Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50592
Title: ผลของโปรแกรมออกกำลังกายตามทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคที่มีต่อการลดความเครียดของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
Other Titles: Effects of exercise program based on protection motivation theory on decreasing stress of university students
Authors: สิรชัช จันทร์รัศมี
Advisors: จินตนา สรายุทธพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jintana.S@Chula.ac.th,Jintana.S@Chula.ac.th
Subjects: การจูงใจ (จิตวิทยา)
ความเครียด (จิตวิทยา)
ความเครียดในวัยรุ่น
การออกกำลังกาย
Exercise
Motivation (Psychology)
Stress (Psychology)
Stress in adolescence
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมออกกำลังกายตามทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคที่มีต่อการลดความเครียดของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1-4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 50 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ นิสิตกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมออกกำลังกายตามทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคที่มีต่อการลดความเครียดของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 25 คน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง และนิสิตกลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน ไม่ได้รับโปรแกรมออกกำลังกาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมออกกำลังกายตามทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคที่มีต่อการลดความเครียดของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา 2) แบบวัดความเครียดที่พัฒนามาจากแบบวัดความเครียดของสวนปรุง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการศึกษา พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียดหลังการทดลองของนิสิตกลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียดหลังการทดลองของนิสิตกลุ่มทดลองลดลงกว่านิสิตกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this study were study the effects of exercise program based on protection motivation theory on decreasing stress of university students. The sample was 50 moderate stress university students in Chulalongkorn University. Divided into 2 groups with 25 university students in the experimental group received the exercise program based on protection motivation theory on decreasing stress of university students for 8 weeks, 3 days a week, 1 hour a day and 25 university students in the control group not received the exercise program. The research instruments were composed of the exercise program based on protection motivation theory on decreasing stress of university students and collect data by stress test developed from Suanprung Stress Test-20. The data were then analyzed by means, standard deviations and t-test by using statistically differences at .05 levels The research findings were as follows: 1) The mean scores of stress scores of university students in the experimental group after received the program were significantly lower than before at .05 levels. 2) The mean scores of stress scores of university students in the experimental group university students after received the program were significantly lower than university students in the control group at .05 levels.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50592
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1248
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1248
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783418427.pdf5.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.