Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44520
Title: เรื่องเล่าแนว "รักโศก" และกลวิธีการให้คำปรึกษาในพื้นที่สื่อสาธารณะ: กรณีศึกษารายการวิทยุ "คลับฟรายเดย์"
Other Titles: NARRATIVES OF TRAGIC LOVE AND COUNSELING TECHNIQUES IN PUBLIC MEDIASCAPE : A CASE STUDY OF CLUB FRIDAY RADIO PROGRAM
Authors: เกศสุดา นาสีเคน
Advisors: ศิราพร ณ ถลาง
ศิริพร ภักดีผาสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Siraporn.N@Chula.ac.th
Siriporn.Ph@Chula.ac.th
Subjects: รายการวิทยุคลับฟรายเดย์
การให้คำปรึกษา
รายการวิทยุ -- ไทย
Club Friday radio program
Counseling
Radio programs -- Thailand
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาและประเภทของเรื่องเล่าแนว "รักโศก" จากชีวิตรักของผู้ฟังที่เข้ามาเล่าเรื่องในรายการวิทยุ "คลับฟรายเดย์" ตลอดจนศึกษากลวิธีการให้คำปรึกษาในรายการ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาสุ่มจากคลิปวิดีโอรายการย้อนหลังในเดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ.2555 จำนวน 12 ตอน เรื่องเล่า 66 เรื่อง การวิเคราะห์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งทางคติชนวิทยา ระเบียบวิธีทางวรรณกรรมคือศาสตร์แห่งการเล่าเรื่อง และระเบียบทางภาษาคือชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีทางคติชนวิทยา คือ แบบเรื่องนิทาน ของ สติธ ธอมป์สัน ในการจัดประเภทเรื่องเล่าจากรายการ สามารถจำแนกเรื่องเล่าปัญหาชีวิตรักเพื่อให้เห็นภาพรวมได้ 8 แบบเรื่องใหญ่ ๆ ได้แก่ แบบเรื่องคนรักนอกใจ แบบเรื่องรักคนมีเจ้าของ แบบเรื่องนอกใจคนรัก แบบเรื่องไม่มั่นใจในความรัก แบบเรื่องนิสัยเข้ากันไม่ได้ แบบเรื่องแอบรักข้างเดียว แบบเรื่องรักที่ไม่ได้รับการยอมรับ และแบบเรื่องรักที่ต้องพลัดพรากจากกันเพราะความตาย จากการศึกษาองค์ประกอบของเรื่องเล่าตามแนวศาสตร์แห่งการเล่าเรื่องทำให้พบว่าตัวละครและฉากบรรยากาศสะท้อนภาพคนชั้นกลางในสังคมเมือง ลักษณะเด่นของเรื่องเล่าแนว "รักโศก" คือ มีที่มาจากชีวิตจริง ลีลาในการเล่าเรื่องมีความเป็นธรรมชาติ และเรื่องเล่าส่วนใหญ่จบแบบปลายเปิดโดยทิ้งปมปัญหาไว้เพื่อให้ผู้ดำเนินรายการช่วยคลี่คลาย การศึกษาเรื่องเล่าปัญหาชีวิตรักทำให้เห็นภาพสะท้อนชีวิตสังคมเมือง ได้แก่ ค่านิยมการอยู่ก่อนแต่งงาน ปัญหาเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ปัญหาชู้สาวในสถานที่ทำงาน ปัญหาแม่เลี้ยงเดี่ยว ปัญหาสังคมไม่ยอมรับความรักเพศเดียวกัน และเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ การวิเคราะห์องค์ประกอบการสื่อสารตามแนวชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสารของเดลล์ ไฮมส์ พบว่าผู้เล่าเรื่อง 66 คน มีผู้เล่าเพศหญิง 53 คน และเพศชาย 13 คน แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ของรายการมีเพศหญิงนิยมเข้ามาใช้งานมากกว่าเพศชาย เป็นกลุ่มคนวัยทำงานและนักศึกษาซึ่งนับว่าเป็นกลุ่มคนเมืองที่มีการศึกษา การสื่อสารในพื้นที่สื่อสาธารณะที่ได้ทำให้เกิดการสนทนาปัญหาความรักแบบไม่เผชิญหน้าโดยตรงเอื้อให้ผู้เล่ากล้าเปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวที่เป็นความลับ ทั้งนี้ได้เกิดจากบรรทัดฐานในการปฏิสัมพันธ์ที่ผู้ฟังมีการยอมรับข้อตกลงร่วมกันว่าผู้ดำเนินรายการมีสถานภาพสูงกว่าตนเองทั้งด้านวัยวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา การยอมรับความต่างสถานภาพเอื้อให้ผู้ดำเนินรายการใช้กลวิธีการให้คำปรึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ กลวิธีที่ใช้ได้แก่ การขอให้ผู้ขอรับคำปรึกษาได้เล่าเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบ และกลวิธีการใช้ภาษาและถ้อยคำที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เล่าคลายทุกข์ การให้คำปรึกษาของผู้ดำเนินรายการมีบทบาทสำคัญในการคลี่คลายความขัดแย้งปัญหาชีวิตรักโดยมักจะเน้นย้ำเรื่อง การตระหนักสิทธิในการกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง การเตือนให้นึกถึงจิตใจของผู้อื่น การปรับทัศนะให้เกิดความเข้าใจกัน การปรับวิธีคิดเรื่องการรักเพศเดียวกัน และการแนะให้เริ่มต้นชีวิตใหม่ การสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้าเอื้อให้ผู้ดำเนินรายการมีบทบาทในการทำหน้าที่ "พี่สาว" ที่คอยสอนความประพฤติโดยเน้นแนวคิดสมัยใหม่ ได้แก่ การสอนให้รักการเรียนเพื่อวางรากฐานในการประกอบอาชีพ การสอนให้ตระหนักถึงสิทธิและความเสมอภาคของชายหญิง การเห็นคุณค่าในตัวเองจากการทำงาน และการต่อต้านความรุนแรงในครอบครัว แต่ในขณะเดียวกันก็มีการสืบทอดคำสอนที่มีมาแต่โบราณ ได้แก่ การสอนให้รักนวลสงวนตัว การสอนเรื่องความกตัญญู การสอนด้วยเรื่องเวรกรรม และการสอนเรื่องทำบุญให้ทาน รายการวิทยุ "คลับฟรายเดย์" จึงมีบทบาทเป็นพื้นที่ในการระบายความคับข้องใจให้กับคนที่ประสบปัญหาชีวิตรักในสังคมไทย เรื่องเล่าในรายการวิทยุ "คลับฟรายเดย์" จึงนับว่าเป็น "คติชนสมัยใหม่" ของ "กลุ่มชาวเมือง" ที่ใช้ชีวิตผูกพันอยู่กับพื้นที่สื่อสาธารณะในสังคมไทยสมัยใหม่ในปัจจุบัน
