Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34705
Title: การให้บริการข่าวสารทันสมัยของห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ : โครงการทดลอง
Other Titles: The current awareness service at the Faculty of Medicine's library, Prince of Songhla University : a pilot project
Authors: พรรณณพ บูรพัฒน์
Advisors: ชลทิชา สุทธินิรันดร์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ทดลองการให้บริการข่าวสารทันสมัยแก่อาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2 รูปแบบ คือ บริการถ่ายสำเนาหน้าสารบัญวารสารและสิ่งพิมพ์ใหม่ และบริการสาระสังเขปหรือบทสรุปสารนิเทศใหม่เฉพาะเรื่อง ศึกษาทัศคติและระดับความพึงพอใจของอาจารย์ที่มีต่อบริการข่าวสารทันสมัยทั้ง 2 รูปแบบว่าสามารถสนองวัตถุประสงค์ด้าน การสอน การผลิตงานทางวิชาการ และการบำบัดรักษา ตลอดจนศึกษาความต้องการของอาจารย์ทีมีต่อบริการข่าวสารทันสมัยที่จัดให้บริการ กลุ่มตัวอย่างได้แก่อาจารย์จากภาควิชาต่าง ๆ ในคณะแพทยศาสตร์ จำนวน 52 คน ระยะเวลาในการทดลองให้บริการข่าวสารทันสมัยรวม 12 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์มีความพึงพอใจด้านความเหมาะสมของเนื้อหาและประโยชน์ของบริการข่าวสารทันสมัยทั้ง 2 รูปแบบ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ต้องการในระดับเดียวกัน อาจารย์ต้องการบริการข่าวสารทันสมัยในรูปแบบบริการสาระสังเขปหรือบทสรุปสารนิเทศใหม่เฉพาะเรื่องมากกว่า บริการถ่ายสำเนาหน้าสารบัญวารสารและสิ่งพิมพ์ใหม่ ต้องการให้จัดส่งสารนิเทศรูปแบบสำเนาหน้าสารบัญวารสารและสิ่งพิมพ์ใหม่ เป็นเวลา 2 สัปดาห์/ครั้ง และรูปแบบสาระสังเขปหรือบทสรุปสารนิเทศใหม่เฉพาะเรื่อง 4 สัปดาห์/ครั้ง ต้องการให้จัดส่งสำเนาหน้าสารบัญวารสารจำนวน 6-10 ชื่อเรื่อง ต้องการบริการสาระสังเขปหรือบทสรุปสารนิเทศใหม่เฉพาะเรื่องจากสิ่งพิมพ์และวัสดุต่าง ๆ ในระดับมาจาก บทความวารสารวิชาการ รายงานการวิจัย และ MEDLINE CD-ROM และส่วนใหญ่ต้องการให้ห้องสมุดจดบริการข่าวสารทันสมัยโดยใช้สารนิเทศที่มีทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
Other Abstract: The purpose of this research is to study the appropriate types of service given through a pilot project entitled the current awareness service at the Faculty of Medicine’s Library, Prince of Songkla University. The project aims at providing two types of services to medical instructors that are protocopying of journals and new publication contents and the abstracting service of new publications. The study also attempts to determine attitudes and satisfactory levels for medical instructors regarding the project in terms of teaching needs, producting publications, therapy and need in other type of current awareness services from the sample group ie. 52 medical instructors from each department of the faculty. Normal duration of the experiment is 6 months, to be repeated 12 times. Major findings are as follows: Medical instructors are satisfied with the appropriateness as well as the usefulness of both types of service to fulfil the required objectives. Besides they need the abstracting service of special articles more than the photocopying service of journals and new publication contents. The results also indicate that medical instructors need the protocopying service done bi-weekly and the abstracting service monthy. The average number of titles of the protocopying service requested by them are 6-10. They also request what they need abstracting service ie. from the academic journals, research articles and MEDLINE CD-ROM. Their preference are the informations from both inside and outside the library, and most of them also require the latest.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34705
ISBN: 9746054503
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Punnop_bu_front.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open
Punnop_bu_ch1.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open
Punnop_bu_ch2.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open
Punnop_bu_ch3.pdf5.14 MBAdobe PDFView/Open
Punnop_bu_ch4.pdf9.34 MBAdobe PDFView/Open
Punnop_bu_ch5.pdf7.12 MBAdobe PDFView/Open
Punnop_bu_back.pdf13.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.