Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43790
Title: ปัญหาในการนำโทษปรับมาใช้บังคับในคดีสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีโทษปรับตามวันและรายได้
Other Titles: THE PROBLEMS IN ENFORCING FINE PENALTY ON ENVIRONMENTAL CASES : A STUDY ON DAY FINE
Authors: ภัทรพร ระดมสุทธิศาล
Advisors: ปารีณา ศรีวนิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: pareena.lawchula@gmail.com
Subjects: สิ่งแวดล้อม -- คดีและการสู้คดี
ค่าปรับ -- ไทย
กฎหมายสิ่งแวดล้อม -- ไทย
Fines (Penalties) -- Thailand
Environmental law -- Thailand
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงการบังคับใช้โทษปรับในคดีสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย โดยโทษปรับถือได้ว่าเป็นบทลงโทษทางอาญาที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นบทลงโทษที่ถูกนำมาใช้ลงโทษผู้กระทำความผิดในคดีสิ่งแวดล้อมมากที่สุด ซึ่งการนำโทษปรับมาใช้เป็นบทลงโทษหลักในคดีสิ่งแวดล้อมนี้ เมื่อพิจารณาในแง่ของทฤษฎีแล้วโทษปรับนับว่าเป็นบทลงโทษที่มีความเหมาะสมที่สุด สอดคล้องกับแนวปฏิบัติโดยทั่วไปที่ทุกประเทศมักจะกำหนดให้โทษปรับเป็นบทลงโทษหลักเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่าการบังคับใช้โทษปรับในคดีสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่สามารถทำให้โทษปรับเกิดประสิทธิผลได้อย่างที่ควรจะเป็น โดยพบว่าการบังคับใช้โทษปรับยังมีปัญหาอยู่หลายประการ ได้แก่ โทษปรับไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการลงโทษ โทษปรับไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม โทษปรับไม่สอดคล้องกับการได้มาซึ่งประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณของรัฐ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้มีส่วนสัมพันธ์โดยตรงมาจากรูปแบบของโทษปรับที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันที่กำหนดเอาไว้เป็นจำนวนแน่นอนตายตัวโดยพิจารณาถึงแต่เฉพาะความร้ายแรงของความผิดเพียงอย่างเดียว แต่มิได้คำนึงถึงฐานะทางการเงินของบุคคลที่มีความแตกต่างกันออกไป อันเป็นอุปสรรคขัดขวางทำให้โทษปรับถูกลดประสิทธิภาพลงไป โทษปรับตามวันและรายได้เป็นโทษปรับในอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงขึ้นมาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของโทษปรับแบบตายตัว และเป็นโทษปรับที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในต่างประเทศถึงความมีประสิทธิภาพและความสำเร็จในการนำมาบังคับใช้แทนที่โทษปรับแบบตายตัวมานานแล้ว โดยโทษปรับตามวันและรายได้ไม่เพียงแต่จะพิจารณาถึงความร้ายแรงของความผิดเท่านั้น แต่ยังได้นำเอาสถานภาพทางการเงินของผู้กระทำความผิดเข้ามาเป็นหลักในการพิจารณากำหนดโทษปรับควบคู่กันไป ในการกำหนดโทษปรับตามวันและรายได้ ฐานะรายได้ของผู้กระทำความผิดจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ขนาดของโทษปรับมีความแตกต่างกันออกไป ส่งผลให้โทษปรับตามวันและรายได้มีความเหมาะสมกับผู้กระทำความผิดและมีประสิทธิภาพเหนือกว่าโทษปรับแบบตายตัว ทั้งยังสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้โทษปรับแบบตายตัวได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้โทษปรับในคดีสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย โดยการนำโทษปรับตามวันและรายได้มาบังคับใช้แทนที่โทษปรับแบบเดิม เพื่อให้การบังคับใช้โทษปรับในคดีสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างสัมฤทธิ์ผลและเกิดประสิทธิผลได้อย่างเต็มที่ต่อไป
Other Abstract: This thesis is aimed to study the enforcement of fine penalty in environmental cases in Thailand. Fine penalty is regarded as a very significant criminal sanction in environmental cases as it is most commonly used in legal practice in Thailand together with other countries. Theoretically, fine penalty is the most suitable sanction to apply to environmental cases. Nevertheless, according to the study, it is found that the enforcement of fine penalty in Thailand still reports a number of problems. That is to say, fine penalty currently employed does not seem to be in line with the objectives of punishment, the change in society, the economic benefit that could be generated and also leads to the problem related to the government budget. The form of fine penalty being used recently leads to these problems since the amount of fine is fixed and only taking the seriousness of offense into account regardless of the offender’s ability to pay. These problems are the obstacles that decrease effectiveness of fine penalty. Day fine is a different approach of imposing fine which aim to overcome the disadvantages of traditional fixed-sum fine. Since this system takes not only the seriousness of offense but also the financial circumstance of the offender into consideration, it is accepted worldwide that day fine permits a more equitable use of fine and increase more fairly than typical fixed fine. In day fine system, the financial circumstances of an offender is an important factor to determine fine amount that widely varies; therefore, day fine can provide each offender the proportional amount of fine, also it can solve the problems associated with the current enforcement of fine penalty. According to what have been stated above, the author would like to propose the adoption of day fine system as a replacement for the fixed-sum fine currently use in Thai environmental cases in order to bring about effectiveness and efficiency in enforcement of fine penalty.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43790
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1259
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1259
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5386037134.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.