Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31085
Title: การวิเคราะห์เสถียรภาพและการคาดคะเนการทรุดตัว ของถนนต่อเติมใหม่บนชั้นดินเหนียวอ่อนมาก
Other Titles: Stability analysis and settlement prediction of the reconstruction road on the very soft clay
Authors: พินิจ ธรรมธรสิริ
Advisors: สุรฉัตร สัมพันธารักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาทางด้านเสถียรภาพ และการทรุดตัวที่มากเกินไป เป็นสิ่งพึงระวังสำหรับการออกแบบ และการก่อสร้างคันทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสิ่งก่อสร้างบนชั้นดินเหนียวอ่อนมาก การวิจัยครั้งนี้มีเพื่อศึกษาเกี่ยวกับ การวิเคราะห์เสถียรภาพ และการคาดคะเนการทรุดตัวของถนนต่อเติมใหม่ ที่ก่อสร้างบนชั้นดินเหนียวอ่อนมาก บริเวณ กม.30 บางนา-บางปะกง และถูกออกแบบด้วยพิกัดความปลอดภัยค่อนข้างต่ำ การศึกษายังครอบคลุมไปถึงการคาดคะเนค่าความดันน้ำโพรงเพิ่ม ที่ใต้กึ่งกลางของคันทาง ในการวิจัยนี้ปัญหาแรกที่คำนึงถึงก็คือ ปัญหาทางด้านเสถียรภาพ ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบ field vane shear ในสนาม เพื่อหาค่ากำลังรับแรงเฉือนแบบอันเดรน ส่วน Bjerrum's correction factor ได้อาศัยค่าจากข้อมูลเก่าที่ได้ทำการวิเคราะห์แล้วของ Eide & Holmberg (1972) โดยวิธีการของ Bjerrum ทำให้สามารถที่จะปรับแก้ค่ากำลังรับแรงเฉือนจากการทดสอบ field vane shear และการวิจัยพบว่าการวิเคราะห์เสถียรภาพแบบนี้สามารถนำมาใช้กับถนนต่อเติมใหม่ได้ ปัญหาที่สองของการออกแบบคันทางที่วางบนชั้นดินเหนียวอ่อนมาก คือ การทรุดตัวที่กึ่งกลางของถนนต่อเติมใหม่ ได้ทำการคาดคะเนโดยวิธี Stress path โดยใช้การทดลองไตรแอกเซียล วิธีปฐพีกลศาสตร์พื้นฐาน (D'Appolonia et al., 1971; Skempton & Bjerrum, 1957) และวิธีไฟไนท์เอลลิเมนต์ เพื่อหาค่าการทรุดตัวทั้งในสภาพอันเดรน และการอัดตัวคายน้ำ ข้อมูลการทรุดตัว และความดันน้ำโพรงเพิ่มที่วัดได้ในสนามได้ถูกน้ำมาใช้ในการวิเคราะห์การทรุดตัว โดยอาศัยวิธีการของ Asaoka และวิธีการของ Skempton & Bjerrum ตามลำดับ ผลของการวิเคราะห์เสถียรภาพ ได้แสดงให้ทราบว่าอัตราส่วนความปลอดภัยของถนนต่อเติมใหม่ในสภาพอันเดรน มีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน (1.3) แต่ยังคงมากกว่า 1.0 ผล จากการปล่อยให้ฐานรากเกิดการอัดตัวคายน้ำ หลังจากแต่ละขั้นตอนของการก่อสร้างบนชั้นดินเหนียวอ่อนในสภาพ normally consolidated จะทำให้กำลังรับแรงเฉือนของดินเหนียวอ่อนมาก มีค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมากจากการเพิ่มขึ้นของหน่วยแรงประสิทธิผลในดินอ่อน และอาศัยข้อมูลความดันน้ำโพรงเพิ่มที่วัดได้ เชื่อว่าเสถียรภาพของถนนต่อเติมใหม่ ยังคงอยู่ในขอบเขตที่ปลอดภัย จากการทดสอบ Stress-path พบว่า ผลของการเกิดอันเดรนครีพ และ yield ในระหว่างการทดลอง จะทำให้ค่าการทรุดตัวแบบอันเดรนที่คำนวณได้มีค่ามากเกินไป อันที่จริงขณะที่การก่อสร้างถนนต่อเติมใหม่กระทำเป็นขั้นๆ ได้ปล่อยให้เกิดขบวนการอัดตัวคายน้ำของดินเหนียวอ่อนมาก หลังจากการถมถนนแต่ละครั้ง แต่ค่าความดันน้ำโพรงเพิ่มไม่ได้แสดงพฤติกรรมดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ผลที่เกิดขึ้นจริงต่างจากค่าที่คาดคะเนไว้ ด้วยขั้นตอนการก่อสร้างดังกล่าวจะทำให้สติฟเนส และกำลังรับแรงเฉือนของดินเหนียวอ่อนมีค่าสูงขึ้น ดังนั้น การทรุดตัวที่สำรวจได้ในสภาพอันเดรน จึงมีค่าไม่มาก แม้ว่าจากข้อมูลสำรวจในภาคสนามไม่ได้แสดงว่าความดันน้ำโพรงเพิ่มมีค่าลดลง เนื่องจากขบวนการอัดตัวคายน้ำ การคงที่ของค่าความดันน้ำ แสดงว่ามีการทดแทนกันระหว่างการลดลงของความดันน้ำโพรงเพิ่มเนื่องจากการอัดตัวคายน้ำ และการเกิดความดันน้ำโพรงเพิ่มเนื่องจากขบวนการอันเดรนครีพ ค่าการทรุดตัวในสภาพอันเดรนวิเคราะห์ โดยวิธีไฟไนท์เอลลิเมนต์ได้ค่าต่ำ แต่วิธีปฐพีกลศาสตร์พื้นฐานจะให้ค่าที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับข้อมูลที่วัดได้ในสนาม เนื่องจากข้อมูลการทรุดตัวที่วัดได้ในสนามไม่เพียงพอ ฉะนั้นการคาดคะเนการทรุดตัวแบบอัดตัวคายน้ำโดยวิธีของ Asaoka เป็นวิธีที่ให้คำตอบที่น่าเชื่อถือที่สุด การคาดคะเนการทรุดตัวเนื่องจากการอัดตัวคายน้ำ โดยวิธี Stress-path วิธีปฐพีกลศาสตร์พื้นฐาน และวิธีไฟไนท์เอลลิเมนต์ จะให้ค่ามากกว่าวิธีของ Asaoka ประมาณ 5-7% ส่วนวิธีของ Skempton & Bjerrum โดยการใช้ค่าความดันน้ำโพรงเพิ่มที่วัดได้ในสนาม จะให้ค่าการทรุดตัวแบบอัดตัวคายน้ำ น้อยกว่าวิธีของ Asaoka ประมาณ 30%
