Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34429
Title: | การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มผู้ใช้เวลาต่ำสุดและสูงสุด ของหลักสูตรในการสำรวจการศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | An analysis of the variales discriminating the groups of graduate students completing the program within the minimum and maximum of time in the Social Science at Chulalongkorn University |
Authors: | อนงค์ ปิยะกมลานนท์ |
Advisors: | ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มุ่งที่จะศึกษาเปรียบเทียบตัวแปรที่สามารถจำแนกกลุ่มผู้ใช้เวลาต่ำสุดและสูงสุดของหลักสูตร ในการสำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนิสิตปริญญาโท สาขาสังคมศาสตร์ ที่เข้าศึกษาในรุ่นปีการศึกษา 2519-2523 จำนวน 761 คน โดยจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ใช้เวลาต่ำสุดของหลักสูตร จำนวน 372 คน และกลุ่มผู้ใช้เวลาสูงสุดของหลักสูตร จำนวน 389 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยคำนวณหาค่าร้อยละ ทดสอบไคสแควร์ ทดสอบค่าที และวิเคราะห์จำแนกประเภท ผลการวิจัยพบว่า 1. เมื่อพิจารณารวมทุกคณะ พบว่า กลุ่มผู้ใช้เวลาต่ำสุดของหลักสูตร ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการศึกษาเนื้อหาวิชา 3 ภาค ในขณะที่กลุ่มผู้ใช้เวลาสูงสุดของหลักสูตร ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการศึกษาเนื้อหาวิชา 4 ภาค และเมื่อพิจารณาเวลาที่ใช้ในการทำวิทยานิพนธ์ พบว่า กลุ่มผู้ใช้เวลาต่ำสุดของหลักสูตร ส่วนใหญ่ทำวิทยานิพนธ์เสร็จภายใน 6 เดือน ในขณะที่กลุ่มผู้ใช้เวลาสูงสุดของหลักสูตรใช้เวลามากกว่า 24 เดือน 2. นิสิตกลุ่มผู้ใช้เวลาต่ำสุดของหลักสูตร และนิสิตกลุ่มผู้ใช้เวลาสูงสุดของหลักสูตรมีความแตกต่างกันในด้านลักษณะการมาศึกษาต่อในระดับปริญญาโท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในคณะครุศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และรวมทุกคณะ โดยนิสิตกลุ่มผู้ใช้เวลาต่ำสุดของหลักสูตร ส่วนใหญ่ลาศึกษาต่อจนทำวิทยานิพนธ์เสร็จหรือจนสำเร็จการศึกษา ในขณะที่นิสิตกลุ่มผู้ใช้เวลาสูงสุดของหลักสูตรมาเรียนในขณะที่ทำงานอยู่ โดยไม่ได้ลาศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษา หรือลาศึกษาเฉพาะเนื้อหาวิชาจนครบแล้วกลับไปทำงานควบคู่กับการทำวิทยานิพนธ์ 3. ตัวแปรจำแนกที่สำคัญ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นลักษณะของแต่ละกลุ่มของแต่ละคณะมีดังนี้ 3.1 คณะครุศาสตร์ กลุ่มผู้ใช้เวลาต่ำสุดของหลักสูตร ได้แก่ ปัญหาความวิตกกังวล กลุ่มผู้ใช้เวลาสูงสุดของหลักสูตร ได้แก่ ปัญหาเวลาที่ใช้ในการทำวิทยานิพนธ์ และปัญหาความรู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้ 3.2 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี กลุ่มผู้ใช้เวลาต่ำสุดของหลักสูตร ได้แก่ ปัญหาความเป็นกันเองของอาจารย์ที่ปรึกษา และปัญหาความเอาใจใส่ของอาจารย์ที่ปรึกษา กลุ่มผู้ใช้เวลาสูงสุดของหลักสูตร ได้แก่ ปัญหาเวลาที่ใช้ในการทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาวิธีการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษา และปัญหาสมาธิในการเรียน 3.3 รวมทุกคณะ กลุ่มผู้ใช้เวลาต่ำสุดของหลักสูตร ได้แก่ ปัญหาความวิตกกังวลกลุ่มผู้ใช้เวลาสูงสุดของหลักสูตร ได้แก่ ปัญหาเวลาที่ใช้ในการทำวิทยานิพนธ์ และปัญหาความรู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้ 4. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบ โดยการทดสอบค่าทีในแต่ละคณะ ได้ข้อค้นพบดังนี้ 4.1 คณะรัฐศาสตร์ นิสิตกลุ่มผู้ใช้เวลาสูงสุดของหลักสูตร มีปัญหาส่วนตัวบางด้านมากกว่า นิสิตกลุ่มผู้ใช้เวลาต่ำสุดของหลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัญหาดังกล่าวได้แก่ ปัญหาด้านการปรับตัวด้านการเรียน ในเรื่อง วิธีการใช้ห้องสมุด การวางแผนการเรียน ปัญหาด้านการทำวิทยานิพนธ์ ในเรื่องการค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องความร่วมมือจากกลุ่มตัวอย่างและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ การเขียนรายงานการวิจัย และเวลาที่ใช้ในการทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาด้านการเงิน ในเรื่องการต้องใช้เงินอย่างกระเหม็ดกระแหม่ 4.2 คณะนิเทศศาสตร์ นิสิตกลุ่มผู้ใช้เวลาสูงสุดของหลักสูตรมีจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ต้องเลี้ยงดู มากกว่านิสิตกลุ่มผู้ใช้เวลาต่ำสุดของหลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตกลุ่มผู้ใช้เวลาสูงสุดของหลักสูตร มีปัญหาส่วนตัวบางด้านมากกว่านิสิตกลุ่มผู้ใช้เวลาต่ำสุดของหลักสูตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัญหาดังกล่าวได้แก่ ปัญหาด้านการปรับตัวด้านการเรียน ในเรื่องเวลาที่ใช้ในการศึกษาหาความรู้ ปัญหาด้านการทำวิทยานิพนธ์ ในเรื่องการหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ การปรับปรุงแก้ไขหัวข้อวิทยานิพนธ์ การทำหนังสือติดต่อราชการ การแปลความผลการวิเคราะห์ข้อมูล และเวลาที่ใช้ในการทำวิทยานิพนธ์ ปัญหาด้านอาจารย์ที่ปรึกษา ในเรื่องเวลาที่จะเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา ความเอาใจใส่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ความเป็นกันเองของอาจารย์ที่ปรึกษา ความขัดแย้งกับอาจารย์ที่ปรึกษาด้านทฤษฎี ความคิด และแนวการทำวิทยานิพนธ์ และปัญหาด้านการเงินและภาระรับผิดชอบในครอบครัวทั้งหมด |
