Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28132
Title: การเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางจริยธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย แบบปล่อยปละละเลย และแบบให้ความคุ้มครองมากเกินไป
Other Titles: A comparison of moral concepts of prathom suksa three student by kinds of upbringing, democratic, neglecting and over-protection
Authors: รัตนา ฉากฉลัก
Advisors: สำลี ทองธิว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย แบบปล่อยปละละเลย และแบบให้ความคุ้มครองมากเกินไป 2. เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำแนกตามระดับการศึกษาของผู้ปกครอง วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2528 ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 389 คน และผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มนี้ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบมโนทัศน์ทางจริยธรรมและแบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ( One-way Analysis of Variance) และทดสอบด้วยค่าเอฟ ( F-test) สรุปผลการวิจัย 1. เมื่อแยกวิเคราะห์มโนทัศน์ทางจริยธรรมออกเป็นด้านๆ 8 ด้านตามลักษณะการอบรมเลี้ยงดู 3 แบบ ไม่พบความแตกต่างในมโนทัศน์ทางจริยธรรม 7 ด้านคือ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความมีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลา ด้านความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ด้านความเมตตากรุณา ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความมีน้ำใจเป็นธรรมไม่ลำเอียง และด้านความอดทนอดกลั้น มีเพียงด้านเดียวเท่านั้นคือมโนทัศน์ทางจริยธรรมด้านความไม่เห็นแก่ตัวของนักเรียน ซึ่งนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยมีมโนทัศน์ทางจริยธรรมด้านความไม่เห็นแก่ตัวสูงกว่านักเรียนที่ผู้ปกครองให้การอบรมเลี้ยงดูแบบคุ้มครองมากเกินไปอย่างมีนัยสำคัญ ณ ระดับ .05 2. เมื่อแยกวิเคราะห์มโนทัศน์ทางจริยธรรมออกเป็นด้านๆ 8 ด้าน ตามระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ไม่พบความแตกต่างในมโนทัศน์ทางจริยธรรม 6 ด้านคือ ด้านความรับผิดชอบ ด้านความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ ด้านความเมตตากรุณา ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความมีน้ำใจเป็นธรรมไม่ลำเอียง และด้านความอดทนอดกลั้น มีเพียง 2 ด้านคือ ด้านความมีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลา ที่นักเรียนที่มีผู้ปกครองมีการศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น มีมโนทัศน์ทางจริยธรรมด้านความมีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลาสูงกว่านักเรียนที่มีปกครองมีการศึกษาระดับประถมศึกษา และด้านความไม่เห็นแก่ตัว นักเรียนที่ผู้ปกครองมีการศึกษาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีมโนทัศน์ทางจริยธรรมด้านความไม่เห็นแก่ตัวสูงกว่ามโนทัศน์ทางจริยธรรมของนักเรียนที่ผู้ปกครองมีการศึกษาระดับประถมศึกษาที่ระดับ .05
Other Abstract: Purposes 1. To compare the moral concepts of Prathom Suksa Treee student by three kinds of upbringing: democratic, neglecting and over-protection students. 2. To compare the moral concepts of Prathom Suksa Three students according to levels of parents' educational background. Procedures The samples were 389 Prathom Suksa Three students in elementary schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration, academic year 1985, and their parents. The sampling method was multistage sampling, The instruments used in this research were Moral Concepts Test and Parents' Rearing Patterns Test. The data was analyzed by using One-Way Analysis of Variance and F-test. Finding 1. The moral concepts were analyzed in 8 aspects according to 3 kinds of rearing patterns. It was found that there were no significant difference in the following moral concepts :- responsibility, discipline, generosity, kindness, honesty, justice and patience. However, the children with democratic upbringing patterns students had higher moral concept of unselfishness than the students with over- protection upbringing at the significant level of .05. According to the levels of parents' educational background there were no significant differences In 6 aspects of the moral concepts : responsibility, generosity, kindness, honesty justice and patience, However, the students who had parents with educational background higher than secondary level had higher moral concepts of discipline and unselfishness than the students who had parents with educational background at elementary level at the significant level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28132
ISBN: 9745674589
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratana_chag_front.pdf8.24 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_chag_ch1.pdf4.55 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_chag_ch2.pdf15.11 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_chag_ch3.pdf6.67 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_chag_ch4.pdf10.6 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_chag_ch5.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_chag_back.pdf81.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.