Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50805
Title: อำนาจตุลาการกับการวินิจฉัยสถานะทางรัฐธรรมนูญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
Other Titles: JUDICIAL POWER IN MAKING DECISION ON THE CONSTITUTIONAL STATUS OF HUMAN DIGNITY
Authors: ศิริชัย สมศรี
Advisors: เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Kriengkrai.C@Chula.ac.th,tham38@hotmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ถือว่ามีคุณค่าสูงสุด เพราะหมายถึงความมีค่าของมนุษย์แต่ละคนทั้งในแง่ของความมีค่าในตัวของผู้นั้นเองและในสถานภาพของความเป็นมนุษย์ของแต่ละคนด้วย ถือเป็นคุณค่าที่มีลักษณะเฉพาะอันสืบเนื่องมาจากความเป็นมนุษย์และเป็นคุณค่าที่ผูกพันอยู่เฉพาะกับความเป็นมนุษย์เท่านั้นโดยไม่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอื่นใดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น เพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ หรือสีผิว เป็นต้น ทั้งจะต้องไม่คำนึงถึงความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ของผู้นั้นด้วย อันถือได้ว่าเพียงความเป็นมนุษย์เท่านั้นที่เป็นเงื่อนไขไปสู่ความมีศักดิ์ศรีดังกล่าว ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงมีคุณค่าอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน และคุณค่าของมนุษย์ดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกพรากหรือทำให้สูญเสียไปด้วยวิธีการใด ๆ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้มนุษย์มีความอิสระในการที่จะพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตัวของบุคคลนั้น ๆ ภายใต้ความรับผิดชอบของตนเอง ทำให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้กลายมาเป็นความหมายจำเพาะและเป็นตัวกำหนดความหมายของความเป็นมนุษย์ทุกคนไปโดยปริยาย การรับรองคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในประเทศไทยได้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรก โดยถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จนกระทั่งถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และรัฐธรรมนูญฉบับต่อมาก็ได้บัญญัติรับรองคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ ซึ่งการที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติคำว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แยกต่างหากจากคำว่า “สิทธิ และเสรีภาพ” ย่อมเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนที่จะให้การรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แยกต่างหากจาก “สิทธิและเสรีภาพ” เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญในต่างประเทศที่ได้ให้การรับรองคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้โดยเฉพาะเช่นเดียวกัน ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นี้ถือเป็นรากฐานที่มาของบรรดาสิทธิและเสรีภาพทั้งปวงที่รัฐจะล่วงละเมิดมิได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่มีนิยาม หรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดอธิบายความหมายไว้โดยชัดแจ้ง ประกอบกับยังคงเป็นเรื่องใหม่ในวงการกฎหมายไทย ดังนั้น ศาล หรือ องค์กรตุลาการ ซึ่งเป็นองค์กรวินิจฉัยข้อพิพาทจึงมีหน้าที่ต้องวินิจฉัยสถานะทางรัฐธรรมนูญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เมื่อมีข้อพิพาท หรือ มีคดีความขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ที่มีการล่วงล้ำหรือละเมิดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่ออธิบายความหมายสถานะของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตลอดจนบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้การรับรองคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์บรรลุตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ
Other Abstract: "Human dignity" is considered the highest valuable. It refers to the value of each human being, in terms of value in and of itself and the status of the humanity of each. Is the value of a particular derivative of humanity and the values ​​that bind only to human beings, and without depending on the conditions of any kind, whether it's sex, age, race, religion, creed, color, and so on. It will not take into account the cognitive ability to recognize things of itself. It can be considered only as a human being only as a condition to such dignity. Human dignity are values ​​inherent in every human being and the value of such a thing may not be taken or lost by any means, with the aim to provide humans with the freedom to develop the personality of the person under the responsibility of self make human dignity has become a meaningful specification and defines the meaning of every human being by default. Certification protecting human dignity has appeared in the written first was explicitly stated in the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540 until of the Kingdom of Thailand B.E. 2550 and was later ordained constitution guarantees the protection of human dignity. The Constitution stipulates that human dignity is separate from the "Rights and Freedoms" It was clear that the Constitution is intended to guarantee human dignity. Separate from "Rights and Freedoms" as well as the constitution of the country has approved the protection of human dignity, especially as the same. Human dignity, which is considered the cornerstone of the rights and freedoms of all the states will not violate human dignity, however, because there is no definition or the provisions of any law, meaning it expressly. Consist The Human dignity is still new in Thailand, so the court or the judiciary as of the organization disputes the diagnosis is required to diagnose the constitutional status of human dignity when there is a dispute or a lawsuit to the court of law are intrusive, or infringe on human dignity.To explain the meaning of human dignity as well as law enforcement to ensure the protection of human dignity, achieve the intent of the Constitution.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50805
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5586033834.pdf4.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.