Other Abstract: The thesis aims to study the contents and types of the tragic love narratives from the radio program called, "Club Friday" and also to analyze the counseling techniques of the radio program. The data used in the study were randomly selected from January to December of 2012. In total, 66 stories from 12 episodes were collected. The frameworks and concepts in Folklore, Narratology, and Ethnography of Speaking are applied for data analysis. Stith Thompson's Tale Type, a methodology in Folklore, is applied to categorize the tragic love narratives into 8 tale types: being cheated on, loving someone who is already taken, story of cheating, lacking of confidence in love, problem in getting along with lover, unrequited love, unaccepted love, and separation by death. Narratology, a science of narratives, is applied to analyze the components of the stories. It is found that characters and settings in the narratives reflect the stories of middle class in urban Thai society. Key characteristics of the tragic love narratives are that the narratives are based of true story with fluid narration and open ending. The urban issues reflected are social values concerning pre-marital sex and cohabitation before marriage, economic problems affecting relationship, adultery in workplace, single parenting, unaccepted homosexuality, new kinds of relationship through on-line social networking. Narrating through the radio program can be self-healing for the narrators via expressing their frustration. Dell Hymes's Ethnography of Speaking is applied in analyzing the components of the communication in the radio program. The narrators consist of 66, 53 females and 13 males, revealing more participation of women. They are in working age and university students which are considered educated people. Communication through public space without face-to-face confrontation encourages the narrators to uncover personal secrecy. Also, it is a mutual agreement that, by norm of interaction, the radio hosts (DJ) are perceived to have higher status in seniority and being professional in counseling. Accepting the difference status allows the hosts to carry out the counseling techniques efficiently. The counseling techniques used by the host are: asking the narrators to unfold their story from the beginning to the end, and adopting various linguistic strategies to ease narrators' concern and unhappiness. The hosts then have a significant role to disentangle love conflicts by making the narrators realize their self-determination, reminding the narrators to have sympathy for others, to adjust the attitude toward other people, to change attitudes about homosexuality, and suggesting them to start all over. Communication without confrontation also allows the hosts to act like an "older sister" teaching modern concepts such as paying attention to learning which is crucial for one's future, realizing the significance of gender equality, gaining self-esteem from hard working, fighting against domestic violence. In the meantime, the hosts also pass on traditional values such as preserving one's purity, being grateful, believing in the law of karma and making merit. "Club Friday" program thus plays an important role as social outlet in public media space for people having love conflicts in Thai society. The tragic love narratives in the Club Friday radio program can then be perceived as "modern folklore" of the "city folks" whose ways of lives are associated with public media space in contemporary Thai society.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44520
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.538
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.538
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5480112522.pdf5.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.