Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42280
Title: อัตราอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บและเจ็บป่วยของกล้ามเนื้อกระดูกโครงร่างในกำลังพลเรือบรรทุกเครื่องบิน
Other Titles: Incidence rate and related factors of musculoskeletal injuries and illness in aircraft carrier personnel
Authors: อติพงษ์ สุจิรัตน์
Advisors: สุนทร ศุภพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Soontorn.S@Chula.ac.th
Subjects: ระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก -- บาดแผลและบาดเจ็บ
กล้ามเนื้อ -- บาดแผลและบาดเจ็บ
Musculoskeletal system -- Wounds and injuries
Muscles -- Wounds and injuries
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บและเจ็บป่วยของกล้ามเนื้อกระดูกโครงร่างในกำลังพลเรือบรรทุกเครื่องบิน โดยใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มเป้าหมาย คือ กำลังพลที่ประจำเรือหลวงจักรีนฤเบศร จำนวน 366 นาย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเอง มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับ ร้อยละ 52.2 และใช้แบบสำรวจบันทึกการเข้ามารับการรักษาที่แผนกแพทย์เฉพาะผู้ที่เข้าร่วมการศึกษา ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 จากการเก็บข้อมูลพบว่า อัตราอุบัติการณ์การบาดเจ็บและเจ็บป่วยของกล้ามเนื้อกระดูกโครงร่างโดยรวม เท่ากับ 7.7 ครั้งต่อ 100 คนต่อเดือน และอัตราอุบัติการณ์การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อกระดูกโครงร่างในห้วงการฝึกออกทะเล เท่ากับ 5.7 ครั้งต่อ 100 คนต่อเดือน แผนกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บและเจ็บป่วยจากการปฏิบัติหน้าที่สูงที่สุด คือ แผนกการบิน ตำแหน่งของร่างกายที่เกิดการบาดเจ็บและเจ็บป่วยจากการปฏิบัติหน้าที่สูงที่สุด คือ มือ (ร้อยละ 29.4) และเข่า (ร้อยละ 17.6) ลักษณะของการบาดเจ็บและเจ็บป่วยจากการปฏิบัติหน้าที่สูงที่สุด คือ ข้อเคล็ดและกล้ามเนื้อตึง (ร้อยละ 29.4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดการบาดเจ็บและเจ็บป่วยของกล้ามเนื้อกระดูกโครงร่างจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ การหยิบจับสิ่งของที่ไม่มีเครื่องช่วยหยิบจับน้ำหนักตั้งแต่ 1 กิโลกรัมขึ้นไป การยกของน้ำหนักตั้งแต่ 35 กิโลกรัมขึ้นไป การนั่งยองหรือชันเข่า ทำงานกับเครื่องมือที่มีความสั่นสะเทือนปานกลาง ทำงานในลักษณะบิดข้อมือ เก้าอี้สูงเกินไป และทำงานเกี่ยวกับของมีคม ผลการศึกษานี้พบว่ากำลังพลที่ประจำเรือหลวงจักรีนฤเบศรในแผนกการบินมีอุบัติการณ์ของการบาดเจ็บและเจ็บป่วยของกล้ามเนื้อกระดูกโครงร่างจากการปฏิบัติหน้าที่สูงที่สุด และมีความสัมพันธ์กับลักษณะ/ท่าทางการทำงาน และสภาพ/สิ่งแวดล้อมในการทำงานโดยตรง จึงควรให้ความสนใจและทำการปรับปรุงแก้ไขต่อไป
Other Abstract: This cross sectional study aimed to determine the incidence rate and the associated factors of musculoskeletal injuries and illness in aircraft carrier personnel. The target populations were 366 H.T.M.S. Chakrinaruebet Personnel. Data were collected by self-administered questionnaire and the response rate was 52.2 percent. The musculoskeletal patients, who were participated in the study, were patients registered by medical survey form during June to September 2007. The results showed that the incidence rates of total and during offshore training musculoskeletal injuries and illness were 7.7 and 5.7 per 100 persons per month. The flight department was the highest risk of occupational injuries and illness. The most part of occupational injuries and illness were hands (29.4 percent) and knees (17.6 percent). The frequent nature of occupational injuries and illness were sprains and strains (29.4 percent). There were statistically significant relationship between occupational musculoskeletal injuries and illness and some factors including an unsupported object weighing 1 kg or more pinch gripping, objects weighing more than 35 kg lifting, squats/kneels position, moderate vibration hand tools, wrists rotation using, too high seat and working with sharp equipments. The results indicated that personnel of flight department had the highest incidence rate of occupational musculoskeletal injuries and illness, which associated with working description/posture and working condition/environment. We should pay more attention on this issue and improve those working environments.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาชีวเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42280
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.662
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.662
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
atipong_su.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.