Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48860
Title: | ความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน |
Other Titles: | Opinions of parents concerning caring of pre-school children |
Authors: | ศิลป์ชัย เทศนา |
Advisors: | เลขา ปิยะอัจฉริยะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | เด็ก -- การดูแล เด็กวัยก่อนเข้าเรียน |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบสภาพปัญหาและความต้องการความรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน ตัวอย่างประชากรเป็นผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในจังหวัดอุทัยธานี โดยแบ่งเป็นผู้ปกครองในเขตเทศบาลเมืองอุทัยธานี จำนวน 186 คน และผู้ปกครองนอกเขตเทศบาลเมืองอุทัยธานี จำนวน 125 คน รวมเป็นตัวอย่างประชากร 311 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองโดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดคิดเห็นเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลส่วนใหญ่แตกต่างกัน ในส่วนของความคิดเห็นของผู้ปกครองในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาลที่แตกต่างกัน พอสรุปแยกตามประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้ 1. ปัญหาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน ผู้ปกครองในเขตเทศบาลมีปัญหาเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กมากกว่าผู้ปกครองนอกเขตเทศบาลในปัญหาหมวดต่างๆ ดังนี้ ก. ปัญหาที่เกี่ยวกับผู้ปกครอง ผู้ปกครองในเขตเทศบาลส่วนใหญ่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลเด็กแทน และมีปัญหาบ้างเล็กน้อยในเรื่องรายได้ของครอบครัว ตลอดจนวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่แตกต่างกันบ้างระหว่างพ่อแม่ของเด็กกับญาติผู้ใหญ่ในบ้าน เรื่องที่ผู้ปกครองในเขตเทศบาลมีปัญหาน้อยกว่าผู้ปกครองนอกเขตเทศบาล ได้แก่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กและพัฒนาการของเด็ก ซึ่งผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความรู้บ้างเล็กน้อย เกี่ยวกับสถานที่รักษาพยาบาล ผู้ปกครองในเขตเทศบาลอยู่ไม่ไกลจากสถานที่รักษาพยาบาล ส่วนผู้ปกครองนอกเขตเทศบาลส่วนใหญ่อยู่ไกลจากสถานที่รักษาพยาบาลพอควรแต่ไม่มีปัญหาในการเดินทาง ข. ปัญหาที่เกี่ยวกับเด็ก เด็กที่เลือกอาหารส่วนใหญ่ไม่ชอบรับประทานผัก เด็กที่นอนดึกเสมอๆ ส่วนใหญ่ติดรายการโทรทัศน์ เด็กที่มีปัญหาในการเข้าสังคม เช่น ขี้อาย ชอบเก็บตัวมีเป็นจำนวนน้อย เด็กส่วนใหญ่มีการเจริญเติบโตของร่างกายเป็นปกติ จะมีปัญหาบ้างคือเด็กที่มีน้ำหนักหรือส่วนสูงผิดไปจากเด็กอื่นๆ ซึ่งมีจำนวนน้อย ค. ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับเด็กในด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่สถานที่ให้เด็กเล่นหรือพักผ่อนที่จำกัดและไม่ค่อยจะปลอดภัย เด็กเป็นจำนวนน้อยไม่มีเพื่อนเล่นที่บ้านและมีปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยคับแคบ หรือมีสิ่งรบกวน 2. แหล่งความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่ผู้ปกครองได้รับ ผู้ปกครองในเขตเทศบาลได้รับความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กและพัฒนาการของเด็กมากกว่าผู้ปกครองนอกเขตเทศบาล ความรู้ที่ได้รับมาจะมาจากแหล่งความรู้ต่อไปนี้คือ จากผู้มีประสบการณ์มาก่อน เช่น บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ จากแพทย์ พยาบาล ผดุงครรภ์ จากการอ่านหนังสือ วารสาร นิตยสารเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก และจากการดูโทรทัศน์ 3. ความต้องการความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองในเขตเทศบาลแสดงความต้องการความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กมากกว่าผู้ปกครองนอกเขตเทศบาล แหล่งความรู้ที่ผู้ปกครองในเขตเทศบาลสามารถหาได้ ได้แก่ จากการเข้ารับการอบรม จากหนังสือคู่มือ เอกสาร คำแนะนำเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กจากหนังสือวารสาร นิตยสารเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก จากรายการวิทยุ จากรายการโทรทัศน์และจากหนังสือพิมพ์รายวัน ดังมีรายละเอียดของแหล่งความรู้ต่างๆ ต่อไปนี้ ก. การเข้ารับการอบรม ผู้ปกครองในเขตเทศบาลส่วนใหญ่ต้องการเข้ารับการอบรมในวันหยุดราชการ และใช้เวลาในการอบรม 2-3 วัน ข. หนังสือคู่มือเอกสารคำแนะนำเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องการอ่านหนังสือที่มีความหนาประมาณ 10 - 20 หน้า มีภาพประกอบในหนังสือเป็นภาพถ่าย ค. หนังสือวารสาร นิตยสารเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องการให้หนังสือออกจำหน่ายเป็นรายปักษ์ และขายในราคาประมาณ 10 - 15 บาท ง. รายการวิทยุ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องการให้จัดรายการความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ในช่วงเวลา 6.00 - 7.00 น. โดยมีความยาวของรายการเป็นเวลา 30 นาที ในทุกๆ สัปดาห์ จ. รายการโทรทัศน์ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องการให้จัดรายการความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 เพราะสามารถรับภาพได้ชัดเจน ในวันหยุดราชการ ช่วงเวลา 8.00 – 10.00 น. โดยมีความยาวของรายการ 30 นาที ฉ. หนังสือพิมพ์รายวัน ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องการให้มีคอลัมน์ที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเนื่องจากอ่านอยู่เป็นประจำ |
