Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48557
Title: การศึกษาการปฏิบัติงานของศูนย์วิชาการเขต สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: A study of performance of the academic centers under the department of education, Bangkok metropolitan administration
Authors: สำเนา จริตธรรม
Advisors: อุทัย บุญประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Uthai.B@chula.ac.th
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของศูนย์วิชาการเขต และศึกษาปัญหาในการดำเนินงานของศูนย์วิชาการเขต สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดรูปแบบโครงสร้างของคณะกรรมการบริหารโครงการศูนย์วิชาการระดับสำนักการศึกษา มิได้จัดให้เป็นไปตามคู่มือปฏิบัติงานศูนย์วิชาการเขตกำหนด แต่ศูนย์วิชาการในระดับสำนักงานเขต พบว่า ทุกศูนย์วิชาการจัดรูปแบบโครงสร้างเป็นไปตามคู่มือกำหนด 2. การปฏิบัติงานของคณะกรรมการระดับสำนักการศึกษา และระดับเขตเป็นไปตามบทบาทที่กำหนดในคู่มือปฏิบัติงานศูนย์วิชาการเขต 3. การประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการประเมินตนเอง ส่วนใหญ่ทุกระดับยังไม่มีการปฏิบัติมีเพียงคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์วิชาการเขตที่มีการประเมินตนเอง ส่วนการประเมินผลการปฏิบัติว่าบรรลุจุดประสงค์มากน้อยเพียงใดนั้น ปรากฏว่า ในด้านการระดมสรรพกำลังในเขตมาพัฒนาการศึกษาตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคลประสบผลสำเร็จมากที่สุด 4. ปัญหาในการดำเนินงานของศูนย์วิชาการเขต คือ ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานขาดความเข้าใจในหลักการดำเนินงานของศูนย์วิชาการเขต และคณะกรรมการมีมากคณะเกินไป ทำให้ผู้บริหารและครูแต่ละคนต้องทำงานหลายหน้าที่
Other Abstract: The objectives of this study were to study performance of the Academic Centers Under' the Department of Education, Bangkok Metropolitan Administration, and its problems. The findings were as follows: 1. A structural organization of the administrative board of academic center at the department level did not fully follow the instruction of the academic center, but at district level did follow. 2. Perfomance of the committee at department level and at district level were according with the roles as described in the academic center's performance instruction. 3. It was found that almost all level did not operate self evaluation, except the committee of the district level. As regard to achievement evaluation, the highest accomplishment approved in area of human resource mobilizing to develop education. 4. The major problems at academic center were that those who were responsible for this task lacked of understanding of the principle of the academic center's performance, and excess number of committees which caused administrations and instructions heavy burden.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48557
ISBN: 9745823295
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Samnao_ch_front.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Samnao_ch_ch1.pdf943.93 kBAdobe PDFView/Open
Samnao_ch_ch2.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open
Samnao_ch_ch3.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Samnao_ch_ch4.pdf4.54 MBAdobe PDFView/Open
Samnao_ch_ch5.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Samnao_ch_back.pdf6.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.