Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32072
Title: การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารการประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 12 เกี่ยวกับรูปแบบการบริหารการประถมศึกษาจังหวัด โดยคณะกรรมการ
Other Titles: A comparison of the opintions of elementary education administrators in educational region twelve concerning the model of provincial primary education administration by committee
Authors: พุทธฉัตร พูนเพิ่มสุขสมบัติ
Advisors: สนานจิตร สุคนธทรัพย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารการประถมศึกษาในเขตการศึกษา 12 ที่มีต่อรูปแบบและปัญหา อุปสรรคของรูปแบบการบริหารการประถมศึกษาจังหวัด ผลการวิจัยพบว่าผู้บริหารการประถมศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่ารูปแบบการบริหารการประถมศึกษาจังหวัดโดยคณะกรรมการสามารถจัดการประถมศึกษาได้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น มีความเหมาะสมในหลักการแต่ต้องปรับปรุงวิธีการปฏิบัติ เรื่องที่เห็นว่าเหมาะสมคือ การกำหนดขนาดจำนวนกรรมการ 15 คน ให้มีกรรมการ 3 ฝ่ายคือ โดยตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนครู การได้มาของกรรมการจากโดยตำแหน่ง การแต่งตั้งและเลือกตั้ง การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งชุดละ 4 ปี ข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการทั้ง 7 ประการการกำหนดคุณสมบัติให้ผู้แทนครูต้องพ้นทดลองราชการ ผู้ทรงคุณวุฒต้องไม่เป็นข้าราชการประจำ มีความสนใจในการประถมศึกษาและมีความประพฤติดี เรื่องที่มีความเห็นเพิ่มเติมคือ เห็นควรให้เพิ่มจำนวนแทนครูให้มีเท่าจำนวนอำเภอในจังหวัดและกำหนดจรรยาบรรณสำหรับคณะกรรมการ เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 3 กลุ่ม ปรากฏว่ามีความเห็นไม่แตกต่างกัน 19 ข้อ แตกต่างกัน 6 ข้อ ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคพบว่า ผู้บริหารการประถมศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่ามีปัญหาในระดับน้อย 2 ด้าน ปานกลาง 4 ด้าน ได้แก่ปัญหาการได้มา วาระการดำรงตำแหน่ง คุณสมบัติและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างกลุ่มปรากฏว่ามีความเห็นไม่แตกต่างกัน 8 ข้อแตกต่างกัน 14 ข้อ
Other Abstract: This study aims at comparing the opinions of elementary education administrators in Educational Region Twelve concerning the model of provincial primary education administration by committee, the problems and obstacles of the administration of primary education by committee. It was found that the majority of the respondents viewed the administration by committee as appropriate in principle but the operation should be modified. The items agreed upon were as followed : size and the composition of committee : de facto, selected local people and teacher representatives; committee’s length of service, authority and responsibilities, the regulations that teacher representatives must already pass through probation period; selected local people must not be government officials but be interested in education and have good conduct. It was also suggested that the amount of teacher representatives should comply with the number of districts in each province and code of ethics for committees be established. When compared the opinions of the three groups, only 6 out of 25 items were viewed differently. It was found that the problems and obstacles encountered were rated low in two areas and moderate in four areas. When compared the opinions of the three groups, no difference was found in 8 out of 14 items.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32072
ISBN: 9745684937
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phutachat_po_front.pdf13.67 MBAdobe PDFView/Open
Phutachat_po_ch1.pdf28.93 MBAdobe PDFView/Open
Phutachat_po_ch2.pdf6.22 MBAdobe PDFView/Open
Phutachat_po_ch3.pdf38.12 MBAdobe PDFView/Open
Phutachat_po_ch4.pdf15.28 MBAdobe PDFView/Open
Phutachat_po_back.pdf10.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.