Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55399
Title: “คติชนสร้างสรรค์” จากความเชื่อเรื่องครูหมอโนราที่ตำบลท่าแค จังหวัดพัทลุง
Other Titles: “CREATIVE FOLKLORE” DERIVED FROM KHRU MO NORA BELIEFS IN TAMBON TAKAE, CHANGWAT PHATTHALUNG
Authors: ณัฐวัตร อินทร์ภักดี
Advisors: ปรมินท์ จารุวร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Poramin.J@Chula.ac.th,poramin_jaruworn@yahoo.com
Subjects: คติชนวิทยา
โนรา
Nora (Thai dance drama)
Folklore
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษารวบรวม "คติชนสร้างสรรค์" จากความเชื่อเรื่องครูหมอโนราในปัจจุบันในรูปแบบต่างๆ ที่ตำบลท่าแค จังหวัดพัทลุง พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยและบทบาทของการสร้างสรรค์ในรูปแบบดังกล่าว โดยเก็บข้อมูลภาคสนามในช่วงปี 2557-2560 จากโนราทั้ง 2 ประเภท คือโนราพิธีกรรมและโนราบันเทิง ผลการศึกษาพบว่า “คติชนสร้างสรรค์” จากความเชื่อเรื่องครูหมอโนราที่ตำบลท่าแค จังหวัดพัทลุง พบทั้งในโนราพิธีกรรมและโนราบันเทิง ในโนราพิธีกรรมมีทั้งการสร้างสรรค์จากคติชนในลักษณะที่เป็น "คติชนสร้างสรรค์" คือพิธีกรรมและองค์ประกอบพิธีกรรมที่สร้างใหม่เพื่อเน้นการสืบทอดความเชื่อเดิมที่มีมาในวิถีชีวิต และการสร้างสรรค์จากคติชนในลักษณะที่เป็น "สินค้าวัฒนธรรม" เพื่อจำหน่ายเป็นสำคัญ ได้แก่ เครื่องรางของขลัง และของที่ระลึกต่าง ๆ ที่มาจากอุปกรณ์ในการประกอบพิธีกรรมและการแสดง ส่วนโนราบันเทิงมีการตั้ง “คณะเทพศรัทธา” ขึ้นเพื่อการแสดงโนราเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ การแข่งขันในรายการคนไทยขั้นเทพ การสร้างสรรค์ละครร้องเรื่องไกรทอง และการแสดงภาพยนตร์เรื่องเทริด นอกจากนี้ยังมีการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายขึ้นใหม่ในโนราลูกทุ่งบันเทิงอีกด้วย ปรากฏการณ์ "คติชนสร้างสรรค์" ที่เกิดขึ้นที่ตำบลท่าแคนี้เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ นโยบายของหน่วยงานราชการทั้งภายในและภายนอกชุมชน ที่เป็นหน่วยงานภายในชุมชน คือเทศบาลตำบลท่าแค และโรงเรียนบ้านท่าแค (วันครู 2500) ส่วนหน่วยงานภายนอกชุมชน คือจังหวัดพัทลุงและสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง ปัจจัยต่อมาคือการเปลี่ยนเจ้าพิธีกรรมใหม่ของโนราโรงครูวัดท่าแค และอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญอย่างมากคือ บริบทการท่องเที่ยว งานวิจัยนี้ทำให้เห็นวิธีคิดเชิงคติชนสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นกับโนราในตำบลท่าแค กล่าวคือ วิธีคิดที่ปรากฏในโนราพิธีกรรม ได้แก่ การย้ำความเป็นของแท้ (authenticity) การสร้างพิธีกรรมใหม่บนฐานความเชื่อของพิธีกรรมเดิม การขยายความเชื่อเกี่ยวกับครูหมอโนราสู่คนทั่วไป และการขยายพิธีโนราโรงครูให้มีมิติของการเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม (cultural commodification) ส่วนโนราบันเทิงมีวิธีคิดเชิงคติชนสร้างสรรค์คือ การสร้างเครือข่ายราชครูโนราให้เป็นคณะเทพศรัทธา การนำเสนอโนราผ่านสื่อสมัยใหม่และนำเสนอในรูปแบบการแสดงอื่น ๆ ทั้งยังมีการอิงการแสดงโนราแบบเดิมเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่อีกด้วย "คติชนสร้างสรรค์" ที่เกิดขึ้นจากวิธีคิดเหล่านี้มีบทบาทในการสืบทอดความเชื่อเรื่องครูหมอโนราทั้งในพื้นที่โลกศักดิ์สิทธิ์และพื้นที่โลกสามัญ และยังมีบทบาทในการธำรงความเป็นพื้นที่ที่เชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดโนราผ่านพิธีกรรมและตราสัญลักษณ์ที่แสดงอัตลักษณ์เฉพาะของพื้นที่ท่าแคอย่างชัดเจน การศึกษาครั้งนี้จึงทำให้เข้าใจวิธีคิด พลวัต ปัจจัย และบทบาทของ "คติชนสร้างสรรค์" เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องครูหมอโนราที่เกิดขึ้นกับโนราที่ตำบลท่าแค จังหวัดพัทลุงในบริบทสังคมไทยร่วมสมัย ซึ่งจะเป็นแนวทางในการศึกษาการสร้างสรรค์จากคติชนทั้งในแง่ของการเป็น "คติชนสร้างสรรค์" ประเภทต่าง ๆ ตามศาสตร์ทางคติชนวิทยาและการเป็น "สินค้าวัฒนธรรม" ซึ่งจะพบในพื้นที่อื่น ๆ อย่างหลากหลายได้ต่อไป
