Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48123
Title: การศึกษาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ตามการรับรู้ของครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: A study of school environment facilitating social studies instruction as perceived by social studies teachers in secondary schools, Bangkok metropolis
Authors: สรัสนันท์ ศรีประทักษ์
Advisors: วลัย พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Walai.P@chula.ac.th
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ตามการรับรู้ของครูสังคมศึกษา ในโรงเรียนมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร ใน 3 ด้าน คือ สภาพแวดล้อมด้านกายภาพ สภาพแวดล้อมด้านวิชาการ และสภาพแวดล้อมด้านการบริหารและการจัดการ โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ถามครูสังคมศึกษาจำนวน 355 คน ซึ่งสุ่มได้จากโรงเรียนมัธยมศึกษา 37 โรง ในสังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. สภาพแวดล้อมด้านกายภาพ ครูสังคมศึกษารับรู้ว่า โดยส่วนรวมโรงเรียนมีลักษณะสภาพแวดล้อมด้านกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับน้อย แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดครูสังคมศึกษารับรู้ว่า โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมด้านกายภาพที่เอื้อต่อการเรียนการสอนวิชาสังคมในระดับมากในประเด็นต่อไปนี้ คือ การมีพระพุทธรูปประจำโรงเรียน ห้องเรียนมีแสงสว่างมีการถ่ายเทอากาศและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนที่เหมาะสม บริเวณโรงเรียนและอาคารเรียนได้รับการตกแต่งให้เป็นระเบียบและสวยงาม 2. สภาพแวดล้อมด้านวิชาการ ครูสังคมศึกษารับรู้ว่า โดยส่วนรวมโรงเรียนมีลักษณะสภาพแวดล้อมด้านวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดครูสังคมศึกษารับรู้ว่า โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมด้านวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับน้อยในประเด็นต่อไปนี้ คือ การสอนที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง การจัดกิจกรรมให้นักเรียนกล้าแสดงออก การเปิดโอกาสให้นักเรียนค้นคว้าด้วยตนเอง และการจัดแข่งขันตอบปัญหาทางสังคมศึกษา 3. สภาพแวดล้อมด้านการบริหารและการจัดการ ครูสังคมศึกษารับรู้ว่า โดยส่วนรวมโรงเรียนมีลักษณะสภาพแวดล้อมด้านการบริหารและการจัดการที่เอื้อต่อการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดครูสังคมศึกษารับรู้ว่า โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมด้านการบริหารและการจัดการที่เอื้อต่อการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับน้อยในประเด็นต่อไปนี้ คือ การพาครูไปเยี่ยมชมการเรียนการสอนของโรงเรียนอื่น การเปิดโอกาสให้ครูแสดงความสามรถทางวิชาการ และการพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้บริหารกับครู
Other Abstract: The purpose of this research was to study school environment facilitating social studies instruction as perceived by social studies teachers in secondary schools in Bangkok Metropolis in the three aspects : physical environment, academic environment, and administrative and organizational environment. A set of questionnaires constructed by the researcher was administered to 355 social studies teachers which were randomly selected from 37 secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education in Bangkok Metropolis. The findings of the study were as follows : 1. In the aspect of physical environment, the social studies teachers perceived that the physical environment as a whole actually facilitated social studies instruction at the low level. Considering in detail, however, the physical environment facilitating social studies instruction at the high level included the presence of Budda Image in the school, classrooms having adequate light, ventilation and instructional facilities, and the beautiful and orderly decoration of school compound and buildings. 2. In the aspect of academic environment, the social studies teachers perceived that the academic environment as a whole actually facilitated social studies instruction at the high level. Considering in detail, however, the academic environment facilitating social studies instruction at the low level included the student-centered instruction, the arrangement of activities that encourage students’ self-expression, giving students the opportunities for self-study, and the arrangement for social studies quiz competition. 3. In the aspect of administrative and organizational environment, the social studies teachers perceived that the administrative and organizational environment as a whole actually facilitated social studies instruction at the high level. Considering in detail, however, the administrative and organizational facilitationg social studies instruction at the low level included providing teachers opportunities to observe other school’s social studies instruction and perform academic competency, and having casual recreational meeting of school administrators and teachers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48123
ISBN: 9745787809
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saratsanan_br_front.pdf6.18 MBAdobe PDFView/Open
Saratsanan_br_ch1.pdf5.19 MBAdobe PDFView/Open
Saratsanan_br_ch2.pdf4.74 MBAdobe PDFView/Open
Saratsanan_br_ch3.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open
Saratsanan_br_ch4.pdf10.45 MBAdobe PDFView/Open
Saratsanan_br_ch5.pdf8.78 MBAdobe PDFView/Open
Saratsanan_br_back.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.