Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46910
Title: | บรรยากาศองค์การ ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และความผูกพันในงานของพนักงานเจนวาย : การวิจัยผสานวิธี |
Other Titles: | ORGANIZATIONAL CLIMATE, PERSON-JOB FIT, AND WORK ENGAGEMENT OF GENERATION-Y EMPLOYEES : A MIXED METHODS STUDY |
Authors: | ชลลดา อรุณสันติโรจน์ ชิดชนก คงสมพงษ์ วธูสิริ พรหมดวง |
Advisors: | อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | arunya.t@chula.ac.th |
Subjects: | ความผูกพันต่อองค์การ การทำงาน -- แง่จิตวิทยา จิตวิทยาองค์การ anizational commitment Work -- Psychological aspects |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การ ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน และความผูกพันในงานของพนักงานเจนวาย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ คือ พนักงานเจนวายที่ทำงานบริษัทเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 120 คน และผู้ให้ข้อมูลในเชิงคุณภาพ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) มาตรวัดบรรยากาศในองค์การ (2) มาตรวัดความสอดคล้องของบุคคลกับงาน (3) มาตรวัดความผูกพันในงาน และ (4) ชุดคำถามสัมภาษณ์ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า (1) บรรยากาศองค์การ 5 ใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านมาตรฐาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านการได้รับการยอมรับ ด้านการสนับสนุน และด้านความยึดมั่นผูกพัน มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความผูกพันในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงานทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ความต้องการของงานกับความสามารถที่มีของบุคคล และความต้องการภายในของบุคคลกับปัจจัยที่งานมีให้ มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความผูกพันในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) บรรยากาศองค์การ 6 ด้าน และความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน 2 ด้าน สามารถทำนายความผูกพันในงานได้ร้อยละ 46 โดยมีความสอดคล้องระหว่างบุคคลกับงาน ด้านปัจจัยในงานตอบสนองต่อความต้องการภายในของบุคคล เป็นตัวเดียวที่สามารถอธิบายความผูกพันในงานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (β = .40, p< .01) สำหรับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า สอดคล้องกับข้อมูลเชิงปริมาณที่ว่า พนักงานเจนวายที่มีความผูกพันในงานสูงจะรับรู้มาตรฐานในการทำงานที่สูง มีความรับผิดชอบในงานของตนเองอย่างเต็มที่ มีเพื่อนร่วมงานที่ดี มีความภาคภูมิใจในงาน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ รวมถึงรับรู้ว่าตนเองมีคุณสมบัติเหมาะสมกับงาน และงานสามารถตอบสนองต่อความต้องการส่วนบุคคลได้ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้พนักงานเจนวายผูกพันกับงานและคงอยู่ในงานปัจจุบันต่อไป |
Other Abstract: | The purpose of this research is to examine relationship between organizational climate, person-job fit, and work engagement among generation-y employees by using a concurrent triangulation mixed methods research. Participants were 120 gen-y employees in the Bangkok metropolis completed questionnaire, and 6 gen-y employees were interviewed. The instruments were The Climate Questionnaire, Person-Environment Fit Scales, Work Engagement Scales, and an interview protocol. Findings were as follows (1) 5 out of 6 dimensions of organizational climates; standard, responsibility, recognition, support, and commitment were positively correlated with work engagement which is significantly different from zero at alpha level .01 (2) 2 dimensions of person-job fit; demand-ability job fit and need-supplies job fit were positively correlated with work engagement which is significantly different from zero at alpha level .01 (3) 6 dimensions of organizational climates and 2 dimensions of person-job fit predicted work engagement at 46 percent which is significantly different from zero at alpha level .01, which need-supplies job fit is the best predictor in this sudy. Finding from qualitative analysis supported the quantitative finding that gen-y employees who has a high work engagement perceived high standard of work, be freely responsible for work, have a good co-workers, be proud of own work, and be the part of organization, including perceived that their ability fit a job demand and a job satisfies their needs.These factors make gen-y employees engaged with a work and keep employees to continuing working without turn over. |
Description: | โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2014 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46910 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1389 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1389 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Psy - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chollada_ar.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.