Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45833
Title: การกำหนดความผิดฐานดักฟังการสื่อสารที่เป็นการส่วนตัวโดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์
Other Titles: Criminalization of Interception of Private Communication by Using Electronic Devices
Authors: อภิศิษฏ์ ภู่ภัทรางค์
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Viraphong.B@Chula.ac.th,viraphong.b@chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการกำหนดความผิดฐานดักฟังการสื่อสารที่เป็นการส่วนตัว และมาตรการทางอาญาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ความเป็นส่วนตัวในการติดต่อสื่อสาร หรือสิทธิความเป็นส่วนตัวทางการสื่อสาร (Privacy of Communication) ซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติที่สำคัญประการหนึ่งของมนุษย์ จากการศึกษาพบว่า ในประเทศไทยมิได้มีบทบัญญัติตามกฎหมายที่ได้ให้การคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวทางการสื่อสารของประชาชนจากการดักฟังหรือลอบบันทึกการสื่อสารที่เป็นการส่วนตัวอย่างชัดแจ้ง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลงโทษผู้กระทำการดักฟังหรือลอบบันทึกการสื่อสารที่เป็นการส่วนตัวโดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศไทย ทั้งนี้ ในอดีตประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ได้มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการกำหนดความผิดฐานดักฟังการสื่อสารที่เป็นการส่วนตัว และมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อันส่งผลให้มีการคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวทางการสื่อสาร หรือสิทธิในชีวิตส่วนตัวและการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ ผู้ศึกษาจึงเห็นสมควรที่จะเสนอแนะให้มีการกำหนดความผิดฐานดักฟังการสื่อสารที่เป็นการส่วนตัวโดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามกฎหมายในประเทศไทย เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ส่งสารหรือคู่สนทนาในการสื่อสารที่สามารถคาดหมายในความเป็นส่วนตัวได้ ตามหลัก Expectation of Privacy ประกอบกับมาตรการทางอาญาที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ การกำหนดความผิดฐานเผยแพร่ข้อมูลจากการดักฟังการสื่อสารที่เป็นการส่วนตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และการกำหนดแนวทางในการบัญญัติกฎหมายเพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจดักฟังการสื่อสารที่เป็นการส่วนตัวตามกฎหมายในประเทศไทย เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ความคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวทางการสื่อสารของประชาชน เพื่อยับยั้งป้องกันการดักฟังหรือลอบบันทึกการสื่อสารที่เป็นการส่วนตัวโดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์สำหรับเจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินการเข้าถึงและได้มาซึ่งข้อมูลการติดต่อสื่อสาร ภายใต้พื้นฐานแห่งการเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวและการติดต่อสื่อสารของประชาชน
Other Abstract: This thesis has conducted research on the protection of private life and correspondence against the interception of private communication, which is regarded as one of the fundamental rights recognized and protected by various international protocols and many countries’ constitutions. According to the research, although Thai laws have outlawed the actions regarding wiretapping and eavesdropping data in computer system, the use of electronic devices to intercept or surreptitiously record face-to-face communication in a private circumstance has not yet been recognized as illegal activity by such laws. On the other hand, many developed countries have criminalized the interception of private communication and imposed the relating effective legal sanctions to solve the unlawful interception problems. Having realized the outlined problems, the researcher holds a view that Thailand should adopt the law that criminalizes the interception of private communication in compliance with the Expectation of Privacy theory. This theory provides protection to a person who has justifiable expectation of privacy that his communication is not subject to interception by others. The person who has justifiable expectation of privacy is deemed to be the person with respect of private life and correspondence. In addition, it is recommended that Thai law prohibit the disclosure of information obtained by unlawful interception of private communication and set out criteria regarding the acquirement of lawful eavesdropping data for the government authority, especially in communication, in order to protect private life and correspondence of Thai citizens.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45833
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686035134.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.