Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56610
Title: แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนท่าวังผาในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
Other Titles: Guidelines for community participation on developing eco-tourism management of Thawangpha district, Nan province
Authors: สุดศิริ หอมกลิ่น
Advisors: สุชาติ ทวีพรปฐมกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: suchart_ta@hotmail.com
Subjects: ไทย -- น่าน -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- การจัดการ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- ไทย -- น่าน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
Thailand -- Nan -- Description and travel
Ecotourism
Ecotourism -- Management
Ecotourism -- Thailand -- Citizen participation
Ecotourism -- Thailand -- Nan -- Citizen participation
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนท่าวังผาในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐ จำนวน 12 คน ภาคเอกชน จำนวน 12 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน ประชาชน จำนวน 200 คน และนักท่องเที่ยว จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า “ที” (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance: ANOVA) กรณีพบค่าความแตกต่างเป็นรายคู่ จะวิเคราะห์ความแตกต่างนั้นเป็นรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ (Scheffe Method) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา และประชุมระดมความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน เพื่อสรุปแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการ จัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ผลการวิจัยพบว่า 1.ด้านศักยภาพความพร้อมของอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ต่อการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่า มีประเด็นที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสินค้าและของที่ระลึก (X¯ = 2.69) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (X¯ = 2.52) และด้านที่พัก (X¯ = 2.52) 2.ด้านแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ต้องการให้พัฒนามากที่สุด คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน ในท้องถิ่น (X¯ = 2.99) และรองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมการลงทุน (X¯ = 2.97) 3.ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่าอยู่ในระดับน้อยทุกด้าน ได้แก่ ด้านการตัดสินใจริเริ่มโครงการ (X¯ = 2.37) ด้านการวางแผน (X¯ = 2.17) และด้านการประเมินผล (X¯ = 2.32) ยกเว้นด้านปฏิบัติการอยู่ในระดับมาก (X¯ = 2.65) 4.เมื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศระหว่างเพศชายและเพศหญิง พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในขั้นตัดสินใจริเริ่มโครงการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5.เมื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ระหว่าง กลุ่มอายุ วุฒิ การศึกษาที่สำเร็จสูงสุด กลุ่มอาชีพ และกลุ่มรายได้ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6.การระดมความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิได้แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนท่าวังผาในการ จัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศดังนี้ 1) การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และแสดงความคิดเห็น 2) การจัดทำแผนโครงการ อนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 3) การสนับสนุนให้ประชาชนในท้องถิ่นร่วมกันจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว 4) การจัดกิจกรรมการประชุมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชนและประชาชนเพื่อสรุปผลการพัฒนาการ ท่องเที่ยว และหาแนวทางในการพัฒนาต่อไป
Other Abstract: This research aimed to study the community participation for developing eco-tourism management of Thawangpha district, Nan province. Data was collected by questionnaire from 200 local people and 200 tourists as well as by interviewing 44 persons from government agencies, private sectors, and leaders of communities that were related to the eco-tourism of Thawangpha district. Content analysis was used in qualitative analysis and the amount of percentage (%), mean (X¯) and standard deviations (S.D.) were used in quantity analysis. The differences of demographic profile of local people were compared by using independent samples tests (t-test independent) and Analysis of Variance (One–way ANOVA). If the results were significantly different at the level .05, the Scheffe method would then be employed. Furthermore, this research used focus group method to acquire the guideline for encouraging local community to participate in eco-tourism management. The results were as follows: 1. Factors affecting readiness to be ecotourism of Thawangpha district, Nan province were found to be at high level including Local souvenirs (X¯ = 2.69), facilities (X¯ = 2.52) and accommodation (X¯ = 2.52). 2. Guidelines for eco-tourism needed to be developed was to encourage local people to manage eco-tourism (X¯ = 2.99) and investment in eco-tourism development (X¯ = 2.97). 3. Level of community participation in eco-tourism were found to be in low level regarding decision making (X¯ = 2.37), planning (X¯ = 2.17) and evaluation(X¯ = 2.32) at low level. However, they participated in implementation (X¯ = 2.65) at high level. 4. Comparison of participation level of local people classified by gender was found to demonstrate difference at statistical .05 level in decision making level. 5. Comparison of participation level of local people classified by age groups, education level, occupations and monthly income were found to be no significant differences. 6. Guidelines for encouraging community to participate in eco-tourism management including: 1) sharing ideas and discussion on eco-tourism management among all tourism stakeholders, 2) creating eco-tourism plans, 3) encouraging projects for developing potential of local people to manage eco-tourism and 4) evaluating eco-tourism development programs by meeting and discussing among all stakeholders.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56610
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.156
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.156
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sudsiri_ho_front.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
sudsiri_ho_ch1.pdf833.3 kBAdobe PDFView/Open
sudsiri_ho_ch2.pdf5.9 MBAdobe PDFView/Open
sudsiri_ho_ch3.pdf923.45 kBAdobe PDFView/Open
sudsiri_ho_ch4.pdf14.34 MBAdobe PDFView/Open
sudsiri_ho_ch5.pdf4.66 MBAdobe PDFView/Open
sudsiri_ho_back.pdf5.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.