Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52348
Title: | ความสัมพันธ์ของความเครียด ตราบาป เจตคติในการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยาและภาวะวิกฤตวัยกลางคนในคนวัยทำงาน |
Other Titles: | RELATIONSHIPS AMONG STRESS, STIGMA, ATTITUDES TOWARD PSYCHOLOGICAL HELP SEEKING AND MIDLIFE CRISIS IN WORKING AGE PERSONS |
Authors: | นิศานาถ เรืองเดชสิริพงศ์ |
Advisors: | อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | Arunya.T@Chula.ac.th,arunya.t@chula.ac.th |
Subjects: | วัยกลางคน -- แง่จิตวิทยา ความเครียด (จิตวิทยา) Middle age -- Psychological aspects Stress (Psychology) |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ของความเครียด ตราบาป เจตคติในการแสวหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยาและภาวะวิกฤตวัยกลางคนในคนวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่างคือ บุคคลวัยทำงาน ที่มีอายุระหว่าง 36-59 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 384 คน ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอายุเฉลี่ย เท่ากับ 42.72 (SD= 5.27) ปี เครื่องมือที่วิจัย ได้แก่ (1) มาตรวัดการรับรู้ความเครียด (2) มาตรวัดการรับรู้ตราบาปจากสังคม (3) มาตรวัดการรับรู้ตราบาปจากบุคคลใกล้ชิด (4) มาตรวัดการรับรู้ตราบาปจากตนเอง (5) มาตรวัดเจตคติในการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยาและ (6) มาตรวัดภาวะวิกฤตในช่วงเปลี่ยนผ่านวัยกลางคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียรสันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเครียด ตราบาปจากสังคม ตราบาปจากบุคคลใกล้ชิด ตราบาปจากตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะวิกฤตวัยกลางคนอย่างมีนัยสำคัญที่ .01 (r= .58, r = .23, r = .15, r = .29,p<.01) ส่วนเจตคติในการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะวิกฤตวัยกลางคนอย่างมีนัยสำคัญที่ .01 (r =.34, p<.01) 2) ความเครียด ตราบาปจากสังคม ตราบาปจากบุคคลใกล้ชิด ตราบาปจากตนเอง และเจตคติในการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตใจสามารถร่วมกันทำนายภาวะวิกฤตวัยกลางคนของคนวัยทำงานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอธิบายความแปรปรวนของภาวะวิกฤตวัยกลางคนได้ร้อยละ 43 (R²= .43,p<.05) โดยตัวแปรที่สามารถทำนายภาวะวิกฤตวัยกลางคนได้มากที่สุด คือ ความเครียด (β = .54 , p<.05) รองลงมาได้แก่ ตราบาปจากสังคม (β = .15 , p<.05) ตราบาปจากตนเอง (β = .08 , p<.05) ตราบาปจากบุคคลใกล้ชิด (β = -.06 , p<.05 ) และเจตคติในการแสวงหาความช่วยเหลือทางจิตวิทยา(β = -.01 , p<.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | This present study aimed to examine the relationships among stress, stigma, attitudes toward psychological help seeking, and midlife crisis in working age persons. Participants were 384 working age persons with age range from 35 to 59 years old and living in Bangkok metropolis and the adjacent areas. Their mean age was 42.72 (SD=5.27) (years old). Instruments were (1) Perceived Stress Scale (2) Stigma Scale for Receiving Psychological Help (3) Perceptions of Stigmatization by Others for Seeking Help (4) Self-Stigma of Seeking Help Scaleของ Vogel (5) Attitudes Toward Seeking Professional Psychological Help Scale ATSPPHS-Short form (6) Chinese midlife crisis scale C-MCS . Pearson’s product-moment correlation and multiple regressions were used to analyses the data. Findings reveal: Stress, social stigma, personal stigma and self-stigma are significantly and positively correlated with midlife crisis in working age persons (r = .58, r = .23, r = .15, r = .29, p <.01 respectively). Attitudes toward psychological help seeking is significantly and negatively correlated with midlife crisis in working age persons (r =.34, p<.01). Stress, Stigma, and attitudes toward psychological help seeking significantly predict midlife crisis in working age persons and account for 43 percent of the total of variance of midlife crisis (R²= .43, p <.05) The most significant predictors of the midlife crisis is stress (β = .54 , p <.05) followed by social stigma (β = .15 , p <.05), self-stigma (β = .08 , p <.05), personal stigma (β = -.06 , p <.05 ) and attitudes toward psychological help seeking (β = -.01 , p <.05) respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52348 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.308 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.308 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5777613538.pdf | 3.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.