Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55472
Title: ปัญหาความไม่สมบูรณ์ของสัญญาหลายฝ่าย
Other Titles: PROBLEMS OF THE INVALIDITY OF MULTILATERAL CONTRACTS
Authors: ศรัณย์ พิมพ์งาม
Advisors: ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sanunkorn.S@Chula.ac.th,ajarnkorn@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบัน สภาพความสัมพันธ์รูปแบบเดิมของสัญญาที่มีคู่สัญญาเพียงสองฝ่าย ไม่เหมาะสมกับการบรรลุวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องอาศัยคู่สัญญาจำนวนตั้งแต่สามฝ่ายขึ้นไปเข้ามาแสดงเจตนาทำสัญญาร่วมกันเป็น “สัญญาหลายฝ่าย” หากแต่สัญญาหลายฝ่ายที่จัดทำขึ้นอาจไม่สมบูรณ์ในทางกฎหมาย สัญญาหลายฝ่ายนั้นอาจตกเป็นโมฆะ หรือตกเป็นโมฆียะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสถานะของคู่สัญญา ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงทำการศึกษาลักษณะของสัญญาหลายฝ่าย รวมถึงได้ทำการวิเคราะห์หลักกฎหมายเกี่ยวกับความไม่สมบูรณ์ของสัญญาหลายฝ่าย โดยทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายในลักษณะเดียวกันของกฎหมายอังกฤษ กฎหมายอิตาลี กฎหมายเยอรมัน กฎหมายฝรั่งเศส ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ลักษณะของสัญญาหลายฝ่าย การแยกส่วนที่ไม่สมบูรณ์ของสัญญา การเรียกค่าเสียหาย และความสำคัญผิดของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งในสัญญาหลายฝ่าย อีกทั้งยังได้ทำการศึกษาโดยใช้หลักการทางเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์กฎหมายในประเด็นปัญหาดังกล่าวด้วย โดยจากการศึกษาพบว่า สัญญาหลายฝ่ายเป็นสัญญาที่จัดทำขึ้นโดยมีคู่สัญญามากกว่าสองฝ่าย โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันที่คู่สัญญาทุกฝ่ายต่างมุ่งหวังร่วมกันไว้ และการจะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันดังกล่าวได้ คู่สัญญาทุกฝ่ายจะต้องมีการปฏิบัติตามสัญญาหรือได้มีการปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงของสัญญา ผลการศึกษายังพบว่า บทบัญญัติมาตรา 173 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยได้กำหนดหลักกฎหมายโมฆะแยกส่วนไว้ ซึ่งแยกความเป็นโมฆะบางส่วนออกได้สองกรณี คือ โมฆะบางส่วนในข้อตกลงหรือเนื้อหาของนิติกรรมหรือสัญญา กับโมฆะบางส่วนในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือคู่สัญญา ซึ่งโมฆะบางส่วนในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือคู่สัญญา จะปรากฏอยู่ในกรณีสัญญาหลายฝ่ายตกเป็นโมฆะ หากความสัมพันธ์ของคู่กรณีบางฝ่ายนั้นเป็นโมฆะ อาจแยกส่วนคู่สัญญานั้นออก แล้วส่วนของสัญญาที่เหลือซึ่งมีคู่สัญญาฝ่ายอื่น ๆ คงอยู่ ก็ยังสามารถผูกพันหรือบังคับตามสัญญาได้ต่อไป หากแต่จะไม่สามารถใช้หลักโมฆะแยกส่วนตามมาตรา 173 มาปรับใช้กับโมฆียะกรรมได้ เพราะจะเป็นการขัดกับเจตนารมณ์และความมุ่งหมายของกฎหมายเกี่ยวกับโมฆียะกรรม นอกจากนี้ ในประเด็นเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย กรณีโมฆะกรรมไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายอื่นใดได้อีก ส่วนกรณีโมฆียะกรรม ค่าเสียหายที่เรียกได้มีเพียงค่าเสียหายจากการตกเป็นพ้นวิสัยที่จะกลับคืนสู่ฐานะเดิม หากแต่ค่าเสียหายอื่นนั้นยังอาจเรียกได้โดยอาศัยกฎหมายลักษณะละเมิด และสุดท้ายคือ ประเด็นเรื่องหลักกฎหมายเกี่ยวกับความสำคัญผิดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยมาตรา 156 และ 157 คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งในสัญญาหลายฝ่ายที่สำคัญผิดเพียงฝ่ายเดียวสามารถกล่าวอ้างโมฆะกรรม หรือบอกล้างโมฆียะกรรมได้ หลักเกณฑ์เช่นนี้เป็นการเพิ่มต้นทุนของความไม่แน่นอนต่อคู่สัญญาฝ่ายอื่นในการทำสัญญาหลายฝ่าย ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงได้ทำการเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความไม่สมบูรณ์ของสัญญาหลายฝ่าย โดยอาจตีความกฎหมายมาตรา 173 ให้รวมถึงการแยกความเป็นโมฆะบางส่วนออกสองกรณี คือ โมฆะบางส่วนในข้อตกลงหรือเนื้อหาของนิติกรรมสัญญา กับโมฆะบางส่วนในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือคู่สัญญา อีกทั้งควรเพิ่มเติมบทบัญญัติวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับโมฆียะแยกส่วนสำหรับสัญญาหลายฝ่ายที่ตกเป็นโมฆียะ รวมถึงเสนอแนะให้เพิ่มเติมบทบัญญัติใหม่หรือตีความหลักสุจริต ให้สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากความรับผิดก่อนสัญญา โดยชดใช้ในลักษณะของค่าเสียหายบนความไว้วางใจ อีกทั้งควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับความสำคัญผิดตามมาตรา 156 และมาตรา 157 ที่จะทำให้สัญญาหลายฝ่ายนั้นเป็นโมฆะหรือโมฆียะ ต้องเป็นที่รู้ได้หรือควรจะได้รู้ของคู่สัญญาฝ่ายอื่นทั้งหมด และสุดท้ายควรแก้ไขถ้อยคำในบทบัญญัติมาตรา 162 ให้ครอบคลุมถึงนิติกรรมที่มีคู่กรณีมากกว่าสองฝ่ายด้วย
