Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31117
Title: พฤติกรรมของระบบกำแพงกันดินชนิดเข็มพืดแบบใช้ค้ำยันสำหรับงานขุดขนาดลึกในดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ
Other Titles: Behavior of braced sheet pile wall system for deep cxcavation in Bangkok soft clay
Authors: พิพัฒน์ ศรีวัฒนพงศ์
Advisors: วันชัย เทพรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานขุดขนาดลึกในดินเหนียวอ่อนกรุงเทพโดยใช้ระบบกำแพงกันดินชนิดเข็มพืดเป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับงานขุดเพื่อก่อสร้างฐานรากและห้องใต้ดิน การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและหาความสัมพันธ์ของการเคลื่อนตัวด้านข้างของเข็มพืดกับการทรุดตัวที่ผิวดินในระหว่างการก่อสร้างพร้อมทั้งศึกษาถึงผลของตัวแปรและพารามิเตอร์ต่างๆ ที่มีผลต่อปริมาณการเคลื่อนตัวด้านข้างของเข็มพืดและเสนอแนะวิธีการก่อสร้างที่เหมาะสม นอกจากนี้ได้เสนอวิธีการคาดคะเนปริมาณการเคลื่อนตัวด้านข้างสูงสุดของเข็มพืดโดยวิธี Simplified method. ผลการวิจัยพบว่า : เข็มพืดมีพฤติกรรมการโก่งตัวเป็นแบบ Rotation about bottom (fixed end) โดยในช่วงแรกของการขุดดินก่อนที่จะมีการค้ำยันการโก่งตัวเป็นแบบคานยื่น ปริมาณการเคลื่อนตัวด้านข้างของเข็มพืดขึ้นอยู่กับสภาพน้ำหนักบรรทุกบนผิวดินและระยะเวลาในการติดตั้งค้ำยันเป็นสำคัญ การทรุดตัวที่ผิวดินมีขอบเขตอยู่ใน Settlement envelope ที่เสนอโดย Peck (1969) และ Mana & Clough (1981) ความสัมพันธ์ของการทรุดตัว สูงสุดที่ผิวดิน (SVmax) ต่อการเคลื่อนตัวด้านข้างสูงสุดของเข็มพืด (SHmax) มีค่าอยู่ในช่วงประมาณ 1.94 ถึง 2.13 สำหรับบริเวณที่มียวดยานจราจรหรือมีน้ำหนักบรรทุกที่ผิวดิน และ 0.83 ถึง 1.62 สำหรับบริเวณที่ไม่มียวดยานจราจร ผลของตัวแปรและพารามิเตอร์ต่างๆ ที่มีต่อค่า SHmax นั้น พบว่า: การลดค่าสติฟเนสของค้ำยันลงเท่าตัว และการติดตั้งตัวค้ำยันล่าช้าอาจทำให้เกิด SHmax มากขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว การอัดแรงในค้ำยันช่วยลดค่า SHmax ลงได้มาก ในช่วงการขุดไม่ลึกมากนักหรือในช่วง 2 ชั้นแรกของการขุดเท่านั้น ความลึกของการขุด (H) ทำให้ค่า อัตราส่วน (SHmax/H,%) ลดลง ความหนาของชั้นดินจากระดับขุดถึงชั้นดินแข็ง (T) ทำให้ค่าอัตราส่วน (SHmax/H,%) เพิ่มขึ้น การเว้นคันดินช่วยลดค่า SHmax ลงได้ในช่วง 3 ชั้นแรกของการขุดเท่านั้น อัตราส่วน (SHmax/H,%) ให้ค่าที่ต่ำกว่าที่เสนอโดย Mana และ Clough (1981) เมื่อเปรียบเทียบที่ค่า Factor of safety against basal heave เดียวกัน สำหรับการคาดคะเนปริมาณ SHmax โดยวิธี Simplified method ที่เสนอโดย Wong และ Broms (1989) นั้นสามารถใช้ได้ดีในการขุดช่วงสุดท้ายเท่านั้น ซึ่งไม่นำผลของน้ำหนักบรรทุกบนผิวดินมาเกี่ยวข้อง ส่วนวิธีการก่อสร้างที่เหมาะสมนั้นควรมีการติดตั้งหมุดวัดการทรุดตัวที่ผิวดินไว้โดยรอบสถานที่ก่อสร้าง การติดตั้งค้ำยันและการอัดแรงควรรีบดำเนินการโดยเร็ว ยวดยานต่างๆ ในการก่อสร้างควรใช้ Platform เป็นเส้นทางขนส่ง และการขุดดินควรมีการเว้นคันดินไว้โดยรอบบ่อขุดโดยเฉพาะการขุดดินในช่วงแรก
Other Abstract: Sheet pile bracing system is the most wellknown system for deep excavation in Bangkok soft clay. This research aims to study the behavior and correlation of lateral sheet pile wall movement with ground surface settlement, the influence of factors affected to the lateral wall movement, to suggest the appropriate method of construction, and compare the measured lateral wall movement with the simplified method proposed by Wong and Broms (1989). Results of this study lead for the following conclusions: the mode of sheet pile wall deformation is the type of wall rotation about bottom (fixed end type). Delaying in installation of the first strut and traffic loading leads to an induce large wall movements. The measured ground surface settlements are within the settlement envelopes proposed by Peck (1969) and Manas Clough (1981). The correlations of the maximum surface settlement (Svmax) to the maximum lateral wall movement (SHmax) are in the order of 1.94 to 2.13 and 0.83 to 1.62 for traffic and non-traffic area, respectively. Half reduction of strut stiffness and delay in installation of the first strut may increase SHmax of three times. The preloading of strut com reduce SHmax for only shallow excavation or for the first and second bracing layers. The deflection ratio (SHmax/H,%) decreases with increasing of excavation depth (H), while increases with increasing of clay thickness below the bottom of the excavation (T). Berm width can reduce SHmax for only the first three stages of excavation. For the study of factor of safety against basal heave (F.S), found that the deflection ratio tends to lower than those proposed by Mana & Clough (1981). The prediction of the maximum lateral wall movement by the simplified method proposed by Wong and Broms (1989), show reasonable agreement with the field measurement only at the final stage of excavation without consideration of surcharge load. The proposed appropriate methods of construction are : the ground surface settlement points should be installed around the site, struts should be immediately preloaded after reach the excavation depth, loading trucks or traffic load should be transported on platform to reduced large movement. During excavation berm should be provided around excavation area specially for the first stage of excavation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31117
ISBN: 9745815713
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pipat_sri_front.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Pipat_sri_ch1.pdf586.47 kBAdobe PDFView/Open
Pipat_sri_ch2.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open
Pipat_sri_ch3.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open
Pipat_sri_ch4.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open
Pipat_sri_ch5.pdf463.14 kBAdobe PDFView/Open
Pipat_sri_back.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.