Other Abstract: The problems of stability and excessive settlement are very important for design and construction of embankment especially when the foundation soil is the very soft clay. The study in this thesis was conducted on the stability analysis and settlement prediction of the reconstruction road, designed with low safety factor, built on the very soft clay located at km. 30 Bang Na-Bangk Pakong. Study was also extended to predict the excess pore water pressure under the center line of the embankment. The first problem to be considered in this research is the stability problem. Field vane shear tests and data obtained from well documented case histories (Eide & Holmberg, 1972) were employed for finding the undrained shear strength and Bjerrum's correction factor respectively. Using Bjerrum's method, as illustrated by numerous unexpected failures, it was possible to adopt FV strength for stability analysis of the reconstruction road. The second problem of embankment design on the very soft clay is settlement. The settlements at the center line of the reconstruction road were predicted by stress path method using triaxial test, conventional method (D' Appolonia et al., 1971; Skempton and Bjerrum, 1957) and finite element method for undrained and consolidation settlement. The available settlement record and field excess pore water pressure were also analysed by Asaoka's and Skempton & Bjerrum's method respectively. The result of stability analysis indicated that the safety factor of the reconstruction road in undrained condition was smaller than the standard value (1.3) but still greater than 1.0. Due to allowing a sufficient consolidation of the foundation after each stage of construction on this normally consolidated clay deposit, in this way the shear strength of the very soft clay is progressively increased as a result of the increasing effective stress in the soft clay due to consolidation. And based on available record of the excess pore water pressure, it is thought that the reconstruction road is still safe. Undrained creep and yielding occurred during the stress path tests yielded the excessive computation of undrained settlement. Actually, while the reconstructed road was proceeded in stages, the consolidation of the very soft clay was allowed to take place after each stage of construction but excess pore pressure does not show that behavior. This may cause some difference to the predicted results. Based on the stage of construction as described above, the increase in the stiffness and shear strength of the very soft clay, the less in-situ undrained settlement was observed. Although field observation does not indicate the dissipation of pore pressure due to consolidation process, the constant pore pressure value shows the compensation between the dissipation of pore pressure due to consolidation and the development of excess pore pressure from undrained creep process. The undrained settlement obtained by finite element method was low but the conventional method gave the higher value with respect to the field record. Because of insufficient settlement records, the consolidation settlement predicted by Asaoka's method is considered to be the most reasonable value. The methods by stress-path, conventional and finite element gave 5-7% higher than Asaoka's. The Skempton & Bjerrum's method, using the field excess pore water pressures was about 30% lower than Asaoka's. For the reliable predicted value, economic and simplicity procedure, the prediction of settlement by conventional method (D' Appolonia et al., 1971; Skempton & Bjerrum, 1957) would be the most appropriate.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31085
ISBN: 9745648159
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pinij_th_front.pdf10.13 MBAdobe PDFView/Open
Pinij_th_ch1.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
Pinij_th_ch2.pdf15.91 MBAdobe PDFView/Open
Pinij_th_ch3.pdf9.68 MBAdobe PDFView/Open
Pinij_th_ch4.pdf23.71 MBAdobe PDFView/Open
Pinij_th_ch5.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Pinij_th_back.pdf7.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.