Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43824
Title: การควบคุมกำลังรีแอกทีฟทางด้านโรเตอร์สำหรับระบบควบคุมเวกเตอร์ไร้เซนเซอร์วัดตำแหน่งของเครื่องจักรกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำชนิดป้อนสองทาง
Other Titles: A ROTOR-SIDE REACTIVE POWER CONTROL FOR POSITION-SENSORLESS VECTOR CONTROL SYSTEM OF DOUBLY-FED INDUCTION MACHINES
Authors: สมรัฐ สมิทธิสมบูรณ์
Advisors: สุรพงศ์ สุวรรณกวิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: surapong.su@chula.ac.th
Subjects: เครื่องจักรกลไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้า
Electric machinery
Electric currents
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอวิธีประมาณค่าความเร็วและตำแหน่งโรเตอร์แบบใหม่สำหรับระบบควบคุมเวกเตอร์แบบไร้เซนเซอร์วัดตำแหน่งสำหรับเครื่องจักรกลไฟฟ้าเหนี่ยวนำชนิดป้อนสองทางที่มีการควบคุมกำลังรีแอกทีฟทางด้านโรเตอร์ โดยตัวสังเกตลดอันดับแบบปรับตัวจะประมาณค่าความเร็วและตำแหน่งโรเตอร์จากแบบจำลองค่าผิดพลาดทางด้านสเตเตอร์ และมีกระแสโรเตอร์เป็นเวกเตอร์รีเกรสเซอร์ ระบบประมาณจึงสามารถทำงานในโหมดควบคุมกำลังรีแอกทีฟตามข้อกำหนดโครงข่ายไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ระบบประมาณยังมีการคำนวณที่เรียบง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลสเตเตอร์ฟลักซ์ ทำให้ลดปัญหาการเลื่อนของสัญญาณไฟตรงได้ งานวิจัยที่นำเสนอยังได้ศึกษาถึงขีดจำกัดในการทำงานของระบบประมาณ โดยการวิเคราะห์เสถียรภาพด้วยวิธีประมาณระบบเป็นเชิงเส้น รวมถึงนำเสนอขั้นตอนการออกแบบอัตราขยายการปรับตัวควบคุมแบบ PI ด้วย ผลการทดลองด้วยโปรแกรม Matlab/Simulink และผลการทดลองด้วยระบบทดสอบสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ทางทฤษฎี โดยระบบควบคุมเวกเตอร์แบบไร้เซนเซอร์วัดตำแหน่งสามารถทำงานได้ที่ทุกเงื่อนไขการทำงานในโหมดควบคุมกำลังรีแอกทีฟทางด้านโรเตอร์ และสามารถควบคุมกระแสโรเตอร์ได้อย่างอิสระสอดคล้องกับทฤษฎีการควบคุมแบบแยกการเชื่อมร่วม
Other Abstract: In this thesis, a novel estimation method of rotor speed and position is proposed for a position-sensorless vector control of doubly-fed induction machines with rotor-side reactive power control. The proposed method is based on the reduced-order adaptive observer. By using the stator error model and the reactive power control on the rotor side, the rotor current can be treated as the regressor vector, and the position estimation system is identifiable for all operating conditions. The system can also comply with grid codes. Furthermore, the calculation of estimation system is simple without pure integration for stator flux calculation, the drift problem can be avoided. The stability of position estimation system is analyzed by the linearization approach. Design guidelines position estimation of adaptation gains are also described. Simulation results with Matlab/Simulink program and experimental results from real implementation confirm the validity of theoretical results. The position-sensorless vector control can work correctly along with the rotor-side reactive power control and also rotor currents can be controlled independently corresponding to the decoupling contor.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43824
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1281
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1281
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470488921.pdf5.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.