. The collected data were analyzed by using percentage, mean (X̅) standard deviation (S.D.) and chi-square (X²) Major Findings: 1. Regarding to the Teacher’s Will, the most of the respondents, both teacher and students, have the same point of view at statically significant. 05 2. Regarding to the Teacher’s Spirit, the most of the respondents, both teachers and students, have the same point of view at statically significant. 05 3. Regarding to the Teacher’s Qualification, the most of the respondents. Both teachers and students. Have different point of view at statically significant.05 4. Regarding to the Teacher’s Function, the most of the respondents, both teachers and students, have different point of view at statically significant.05
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27335
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Senee_Me_front.pdf429.44 kBAdobe PDFView/Open
Senee_Me_ch1.pdf590.34 kBAdobe PDFView/Open
Senee_Me_ch2.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Senee_Me_ch3.pdf363.53 kBAdobe PDFView/Open
Senee_Me_ch4.pdf640.36 kBAdobe PDFView/Open
Senee_Me_ch5.pdf815.37 kBAdobe PDFView/Open
Senee_Me_back.pdf662.45 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.