Other Abstract: This thesis aims to collect various forms of “creative folklore” derived from Khru Mo Nora belief in Tambon Takae, Changwat Phatthalung, and to analyze factors and functions of such creation. The data is collected from 2 types of Nora, ritual and entertaining, in the fieldwork during 2014-2017. The result shows that “creative folklore” derived from Khru Mo Nora belief in Tambon Takae, Changwat Phatthalung, appears in both ritual Nora and entertaining Nora. In ritual Nora, creations in the form of “creative folklore” are ritual and elements of ritual, which are newly created but aim to transmit the old beliefs from their way of life. There are also creations in the form of “cultural product” for sale, such as sacred relics and souvenirs derived from ritual and performing elements. In entertaining Nora, a troupe called “Khun Sri Sattha” is formed to perform Nora creatively­–i.e., participating in “Khon Thai Khan Thep” show, performing a musical “Kraithong,” and starring in a film “Serd.” The troupe also creates new costumes for performing Nora in the manner of popular folk music. “Creative folklore” phenomena in Tambon Takae is caused by several factors. The first factor is the policy from administrative agencies inside and outside the community. The inside agencies are the municipality of Tambon Takae and Ban Takae school (Wan Khru 2500). The outside agencies is Phatthalung province and its cultural department. Another factor is the change of the ritual master in Nora Rong Khru Takae. The last but crucial factor is touristic context. This research reveals the ways of thinking in terms of creative folklore. The ways of thinking in ritual Nora are the emphasis on authenticity, creating a new ritual based on the belief of the old ritual, expanding the belief of Khru Mo Nora to the general audience, and adding to Nora Rong Khru ritual the aspect of cultural commodification. In case of entertaining Nora, the way of thinking in terms of creative folklore are creating a network of Ratcha Khru Nora into the "Thep Sattha" group, presenting Nora in modern media and other performances, and using the traditional Nora as base for a new creation. "Creative folklore" based on these ways of thinking has a function in transmitting the belief of Khru Mo Nora in both sacred world and profane world. It also has a function in sustaining the belief that Takae is the origin of Nora through ritual and icons which represent a unique identity of this space evidently. Hence, this study helps to understand the ways of thinking, dynamics, factors, and functions of "creative folklore" derived from Khru Mo Nora belief in Tambon Takae, Changwat Phatthalung, in contemporary Thai society. It could provide a way to study a various forms of creation from folklore as "creative folklore" in the frame of folkloristic study, and a way to study cultural commodification in other places.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55399
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.704
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.704
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5680116222.pdf7.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.