Other Abstract: Currently, the range of contracts stretches from simple contracts, such as bilateral contracts to complex multilateral contracts. Business advancements have created environment for relationships that could not have been completed by bilateral contracts. Although, multilateral contracts may be void or voidable, void and voidable multilateral contracts affect the legal status of all parties. Regarding this concern, the study gathers opinion amongst the scholars and the Supreme Court’s judgment, and performs comparative analysis focusing on similar legal provision of England, the Italian Republic, the Federal Republic of Germany and the French Republic in several issues: Moreover, the author also aimed to study economic concepts relating to all those issues and use economics analysis of law to solve problems. From the study, the author found that multilateral contracts are the agreement of more than two parties to establish legal relationship among themselves, and the performances of each of them are directed to the accomplishment of a common objectives. Moreover, from the study, the author found that the section 173 of the Thailand Civil and Commercial Code, Partial invalidity can be divided between partial invalidity of clauses or contents, and partial invalidity of contractual relationship. So the partial invalidity of contractual relationship can be found in void multilateral contracts. However, if multilateral contracts are voidable, when the voidable multilateral contracts are avoided, the whole contracts are void, the section 173 cannot be used. Furthermore, not given by law for any party to claim another party for the damages or compensations of void contract. In voidable contract, if is not possible to restore to the condition in which parties were previously from the beginning, they could be indemnified with an equivalent, but they cannot be claimed another party for the other damages or compensations, unless they use the law of wrongful acts (tort or delict). In addition, the one party who made a declaration of intention under a mistake in multilateral contracts, the unilateral-mistake’s party can allege its nullity under the section of 156, and can avoid contract, under the section of 157. Unilateral Mistake adds costs and contingencies to other good-faith parties in multilateral contracts. Therefore, the author suggests that by using the principles of interpretation, the section 173 can be divided between partial invalidity of clauses or contents, and partial invalidity of contractual relationship. The author also proposes that partial avoidance or partial invalidity provisions be enacted based on voidable multilateral contracts. In addition, adding provision, or using the principles of interpretation to consider reliance loss or positive interest compensation for liability in damages of the person who be faulted on pre-contractual liabilities. Then amendment to the Thailand Civil and Commercial Code, should be add a new rule of the section of 156 and 157, unilateral mistake is cause of the invalid multilateral contracts when it is recognizable by the other contracting parties. Finally, the section of 162 should be amended to include multilateral acts.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55472
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.482
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.482
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5886023834.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.