Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5184
Title: การพัฒนาหลักสูตรนาฏศิลป์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ตามแนวการจัดการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
Other Titles: The development of a dramatic arts curriculum for prathomsuksa six students in Chulalongkorn University Demonstration School based on the national education guidelines in the National Education Act of B.E. 2542
Authors: เสาวพร บุญช่วย
Advisors: สำลี ทองธิว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sumlee.T@Chula.ac.th
Subjects: นาฏศิลป์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การวางแผนหลักสูตร
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรนาฏศิลป์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ตามแนวการจัดการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ผลการวิจัย 1. กระบวนการพัฒนาหลักสูตรมีขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามเรื่อง การจัดการเรียนการสอนวิชานาฏศิลป์ 2) การนำข้อมูลมาจัดกระทำ โดยผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาวิเคราะห์หาความสอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนาฏศิลป์ตามแนวการจัดการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และสรุปข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร 3) การยกร่างหลักสูตร โดยการจัดทำเอกสารหลักสูตร และ เอกสารประกอบหลักสูตร แล้วให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความสมบูรณ์ของหลักสูตร 4) การทดลองใช้หลักสูตรและประเมินผลการทดลอง 5) การแก้ไขปรับปรุงหลักสูตร 2.หลักสูตรวิชานาฏศิลป์ที่ได้พัฒนาขึ้นมีเนื้อหาในการเรียนดังนี้ 1) ภาษาท่า 2) เพลงปลุกใจ 3) รำวงมาตรฐาน โดยจัดการเรียนการสอนที่เป็นไปตามแนวการจัดการศึกษาในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในเรื่องของ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาการคิดเชื่อมโยง ผลของการใช้หลักสูตรมีดังนี้ 1 หลังการทดลองใช้หลักสูตร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนาฏศิลป์ภาคความรู้และภาคปฏิบัติของนักเรียนทุกคน ผ่านเกณฑ์การประเมินผลที่ตั้งไว้ คือ ภาคความรู้สูงกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม ภาคปฏิบัติสูงกว่าร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนาฏศิลป์ทั้งภาคความรู้ และภาคปฏิบัติของนักเรียนก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research is to develop a dramatic arts curriculum for prathomsuksa six students at Chulalongkorn University Elementary Demonstration School based on The national education guidelines in the National Education Act. of B.E. 2542. Findings of the study : 1. Stages in curriculum development are as the following : 1) Study and collect data from questionnaires concerning learning activities in dramatic arts from dramatic arts teachers. 2) The researcher analyzes the relevancies between the collected data and the dramatic arts activities based on the national education guidelines in the National Education Act of B.E.2542. The obtained data is summarized and is used as the framework for the new curriculum. 3) The curriculum is then made, assembling with lesson plans and evaluation form. The curriculum is examined and approved by curriculum specialists. 4) The curriculum is being trial out at Chulalongkorn University Elementary Demonstration School. 5) The completion of the curriculum is made after it has been improved. 2. The curriculum developed is composed of the following content : 1) Body language. 2) The song inspiring love of nation. 3) Ramwong. The learning activities suggested are based on the national education guidelines in the National Education Act of B.E.2542 emphasis on child center technique, integrated activities and strands, creative thinking technique, and associated thinking. Result of the curriculum implementation : 1. After trial stage, the result is found that the learning achievement of students is higher than the prescribed 60 percent and behavioral scores of the students are higher than 80 percent 2. The learning achievement and behavioral scores of students before and after the test are different according to statistical mean at the level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5184
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.468
ISBN: 9741749708
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.468
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saovaporn.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.