Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27420
Title: | ความพึงพอใจในงานของผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลจิตเวช ในประเทศไทย |
Other Titles: | Job satisfaction of practical nurses in psychiatric hospitals in Thailand |
Authors: | สุวรรณา สุวรรณผล |
Advisors: | พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2520 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาวะความเป็นอยู่ของผู้ช่วยพยาบาล ภูมิหลังสถานภาพ ความปรารถนาที่จะได้รับการอบรมเกี่ยวกับจิตเวชเพิ่มเติม ศึกษาระดับความพึงพอใจในงานของผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวช และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ช่วยพยาบาล ที่มีเพศ อายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ต่างกัน และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวชในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้ช่วยพยาบาลชายและหญิง จำนวน 184 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิมาจากผู้ช่วยพยาบาล ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวชในส่วนกลาง 4 แห่ง และส่วนภูมิ4แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มี 2 ภาคแบบอัตราส่วนให้ค่า นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เป็นรายบุคคล รายข้อและรายด้าน โดยคำนวณหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าร้อยละของจำนวนผู้ช่วยพยาบาลที่มีความพึงพอใจในระดับต่างๆ ในแต่ละด้าน ทดสอบความมีนัยสำคัญของสัดส่วนด้วยการทดสอบค่า (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ผู้ช่วยพยาบาลส่วนใหญ่มีภาวะสมรสคู่ พักอาศัยในห้องพักที่โรงพยาบาลจัดให้ เงินเดือนไม่เกิน 1,500 บาท ผู้ช่วยพยาบาลส่วนใหญ่มีอายุ 31 ปีขึ้นไป มีระยะเวลาการปฏิบัติงานน้อยกว่า 5 ปี และผู้ช่วยพยาบาลร้อยละ 93.48ปรารถนาที่จะได้รับการอบรมเกี่ยวกับจิตเวชเพิ่มเติม 2. ผู้ช่วยพยาบาลโดยส่วนรวมมีความพึงพอใจในหน่วยงานและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในเชิงปฏิฐาน สนับสนุนโดยการทดสอบสัดส่วนและจัดอยู่ในระดับกลางส่วนความพึงพอใจในลักษณะงาน และสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นไปในเชิงนิเสธ และอยู่ในระดับต่ำ จึงไม่สนองสมมติฐานของการวิจัยนี้ที่ว่าความพึงพอใจในงานของผู้ช่วยพยาบาลในแต่ละด้านเป็นไปในเชิงปฏิฐาน 3. ผู้ช่วยพยาบาลทั้งชายและหญิงมีความพึงพอใจในหน่วยงาน และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอยู่ในระดับกลาง และพึงพอใจในลักษณะงานและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับต่ำ ผู้ช่วยพยาบาลชายมีความพึงพอใจในงานสูงกว่าผู้ช่วยพยาบาลหญิง ทุกด้านและแตกต่างจากผู้ช่วยพยาบาลหญิงมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 เฉพาะด้านความพึงพอใจในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จึงไม่สนองสมมติฐานของการวิจัยนี้ที่ว่าความพึงพอใจในงานของผู้ช่วยพยาบาลชายและหญิงที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจิตเวชในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค แตกต่างกันทุกด้าน 4. ผู้ช่วยพยาบาลในส่วนภูมิภาคมีความพึงพอใจในลักษณะงานอยู่ในระดับต่ำและผู้ช่วยพยาบาลในส่วนกลางมีความพึงพอใจในสิ่งแวดล้อมอยู่ในระต่ำ ส่วนความพึงพอใจในด้านอื่นๆทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ผู้ช่วยพยาบาลในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมีความพึงพอใจในงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพียงสองด้าน คือ ด้านลักษณะงาน และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จึงไม่สนองสมมติฐานของการวิจัยนี้ที่ว่า ผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจิตเวชในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีความพึงพอใจในงานแตกต่างกันทุกด้าน 5. ผู้ช่วยพยาบาลทุกลุ่มอายุมีความพึงพอใจในหน่วยงานและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง และมีความพึงพอใจในลักษณะงานและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับต่ำ ผู้ช่วยพยาบาลกลุ่มที่มีอายุสูงมีความพึงพอใจในงานสูงกว่ากลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า ตามลำดับทุกด้าน และผู้ช่วยพยาบาลทุกกลุ่มอายุมีความพึงพอใจในงาน จึงสนองสมมติฐานของการวิจัยนี้ที่ว่า ผู้ช่วยพยาบาลที่มีอายุต่างกันมีความพึงพอใจในงานไม่แตกต่างกันทุกด้าน 6. ผู้ช่วยพยาบาลที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานแตกต่างกันมีความพึงพอใจในหน่วยงาน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอยู่ในระดับกลางและมีความพึงพอใจในงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05เฉพาะด้านความพึงพอใจในหน่วยงาน และลักษณะงาน จึงไม่สนองสมมติฐานของการวิจัยนี้ที่ว่าระยะเวลาในการปฏิบัติงานทีแตกต่งกันไม่มีส่วนทำให้ความพึงพอใจในงานของผู้ช่วยพยาบาลแตกต่างกันทุกด้าน 7. ความพึงพอใจในงานของผู้ช่วยพยาบาลที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างกันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ในด้านหน่วยงานและลักษณะงานนั้น เมื่อพิจารณาจากระยะเวลาที่ผู้ช่วยพยาบาลแต่ละกลุ่มปฏิบัติงาน คือ 11 ปีขึ้นไป 6 – 10 ปีและต่ำกว่า 5 ปีนั้น พบว่า ผู้ช่วยพยาบาลที่ปฏิบัติงานนานมีระดับความพึงพอใจสูงกว่าผู้ที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่ำกว่า ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความเคยชินต่อสถานที่ทำงานการบริหารและสิ่งแวดล้อมอื่นๆรวมทั้งผู้ร่วมงานด้วย |
