Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31508
Title: การประเมินหลักสูตรวิชาเอกดนตรีศึกษาในวิทยาลัยครู
Other Titles: The curriculum evaluation of music education in teachers colleges
Authors: อรุณ วิวัฒนปฐพี
Advisors: พรชุลี อาชวอำรุง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินหลักสูตรวิชาเอกดนตรีศึกษาในวิทยาลัยครู โดยใช้แบบจำลองซิป ประเมิน บริบท ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลิตผลของหลักสูตร เพื่อหาข้อบกพร่องและเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารหลักสูตร สำรวจสถานภาพอาจารย์ผู้สอน นักศึกษา บัณฑิต และผู้บังคับบัญชาบัณฑิต เกี่ยวกับหลักสูตร สถานการณ์การเรียนการสอนและลักษณะของบัณฑิต กลุ่มประชากรสำหรับการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ อาจารย์วิทยาลัยครู อาจารย์ผู้สอน นักศึกษา บัณฑิต และผู้บังคับบัญชาบัณฑิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม 6 ชุด การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย จากการศึกษาข้อมูลเอกสารหลักสูตร และแบบสอบถามที่ประชากรตอบ ได้ผลการประเมินหลักสูตรด้านต่าง ๆ ดังนี้ การประเมินบริบท ความมุ่งหมายของหลักสูตรส่วนใหญ่มีความเหมาะสม โครงสร้างเนื้อหาสาระเป็นภาคทฤษฎีมากกว่าภาคปฏิบัติ ดนตรีตะวันตกมากกว่าดนตรีไทย จำนวนหน่วยกิตดนตรีปฏิบัติน้อยเกินไป สำหรับเนื้อหาส่วนใหญ่เหมาะสม การประเมินปัจจัยเบื้องต้น ปัจจัยเบื้องต้นสำหรับหลักสูตรยังไม่เหมาะสมเท่าที่ควร อาจารย์ผู้สอนมีวุฒิต่ำกว่าเกณฑ์สัดส่วนมาตรฐานของทบวงมหาวิทยาลัย จำนวนอาจารย์ไม่เพียงพอ อุปกรณ์การเรียนการสอนยังไม่พร้อมเท่าที่ควร ส่วนนักศึกษามีความเหมาะสมปานกลาง การประเมินกระบวนการ กระบวนการของหลักสูตรยังไม่เหมาะสมเท่าที่ควร นักศึกษาดำเนินการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง มีลักษณะเป็นผู้รับ ซักถามและแสดงความคิดเห็นน้อย กระบวนการเรียนการสอนยังไม่เหมาะสม นักศึกษาได้รับผลสัมฤทธิ์จากกระบวนการเรียนการสอนด้านพุทธิพิสัยและทักษะพิสัยน้อย การประเมินผลิตผล บัณฑิตวิชาเอกดนตรีศึกษามีคุณสมบัติเป็นไปตามความมุ่งหมายของหลักสูตรค่อนข้างน้อย ข้อเสนอแนะ ในการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรวิชาเอกดนตรีศึกษาควรปรับปรุง ความมุ่งหมายบางข้อให้เป็นเอกภาพและชัดเจนเพื่อที่จะนำไปปฏิบัติได้ ควรเพิ่มเติมความมุ่งหมายที่ให้ผู้เรียนมีความรู้และทัศนคติที่ดีต่อการสอนดนตรี ควรเพิ่มภาคปฏิบัติ ดนตรีศึกษาและการสอน และเนื้อหาสาระทางดนตรีไทย ควรหาทางให้อาจารย์ได้ปรับวุฒิให้สูงขึ้น และเพิ่มอาจารย์ในด้านที่ยังขาด อาจารย์ผู้สอนควรให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เรียนให้มากขึ้นและทั่วถึง ควรปรับปรุงเพิ่มเติมอุปกรณ์การเรียนการสอนทั้งด้านปริมาณ คุณภาพ และความสะดวกในการให้เบิก ยืม หรือใช้ แนวทางการพัฒนาหลักสูตรวิชาเอกดนตรีศึกษา ควรจัดหลักสูตรวิชาเอกดนตรีศึกษาแยกเป็น 2 สาขาได้แก่ สาขาดนตรีไทย กับสาขาดนตรีตะวันตก ในการวิจัยต่อไป ควรวิจัยการติดตามผลบัณฑิตครูวิชาเอกดนตรีศึกษา การประเมินความสอดคล้องของหลักสูตรวิชาเอกดนตรีศึกษากับหลักสูตรประถมศึกษาและมัธยมศึกษา การเปรียบเทียบหลักสูตรวิชาเอกดนตรีศึกษาของสถาบันต่าง ๆ และการวิจัยระบบระเบียบ โครงสร้างและเนื้อหาสาระทางดนตรีไทย
Other Abstract: Objectives of the study The objectives of the study were: to evaluate the Music Education Curriculum in Teachers Colleges by using CIPP Model evaluate the context, input, process and product of the curriculum; to find the unsuitable parts and to present the guideline for curriculum improvement. Procedure of the study The data were collected from the study of curriculum materials, the survey of the status of the instructors, the students and the graduates and the survey of the opinion of the music teachers in the Teachers Colleges, the teaching teachers, the students, the graduates and the graduates’ supervisors concerning curriculum materials, instructional situation and the graduates’ characteristics. The population of the study were the music teachers in Teachers Colleges, teaching teachers, students, graduates and graduates’ supervisors. The 6 types questionnairs were used in the study. Percentage, arithmetic means and standard deviation were employed to analyze the obtained data. Results of the study The results of the study were the following: Context Evaluation: The objectives of the curriculum were rather suitable. The structure of the contents was more theory and Western music. The practical credits were not enough. Most contents were suitable. Input Evaluation: The input of the curriculum was not suitable. The ratio of the teachers’ degree was not met the standard of faculty in higher education department as stated by the Ministry of University Affairs. The teachers were not adequate to the contents. The instructional aids were not appropriate. The students were fair. Process Evaluation: The process of the curriculum was not suitable. The learning characters of the students were in passive manners, less asking and stating the opinion. The instruction process was not suitable. The student achievements were not corresponding to the objectives. Product Evaluation: The graduate’s characters and the achievement were not corresponding to the objectives. Recommendation The points to correct and improve the curriculum are stating some objectives more clearly and add the details to enable the students to have knowledge and good attitude to music teaching. Some more practical parts, music teaching and Thai Classical Music courses should be added. The teachers should improve to higher degree and pay more attention to the students. The sufficiency of the instructional aids should be added. To develop the curriculum, Music Education Curriculum should be divided into Z branches which are Thai Classical Music and Western Music. Follow up the graduates, evaluate the corresponding between the music education curriculum and the elementary and secondary school curricula, comparing music education curricula and researching the method, structure and the contents of Thai Classical Music should be study further.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31508
ISBN: 9745637599
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aroon_wi_front.pdf6.98 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_wi_ch1.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_wi_ch2.pdf12.3 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_wi_ch3.pdf5.57 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_wi_ch4.pdf27.3 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_wi_ch5.pdf9.32 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_wi_back.pdf21.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.