Other Abstract: | The purpose of this research was to, study and compare the problems and parents’ needs in knowledge concerning the upbringing of the pre-school children. The samples were 311 pre-school children’s parents in Utaithanee province-compoing of 189 pre-school children’s parents in the municipal area and 125 pre-school children’s parents outside the municipal area. A questionnaire was designed to got parents' opinions about the problems and needs in knowledge concerning the pre-school child care. The collected data were analyzed by using mean and standard deviation, and the parents' opinions were compared by the use of t-test. The research results indicated that most of the opinions concerning the upbringing of the pre-school children of parents in and outside the municipal area were different. However, there were some-differences in the opinions of parents both in and outside the municipal areas which could be summarized as follows: 1. Problems concerning the pre-school child care Parents in the municipal areas had more problems in child-upbringing than parent outside the municipal areas in the following aspects. a. Problems concerning the parents. Most of parents in the municipal area had to go to work outside thus there must be somebody to take care of their children, and there were some problems caused by the differences parents and those of senior relatives in the family. Parents in the municipal area had lesser problems related to the basic knowledge of child care than the parents outside the municipal area were .Most of the parents in the municipal area had little knowledge about it. Parents in the municipal area did not live far from clinics or hospitals, while most of the parents outside the Municipal area lived moderately far from them, However there were no problems in traveling b. Problems concerning the children. Most of the children who were selective in vegetables, Most children who to bed very late were T.V. addicts. There was a little number of the children who had social problems such as being shy and shut in. Most of the children had normal growth rate, but there was a small number having abnormal weight and height. C. Problems concerning the environment. Public growths for children's recreation and play were limited and rather with poor safety. There was a small number of children who had no friends at home and who had problems living in clouded and noisy residential area 2. Sources of the child-upbringing knowledge Parents in the municipal area received more knowledge about child care than parents outside the municipal areas. The obtained knowledge were from the following resources : from doctors, nurses and midwives ; from reading books, journals and magazines, and from television. 3. Parents needs in of knowledge in child care Parents in the municipal area expressed more desires in knowledge of child-care than parents outside the municipal area. The sources from which parents in the municipal area could get the knowledge were training, guidebooks, manuals, documents, Journals, magazines; radio and television programs and daily newspapers. The details of these sources are as follows: a. Training participations. Most parents wanted to participate in two or three day training programs during week-ends. b. Manuals, documents and advices concerning child-care. Most parents wanted to read ten or twenty page books in which the illustrations are photographs. C. Journals and magazines about child care. Most parents wanted fortnightly magazines and at 10-15 baht price. d. Radio programs. Most parents wanted thirty minutes weekly programs about child care, broadcasted through the National Broadcasting Radio of Thailand, Public Relations Department, during 6.00 – 7.00 o'clock. e. Television programs. Most parents wanted the thirty minute child care programs, broadcasted through the Army Television Station, channel 5, during 8.00 – 10.00 o'clock. d. Daily newspapers. Most parents wanted a column about the caring of young child in the "Thairat" newspaper. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48860 |
ISBN: | 9745634557 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sinchai_te_front.pdf | 2.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sinchai_te_ch1.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sinchai_te_ch2.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sinchai_te_ch3.pdf | 1.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sinchai_te_ch4.pdf | 10.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sinchai_te_ch5.pdf | 2.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sinchai_te_back.pdf | 4.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.