Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27574
Title: การสำรวจแนวบทบาทนักศึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษา ในวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
Other Titles: A survey of student role orientations as perceived by students in the Institute of Technology and Vocational Education
Authors: อรนพ นวกิจบำรุง
Advisors: พรชลี อาชวอำรุง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อสำรวจแนวบทบาทนักศึกษาตามการรับรู้ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบแนวบทบาทนักศึกษา โดยจำแนกตามเพศระดับการศึกษา ประเภทวิชา สถานที่พักอาศัย และภูมิลำเนาเดิม วิธีดำเนินการวิจัย 1. การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research Method) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากกนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตร 2 ปี และระดับปริญญาตรีหลักสูตร 2 ปี ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2528 และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นพวกหรือชั้น (Stratified Random Sampling) ตามระดับการศึกษาและประเภทวิชาเป็นเกณฑ์ ได้กลุ่มตัวอย่าง 759 คน แจกแบบสอบถามไปตามวิทยาเขต และคณะในสังกัดวิทยาลัยฯ และได้รับตอบคืนมา 727 คิดเป็นร้อยละ 95.78 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองจากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับลักษณะของนักศึกษา ประเภทของนักศึกษา วัฒนธรรมย่อยของนักศึกษา และแนวบทบาทนักศึกษา แล้วนำมาประมวลเป็นแนวบทบาทนักศึกษาที่สามารถครอบคลุมลักษณะของนักศึกษาไทย 8 แนวบทบาท จากนั้นจึงนำมาสร้างเป็นข้อกระทงให้สอดคล้องกับพฤติกรรม และสภาพแวดล้อมของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 3. การวิเคราะห์ข้อมูล ได้นำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของนักศึกษาด้วยการแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับแนวบทบาทนักศึกษาใช้วิธีการหาค่าคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ตามแนวบทบาทนักศึกษาด้วยค่าสถิติที – เทสต์ (t – test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวด้วยค่าสถิติ เอฟ – เทสต์ (F – test) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของเซฟเฟ่ (Scheffe) สรุปผลการวิจัย 1. นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา มีการรับรู้ตามแนวบทบาทในการฝึกฝนเพื่อการประกอบอาชีพสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ แนวบทบาทในการพัฒนาสังคมและมีการรับรู้ตามแนวบทบาทที่ทำพอเป็นพิธีต่ำที่สุด 2. การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ตามแนวบทบาทนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประเภทวิชา สถานที่พักอาศัย และภูมิลำเนาเดิม มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ 2.1 แนวบทบาททางวิชาการและการเป็นนักศึกษา พบว่า นักศึกษาชายมีการรับรู้ตามแนวบทบาทสูงกว่านักศึกษาหญิง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คือ นักศึกษาประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมมีการรับรู้ตามแนวบทบาทสูงกว่านักศึกษาประเภทวิชาอื่น ๆ และนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคใต้มีการรับรู้ตามแนวบทบาทสูงกว่านักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลาง 2.2 แนวบทบาทในการใช้สติปัญญา พบว่า นักศึกษาชายมีการรับรู้ตามแนวบทบาทสูงกว่านักศึกษาหญิง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 นักศึกษาประเภทวิชาศิลปกรรมมีการับรู้ตามแนวบทบาทสูงกว่านักศึกษาประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม และนักศึกษาประเภทวิชาบริหารธุรกิจ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2.3 แนวบทบาทในการใช้ชีวิตในสถาบันอุดมศึกษาอย่างเต็มที่ พบว่านักศึกษาที่มีเพศ ระดับการศึกษา ประเภทวิชา ลักษณะสถานที่พักอาศัย และภูมิลำเนาต่างกัน มีการรับรู้ตามแนวบทบาทไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.4 แนวบทบาทในการนำประสบการณ์จากการทำกิจกรรมในสถาบันไปใช้ให้เป็นประโยชน์ พบว่า นักศึกษาชายมีการรับรู้ตามแนวบทบาทสูงกว่านักศึกษาหญิงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คือ นักศึกษาประเภทวิชาเกษตรกรรมมีการรับรู้ตามแนวบทบาทสูงกว่านักศึกษาประเภทวิชาอื่น ๆ นักศึกษาที่พักอาศัยอยู่หอพักเอกชนหรือบ้านเช่ามีการรับรู้ตามแนวบทบาทสูงกว่านักศึกษาที่พักอยู่บ้านบิดามารดาหรือผู้ปกครอง และนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคใต้ มีการรับรู้ตามแนวบทบาทสูงกว่านักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลาง 2.5 แนวบทบาทในการฝึกฝนเพื่อการประกอบอาชีพ พบว่า นักศึกษาประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมมีการรับรู้ตามแนวบทบาทสูงกว่านักศึกษาประเภทวิชาบริหารธุรกิจ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2.6 แนวบทบาทในการพัฒนาสังคม พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คือ นักศึกษาประเภทวิชาเกษตรกรรมมีการรับรู้ตามแนวบทบาทสูงกว่านักศึกษาประเภทวิชาอื่น ๆ นักศึกษาที่พักอาศัยอยู่หอพักเอกชนหรือบ้านเช่า พักอยู่สถานที่อื่น ๆ และพักอยู่หอพักวิทยาลัยมีการรับรู้ตามแนวบทบาทสูงกว่านักศึกษาที่พักอยู่บ้านบิดามารดาหรือผู้ปกครอง และนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ มีการรับรู้ตามแนวบทบาทสูงกว่านักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลาง 2.7 แนวบทบาททีทำพอเป็นพิธี พบว่า นักศึกษาที่มีเพศ ระดับการศึกษาประเภทวิชา ลักษณะสถานที่พักอาศัย และภูมิลำเนาเดิมต่างกัน มีการรับรู้ตามแนวบทบาทไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.8 แนวบทบาทนักรณรงค์ทางการเมือง พบว่า นักศึกษาชายมีการรับรู้ตามแนวบทบาทสูงกว่านักศึกษาหญิง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คือ นักศึกษาประเภทวิชาเกษตรกรรมมีการรับรู้ตามแนวบทบาทสูงกว่านักศึกษาประเภทวิชาอื่น ๆ นักศึกษาที่พักอยู่สถานที่อื่น ๆ และพักอยู่หอพักเอกชน หรือบ้านเช่ามีการรับรู้ตามแนวบทบาทสูงกว่านักศึกษาที่พักอยู่บ้านบิดามารดาหรือผู้ปกครองและนักศึกษาที่ภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ มีการรับรู้ตามแนวบทบาทสูงกว่านักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลาง ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัย ผู้วิจัยได้เสนอแนะว่าวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาควรจัดสภาพแวดล้อม ทั้งในด้านหลักสูตร การเรียนการสอน การให้บริการ ตลอดจนการจัดกิจกรรมนักศึกษาให้สอดคล้องกับแนวบทบาทนักศึกษา เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้พัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีความพร้อมทางด้านชีพ สติปัญญา ความรู้ และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป
