Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52480
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของเยาวชนไทย
Other Titles: Factors affecting youth traveling at eco-tourism in thailand
Authors: จารุเนตร วิเศษสิงห์
Advisors: สมบัติ กาญจนกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักงานวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: sombatkarn@hotmail.com
Subjects: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
Ecotourism
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของเยาวชนไทย ในด้านรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และส่วนประสมทางการตลาด โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนไทยที่อายุ 18-25 ปี ที่เดินทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า ที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. เยาวชนไทยส่วนใหญ่เป็นเพศชายและเพศหญิง ซึ่งมีสัดส่วนเท่ากัน มีอายุ 21 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ใน ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร มีการระดับการศึกษาขั้นปริญญาตรี มีงบประมาณในการท่องเที่ยวแต่ละครั้งต่ำกว่า 1,000 บาท และส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา 2. เยาวชนไทยส่วนใหญ่เลือกเดินทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศในแหล่งธรรมชาติ มากที่สุด (46.30%) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพักผ่อน (28.30%) โดยมักไปกับครอบครัว (39.50%) ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน (34.00%) ซึ่งได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจากสื่อประเภทรายการทางโทรทัศน์วิทยุ (26.30%) ส่วนใหญ่เลือกสถานที่พักเป็นรีสอร์ท (27.80%) และสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ ความไม่สะดวกในการเดินทาง (25.80%) 3. เยาวชนไทยส่วนใหญ่ที่เดินทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศมีลักษณะบุคลิกภาพสนุกสนาน (X̅ = 4.23) รองลงมาคือ มีลักษณะบุคลิกภาพชอบเดินทางท่องเที่ยว (X̅ = 4.15) และลำดับสุดท้ายมีลักษณะบุคลิกภาพมุ่งเน้นความสำคัญที่ตนเอง (X̅ = 2.99) 4. เยาวชนไทยส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้แก่ กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในแหล่งธรรมชาติ (X̅ = 3.60) กิจกรรมส่งเสริมทางประวัติศาสตร์/แหล่งโบราณคดี (X̅ = 3.81) และกิจกรรมส่งเสริมทางศิลปะ/ประเพณี/วัฒนธรรม (X̅ = 3.87) อยู่ในระดับมาก 5. เยาวชนไทยส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร และด้านกระบวนการให้บริการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.79) 6. เยาวชนไทยที่เพศ อาชีพ และภูมิลำเนาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติที่ 0.05 ยกเว้นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในแหล่งธรรมชาติ และกิจกรรมส่งเสริมทางประวัติศาสตร์/แหล่งโบราณคดี เพศต่างกัน ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติที่ 0.05 7. เยาวชนไทยที่เพศ อาชีพ และภูมิลำเนาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติที่ 0.05 ยกเว้นด้านการส่งเสริมการตลาดและด้านกระบวนการให้บริการ อาชีพต่างกันซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติที่ 0.05 และด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลาการ ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ภูมิลำเนาต่างกัน ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยทางสถิติที่ 0.05
Other Abstract: The purposes of this study were to investigate factors that effected the travel ecotourism of Thai youth in the area of ecotourism activities and the marketing mix of tourism. The samples were 400 Thai youths ages between 18-25 years old travelling in eco-tourism resource. The questionnaires were tools for collecting data and the using statistical analysis in term of mean, percentage and standard deviation analysis to examine t-test and F-test. The results found that: 1. Thai youths were selected equally men and women, age group at 21 years old who lived in central part area and Bangkok metropolitan area. The educational level was bachelor degree with income below 1,000 baht/trip and most were students and college students. 2. They preferred to travel in ecotourism style in natural resources (46.30%). The purpose was to relax (28.30%), to stay in the hotel resorts (27.80%) and stay with family (39.50%) during April and June (34.00%). They selected media tourist information was from TV commercial and advertisement and radio broadcast (26.30%). The problem occurred from traveler’s inconvenience on travelling on the road to the destination (25.80%). 3. They also had characters of being enjoy nature (X̅ = 4.23) and travelling lover (X̅ = 4.15). 4. They perceived travelling in ecotourism in natural resource (X̅ = 3.60), supporting historical environments/ archaeological area (X̅ = 3.81) and cultural arts (X̅ = 3.87). 5. They perceived marketing factors such as product, price, selling method and personnel at the high level of market process (X̅ = 3.79). 6. Comparison of youth differences genders, occupation and career, there were significant differences at statistical level 0.05 in except natural resources, historical sites activities group of youth genders were found no significant difference. 7. There were no significant difference between youth group in gender, occupation and career except market promotion and service process aspects.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52480
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.768
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.768
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
charunet_wi_front.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
charunet_wi_ch1.pdf948.47 kBAdobe PDFView/Open
charunet_wi_ch2.pdf9.24 MBAdobe PDFView/Open
charunet_wi_ch3.pdf695.4 kBAdobe PDFView/Open
charunet_wi_ch4.pdf9.06 MBAdobe PDFView/Open
charunet_wi_ch5.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
charunet_wi_back.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.