Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27342
Title: การเปรียบเทียบผลการสอนวิชาหลักการสอน หน่วย "โรงเรียนประถมศึกษา" โดยวิธีกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์และวิธีการสอนแบบธรรมดา ในชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา
Other Titles: A comparison of the results of teaching a principle of teaching course on "The Elementary Schools Unit" through the group process method and the conventional method at the lower certificate of education level
Authors: เสริมศิริ เมนะเศวต
Advisors: ทิศนา แขมมณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการสอนวิชาหลักการสอนหน่วย “โรงเรียนประถมศึกษา” โดยวิธีกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์และวิธีธรรมดาในด้านพัฒนาการของสัมฤทธิผลทางการเรียนและทักษะและทัศนคติการทำงานกลุ่มของนักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา สมมติฐานของการวิจัย เมื่อสอนวิชาหลักการสอนด้วยวิธีกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์แล้วนักศึกษาจะมีพัฒนาการด้านสัมฤทธิผลทางการเรียนและมีพัฒนาการด้านทักษะและทัศนคติ การทำงานกลุ่มสูงขึ้นกว่านักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบธรรมดา วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาทฤษฎีและวิธีการเรียนการสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ และได้สร้างหน่วยการสอนวิชาหลักการสอนเรื่อง “โรงเรียนประถมศึกษา” ขึ้น ผู้วิจัยได้นำหน่วยการสอนนี้ไปทดลองสอนกับตัวอย่างประชากรคือ นักศึกษาชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาปีที่ 2 วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ซึ่งได้แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้เกณฑ์เพศและสัมฤทธิผลทางการเรียนเหมือนกันเป็นคู่ๆ ผู้วิจัยใช้วิธีสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์กับกลุ่มทดลองและใช้วิธีสอนแบบธรรมดากับกลุ่มควบคุม ผู้วิจัยใช้แบบวัดผล 3 ชุด คือ แบบสอบสัมฤทธิผลทางการเรียน แบบวัดทักษะและทัศนคติการทำงานกลุ่ม และแบบสอบถามความรู้สึกต่อการเรียนด้วยวิธีกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ แบบวัดผลทั้ง 3 ชุดนี้ ผู้วิจัยได้นำมาหาค่าความเที่ยงกับกลุ่มตัวอย่างประชากร และใช้ทดสอบนักศึกษา 3 ครั้ง คือ ก่อนเรียน หลังเรียน และหลังเรียน 1 เดือน และรวบรวมข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ต่อไป ผลการวิจัย ด้านสัมฤทธิผลทางการเรียนวิชาหลักการสอน 1. เมื่อเรียนแล้วทั้งกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์และกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบตามธรรมดา ต่างก็มีพัฒนาการขึ้นที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 2. หลังจากที่เรียนแล้วทั้ง 2 กลุ่ม มีสัมฤทธิผลไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 3. ผลการทดสอบครั้งที่ 2 หลังจากทดสอบครั้งแรกไปแล้ว 1 เดือน ไม่แตกต่างกัน 4. หลังจากการเรียนแล้ว 1 เดือน ปรากฏว่าคะแนนเฉลี่ยในการสอบครั้งที่ 2 หลังเรียนลดลงทั้งสองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ด้านทักษะและทัศนคติการทำงานกลุ่ม 1. จะเห็นว่าผลการทดสอบก่อนเรียนและสอบครั้งที่ 1 หลังเรียนของกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน แต่ของกลุ่มทดลองแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 แสดงว่าเรียนโดยวิธีการสอนแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ช่วยทำให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะและทัศนคติการทำงานกลุ่มได้ดีขึ้น แต่เรียนโดยวิธีสอนแบบธรรมกาไม่มีการเปลี่ยนแปลง 2. หลังจากที่เรียนแล้ว ทั้งสองกลุ่มมีทักษะและทัศนคติการทำงานกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3. เมื่อการเรียนผ่านไปแล้ว 1 เดือน ทักษะและทัศนคติการทำงานกลุ่มของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 4. ผลการทดสอบครั้งที่ 2 ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองซึ่งห่างจากครั้งที่ 1 เป็นเวลา 1 เดือน ปรากฏว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
Other Abstract: Purposes: The purpose of this study was to compare the students’ achievements and the students’ group work skills and attitudes resulting from learning a Principle of Teaching Course on “The Elementary Schools Unit” Through the Croup Peocess Method and the Conventional Method at the Lower Certificate of Education Level. Procedure: First, the researcher studies the group Process theory and then designed a teaching unit on “The Elementary Schools”. This unit was taught in two different methods. The Conventional Method was used in teaching the control group and the Group Process Method was used in teaching the Experimental group. The sample population which were used as the control group and the experimental group were 56 students at the Lower Certificate of Education Level of Petchaburi Wittayalongkorn Teachers’ College. They were matched by pair. The researcher used three sets of measuring instruments; the achievement test, the skills and attitudes assessment scales, and the questionnaire. All of those instruments were tested for their reliability with the sample population. The researcher taught the designed unit in both groups and administered pre-tests and post-tests. Then one month after the first post-test, the researcher administered the second post-test and collected data for further analysis. Results: The analysis of the data shows that there was no significant difference between the scores obtained from the students learning the designed unit by the Group Process Method and the Conventional Method. Concerning the group work skills and attitudes, there was significant difference at the level of .01 between the scores obtained from the students in both groups, the experimental group scores were higher than the control group scores. This analysis shows that both methods of teaching, whether it’s the conventional Method or the Group Process Method, Produced the same results concerning the students’ achievements. But the Group Process Method could help students develop better group work skills and attitudes more than the Conventional Method did.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27342
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sermsiri_Me_front.pdf492.16 kBAdobe PDFView/Open
Sermsiri_Me_ch1.pdf847.39 kBAdobe PDFView/Open
Sermsiri_Me_ch2.pdf588 kBAdobe PDFView/Open
Sermsiri_Me_ch3.pdf474.29 kBAdobe PDFView/Open
Sermsiri_Me_ch4.pdf387.85 kBAdobe PDFView/Open
Sermsiri_Me_ch5.pdf410.77 kBAdobe PDFView/Open
Sermsiri_Me_back.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.