Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27662
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และเจตคติของผู้ปกครองเกี่ยวกับหลักสูตร กับการส่งเสริมการเรียนให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ |
Other Titles: | The relationships between parents' knowledge and attitude towards curriculum and their supports in the learning of prathom suksa six sstudents in schools under the jurisdiction of the Office Nakhon Sawan provincial primary Education |
Authors: | อนงค์ หงสา |
Advisors: | วรรณี ศิริโชติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 2. เพื่อศึกษาเจตคติของผู้ปกครองเกี่ยวกับหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 3. เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครองที่มีต่อนักเรียน 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และเจคติของผู้ปกครอเกี่ยวกับหลักสูตรกับการส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครองที่มีต่อนักเรียน สมมติฐานของการวิจัย ความรู้และเจคคติของผู้ปกครองเกี่ยวกับหลักสูตรกับการส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครองที่มีต่อนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความสัมพันธ์กันในทางบวก วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชาการที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2528 จำนวน 530 คน นอกจากนี้มีตัวอย่างประชากร คือ นักเรียนและครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนกลุ่มละ 40 คนซึ่งผู้วิจัยนำข้อมูลจากตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่มนี้มาใช้ประกอบการอภิปรายผล การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้ตัวอย่างประชากร รวมทั้งสิ้น 610 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 3 ชุด ชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามสำหรับผู้ปกครอง ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามสำหรับนักเรียน และชุดที่ 3 เป็นแบบสอบถามสำหรับครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กับแบบพหุคูณ และวิเคราะห์ควารแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของผู้ปกครองทั้งหมดเกี่ยวกับหลักสูตรอยู่ในระดับน้อย 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนเจคคติของผู้ปกครองทั้งหมดเกี่ยวกับหลักสูตรอยู่ในระดับปานกลาง 3. ค่าเฉลี่ยคะแนนการส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครองทั้งหมดอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาการส่งเสริมการเรียนเป็นกลุ่มประสบการณ์ ผู้ปกครองส่งเสริมการเรียนระดับปานกลางในภาษาไทย กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพและการส่งเสริมการเรียนโดยทั่วไป ส่วนการส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ ผู้ปกครองได้ส่งเสริมการเรียนอยู่ในระดับน้อย เมื่อผู้วิจัยตรวจสอบในเรื่องส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครองที่มีต่อนักเรียนโดยสอบถามนักเรียนและครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการส่งเสริมการเรียนตามความคิดเห็นของนักเรียนและครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กับคาเฉลี่ยคะแนนการส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครองที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นไม่แตกต่างกันทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าข้อมูลในการส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครองน่าเชื่อถือมากขึ้น 4. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และเจตคติของผู้ปกครองเกี่ยวกับหลักสูตรกับการส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครองที่มีต่อนักเรียนไม่มีความสัมพันธ์กันทางสถิติ แสดงว่า ความรู้และเจตคติของผู้ปกครองเกี่ยวกับหลักสูตรไม่มีผลต่อการส่งเสริมการเรียน 5. ปัญหาของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนที่สำคัญประการหนึ่ง การส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ ประการที่สอง การกระตุ้นให้นักเรียนศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ประการที่สาม เวลาในการส่งเสริมการเรียนให้แก่นักเรียน ประการที่สี่ ความรู้ความเข้าใจในบทบาทของผู้ปกครองที่จะส่งเสริมการเรียนให้แก่นักเรียน ฯลฯ 6. ความต้องการของผู้ปกครองในการรับทราบเรื่องหลักสูตร อันดับที่หนึ่ง รายละเอียดของเนื้อหาวิชาในแต่ละกลุ่มประสบการณ์ โดยเฉพาะคณิตศาสตร์และภาษาไทย อันดับที่สอง บทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนให้แก่นักเรียน ฯลฯ |
Other Abstract: | Purposes of Research : The purposes of this research were as follows :- 1. To study the parents’ knowledge in the Elementary School Curriculum B.E. 251. 2. To study the parents’ attitude towards the Elementary School Curriculum B.E. 2521. 3. To study situation of parents’ supports their students in learning. 4. To study the relationships between parents’ knowledge and attitude towards curriculum and their supports the students in learning. Hypothesis of Research The relationships between parents’ knowledge and attitude towards curriculum and their supports in learning for Prathom Suksa six students were positive correlation. Procedures of Research : The sample for this research was selected by using multi-stage sampling. The sample were 530 parents of the students who studied in Prathom Suksa six in Elementary schools under the jurisdiction of the office of Nakhon Sawan Provinical Primary Education, second semester academic year 1985. Besides, the samples were 40 Prathom suksa Six students and 40 teachers who taught in Prathom Suksa Six which the researcher used the data obtained from the aftermentioned samples for discussion. The total number of the sample was 610 persons. The researcher constructed three research instruments. The first instrument was the questionnaire for the parents, the second instrument was the questionnaire for the students and the third instrument was the questionnaire for the teachers who taught in Prathom Suksa Six. The statistics used in this study were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment correlation, Stepwise Multiple Regression and One-Way Analysis of Variance. Results of Research The major findings were as follows:- 1. Mean of the parents’ knowledge in Curriculum was at the low level. 2. Mean of the parents’ attitude towards Curriculum was at the average level. 3. Mean of the parents’ supports for students was at the average level. The parents’ supports were at the average level as follows: Thai, the Area of Life Experiences, the Area of Character Development, the Area of Work-Oriented Experiences and general supports. Furthermore it was found that the level of the parents’ supports in mathematics and English were low. The researcher checked parents’ supports in learning from the students and the teachers. It was found that mean of the parents’ supports from the two groups were not significantly different from the parents. It showed that the result of this study from the parents was statistically reliable. 4. The parents’ knowledge, attitude towards curriculum and supports for the students in learning has no significant relationships among them. 5. Parents’ problems about their supports for the students were arranged in order, according to their importance as follows: 5.1 In learning Mathematics. 5.2 In encouraging their students to be active in searching for their studies continually. 5.3 In sparing enough time to pay attention to their students’ learning. 5.4 In their own roles to support their students’ learning. 6. The parents’ requirement in this study were : Elementary School Curriculum B.E.2521 in the contents of Mathematics and Thai. and their roles to support their students. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27662 |
ISBN: | 9745662003 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anong_Ho_front.pdf | 433.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_Ho_ch1.pdf | 475.33 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_Ho_ch2.pdf | 984.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_Ho_ch3.pdf | 570.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_Ho_ch4.pdf | 979.6 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_Ho_ch5.pdf | 623.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_Ho_back.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.