Other Abstract: | This research was designed to study : (1) the Psychiatric practical nurses’ backgrounds, statuses, living conditions and the desire to increasing psychiatric training, (2) the level of psychiatric practical nurses’ job satisfaction, (3) the job satisfaction among psychiatric practical nurses between sex, group of ages, various groups of experiences, and group of practical nurses working in central and regional psychiatric hospitals. The sample of this research selectes by stratified random sampling 184 male and female practical nurses working in 4 central psychiatric hospitals and 4 regional psychiatric hospitals. The rating scale questionnaire developed by the researcher was conducted the pretest for content validity. The data were analyzed in an individual sample, each item and each area of job satisfaction by using various statistical methods, such as the percentage, proportional test, t-test and analysis of variance by using F-test. The major finding are as follows: 1. Most of respondents were married, living in hospital’s dormitories, having the salary more than 1,500 bath, being over 31 years of age, having experiencing less than 5 years in psychiatric hospitals and 93.48 percents desired to obtain psychiatric training. 2. Psychiatric practical nurses’ job satisfaction in the areas of organization and interpersonal relationship were in positive supported by proportional test and be considered in middle level of satisfaction, so the hypothesis of this study was rejected. The statement of this hypothesis in “psychiatric practical nurses’ job satisfaction is positive in all areas of satisfaction.” 3. Job satisfaction of male and female psychiatric practical nurses in the area of organization and interpersonal relationship were in the middle level of satisfaction, and in the low level for the area of performed tasks and environments. Male practical nurses had a higher level of satisfaction than the female and the t-test indicates statistically significant difference at the p.< .05 level in the area of interpersonal relationship only, so the hypothesis of this study was rejected. The statement of this hypothesis is “ there is the difference in all areas of job satisfaction of male and female psychiatric practical nurses.” 4. Not only regional practical nurses showed low level of satisfaction in the area of performed tasks but also central practical nurses in the area of environments and others were in the middle level. The comparison between central and regional practical nurses with the t-test indicated statistically significant difference at the p. < .05 level in performed tasks and interpersonal relationship, so the hypothesis of this study was rejected. The statement of this hypothesis is “ there is the difference in central and regional psychiatric practical nurses job satisfaction in all areas.” 5. The psychiatric practical nurses in various groups of ages showed the middle level of satisfaction in the area of organization and interpersonal relationship but the area of performed task and environments were in the low level. There more years of age had higher in job satisfaction accordingly. F-test indicated no statistically significant difference at the p. < .05 level in all areas of satisfaction of psychiatric practical nurses in various groups of ages, so the hypothesis of this study was accepted. The statement of this hypothesis is “there is no difference in all areas of satisfaction of psychiatric practical nurses in various groups of ages” 6. The psychiatric practical nurses in various groups of experiences showed the middle level of satisfaction in the area of organization and interpersonal relationship: F-test indicated statistically significant difference at the p. < .05 level in psychiatric practical nursed’ satisfaction in various groups of experiences for the areas of organization and performed tasks, so the hypothesis of this study was rejected. The statement of this hypothesis is “ there is no difference psychiatric practical nurses’ satisfaction in various groups of experience”. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27420 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suwanna_Su_front.pdf | 586.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwanna_Su_ch1.pdf | 788.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwanna_Su_ch2.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwanna_Su_ch3.pdf | 548.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwanna_Su_ch4.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwanna_Su_ch5.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwanna_Su_back.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.