Other Abstract: The primary purpose of the study was to survey the student role orientations and to compare such role orientations among students differing in sex, educational levels, fields of study, residences and domiciles. Methodology 1. A survey method of descriptive research design was used. With stratified random sampling technique, seven-hundred-fifty-nine selected from the higher vocational diploma and the graduate students in the first semester of the academic year 1985, from various educational levels and fields of study served as samples. Questionnaires were distributed in campus and faculties, seven-hundred-twenty-seven (95.78 percent) of the questionnaires were returned. 2. The instrument used in the study was the questionnaires adapted from the theories and prior research on student characteristics, types of students, student subcultures and student role orientations. The instrument contains the characteristics of Thai students, 8 role orientations, and the unique environment of the Institute of Technology and Vocational Education’s students. Rating scale with 5 scales and 48 questions made up the questionnaires. 3. Data were analyzed by using frequency and percentage analysis of the opinions of role orientations by using means, standard deviation, t –test and F – test. Scheffe’s Method was used to test differences by pairs. Conclusions The results of the study are as follows: 1. The students of the Institute of Technology and Vocational Education had the highest average score in the General Vocational Role Orientation, followed by the Social Development Role Orientation. The lowest average score was the Ritualistic Role Orientation. 2. The comparative study highlights divided by sex, educational levels, fields of study, residences and domiciles are as follows: 2.1 Academic and Scholarly Role Orientation indicated that male students ranked higher than female students at .01 level. In other variables, there were significant differences at .05 level as follows : The students from Technological field ranked higher than the students from the other vocational fields. Students from the Southern part ranked higher than students from the Central region. 2.2 Regarding Intellectual Role Orientation male students ranked higher than female students at .01 level. The students from Fine Arts ranked higher than students from Technological fields and students from Business Administraion field at .05 level. 2.3 Consummatory Collegiate Role Orientation was not found to be significantly different among students differing in sex, educational levels, fields of study, residences and domiciles. 2.4 Regarding Instrumental Collegiate Role Orientation male students ranked higher than female students at .01 level. As for other variables, there were significant differences at .05 level as follows: The students from Agricultural field ranked higher than students from the other fields. The students staying in dormitories or rented houses ranked higher than those living with parents or guardians. Students from the South ranked higher than students from the Central region. 2.5 Regarding General Vocational Role Orientation, the students from Technological field ranked higher than students from Business Administration field at .05 level. 2.6 Social Development Role Orientation was found to have a significant difference at .05 level as follows: The students from Agricultural field ranked higher than students from other fields. The students staying in dormitories or rented houses, students living in other places and students staying in institute’s dormitories ranked higher than those living with parents or guardians. Students from the North and Northeast and the South ranked higher than students from the Central region. 2.7 As for Ritualistic Role Orientation no significant difference was found among the students differing in sex, educational levels, fields of study, residences and domiciles. 2.8 Regarding Political Activist Role Orientation male students ranked higher than female students at .01 level. Significant differences at .05 level were found as follows: Students from Agricultural field ranked higher than students from the other fields. Students living in other places and student staying in dormitories or rented houses ranked higher than students living with parents or guardians. Students from the Northeast and students from the South ranked higher than students from the Central region. Recommendations It is suggested that the Institute of Technology and Vocational Education should provide environments appropriate for curricula, teaching-learning activities, services as well as management of student activities, so as to promote the students’ ability to develop themselves to fit in certain occupations, intelligence, knowledge, abilities and encourage creativities necessary for innovations and to become logically sound individuals.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27574
ISBN: 9745662828
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oranop_Na_front.pdf790.88 kBAdobe PDFView/Open
Oranop_Na_ch1.pdf532.43 kBAdobe PDFView/Open
Oranop_Na_ch2.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Oranop_Na_ch3.pdf485.72 kBAdobe PDFView/Open
Oranop_Na_ch4.pdf812.71 kBAdobe PDFView/Open
Oranop_Na_ch5.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open
Oranop_Na_back.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.