Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27754
Title: | ผลของการใช้การควบคุมสิ่งเร้าในการเพิ่มพฤติกรรมตั้งใจเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 |
Other Titles: | An effect of using stimulus control in increasing attentive behavior of mathayom suksa two students |
Authors: | อรสา ไทยการุณวงศ์ |
Advisors: | สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้การควบคุมสิ่งเร้าในการเพิ่มพฤติกรรมตั้งใจเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 คนสุ่มเป็นกลุ่มทดลอง 5 คน กลุ่มควบคุม 5 คน การทดลองแบ่งเป็น 3 ระยะ โดยใช้การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนการทดลอง หลังการทดลองและติดตามผล โดยระยะที่ 1 เป็นระยะข้อมูลเส้นฐาน ระยะที่สองเป็นระยะที่กลุ่มทดลองใช้กระบวนการควบคุมสิ่งเร้าหลังจากที่ได้รับการฝึก ระยะสุดท้ายเป็นระยะติดตามผล การทดลองทำในชั่วโมงคณิตศาสตร์ สัปดาห์ละ 4 ครั้ง การรวบรวมข้อมูลทำโดยบันทึกพฤติกรรมตั้งใจเรียนของนักเรียนด้วยวิธีการบันทึกแบบช่วงเวลา ครั้งละ 60 ช่วง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม 2 ทางแบบวัดซ้ำ แล้วทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีทดสอบแบบตูกี ผลการวิจัยพบว่านักเรียนกลุ่มที่ใช้การควบคุมสิ่งเร้าสามารถเพิ่มพฤติกรรมตั้งใจเรียนได้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study an effect of using stimulus control in increasing attentive behavior of mathayom suksa two students. The subjects were ten students, from Yannawate Wittayakom School, Bangkok. All of them were randomly assigned to the experimental and the control groups. The ABF control group design was used in this study which A is a Baseline phase, B is a stimulus control phase and F is a follow-up phase. The study had been experimented four time a week during Arithmetic period. The data of attentive behavior were collected by using interval recording which each period contained sixty intervals. The analysis of data was done through two-way analysis of variance with repeated measures. The Tukey's (a) test Were\used to pairwise comparisons. The results showed that there was statistically significant difference in increasing students‘ attentive behavior of the group that practicing stimulus control and the control group at .01 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27754 |
ISBN: | 9745644129 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Aurasa_Th_front.pdf | 361.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aurasa_Th_ch1.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aurasa_Th_ch2.pdf | 499.46 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aurasa_Th_ch3.pdf | 470.53 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aurasa_Th_ch4.pdf | 387.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aurasa_Th_ch5.pdf | 274.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aurasa_Th_back.pdf | 612.82 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.