Other Abstract: | The purpose of this research was to analyze the variable which would be able to discriminate the groups of Graduate Students completing the program within the minimum and maximum of time in the Social Sciences at Chulalongkorn University. The sample include 761 graduate students who enrolled during the academic year 1976-1980 in the degree of master in the Social Sciences at Chulalongkorn University. There were 372 graduate students who completed the program within the minimum of time and 389 graduate students who completed the program within the maximum of time. The data were collecte by the mailed questionnaire and they were analyze by using percentage, Chi-Square, t-test and Discriminant analysis. The findings were as follows: 1. Graduate students who completed the program within the minimum of time studied course work for three semesters, but those who completed the program within the maximum of time studied for four semesters. Graduate students who completed the program within the minimum of time had finished their theses in six months, but those who completed the program within the maximum of time had finished them over twenty-four months. 2. There was significant difference in the attendance condition between graduate students who completed the program within the minimum and maximum of time (p < .05) in Faculty of Education, Communication Arts, Commerce and Accountancy and Totality. Most graduate students who completed the program within the minimum of time were full time students, but those who completed the program within the maximum of time studied during their work time or studied during the time they were required to finish their course work then returned to work and conducted their theses simultaneously. 3. Discriminating variables which tended to be the characteristics of each group in each Faculty were: 3.1 Faculty of Education, graduate students who completed the program within the minimum of time: anxiety problem. Graduate students who completed the program within the maximum of time: time conducting thesis problem and boredom problem. 3.2 Faculty of Commerce and Accountancy, graduate students who completed the program within in minimum of time: advisor’s friendliness problem and advisor’s taking care problem. Graduate students who completed the program within the maximum of time: time conducting thesis problem, advisor’s advice method problem and concentration to study problem. 3.3 The result from the analyze of the total groups indicate that graduate students who completed the program within the minimum of time: anxiety problem. Graduate students who completed the program within the maximum of time: time conducting thesis problem and boredom problem. 4. From the comparison by using t-test, it could be concluded as follows: 4.1 Faculty of Political Science, graduate students who completed the program within the maximum of time had some more personal problems than those who completed the program within the minimum of time. The studying adaption problem were : using library, planning to study. The conducting thesis problem were: researching document and related literature, cooperating with samples and related organizations, collecting data, analyzing data with computers, writing research report and time conducting thens. The last problem was finance problem (p < .05). 4.2 Faculty of Communication Arts, graduate students who completed the program within the maximum of time had to take care of members in their families more than those who completed the program within the minimum of time (p < .05). And graduate students who completed the program within the maximum of time had some more personal problems than those who completed the program within the minimum of time. The first problem was studying adaption problem: time for studying. The second was conducting thesis problem: selecting thesis title, improving thesis title, writing letters to government, interpreting result of analyzed data and time conducting thesis. The third was advisor problem: time to meet advisor, advisor’s taking care, advisor’s friendliness and disagreement with advisor in theory, idea and conducting thesis. The last was finance problem and family responsibility problem. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34429 |
ISBN: | 9745680001 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anong_pi_front.pdf | 5.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_pi_ch1.pdf | 5.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_pi_ch2.pdf | 9.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_pi_ch3.pdf | 4.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_pi_ch4.pdf | 15.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_pi_ch5.pdf | 7.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anong_pi_back.pdf | 12.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.