Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56847
Title: สภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2530 ประเภทวิชาศิลปหัตถกรรม ในสถานศึกษาสังกัดกองวิทยาลัยอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา
Other Titles: State and problems of curriculum administration of arts and crafts curriculum B.E.2530 vocational education certificate level in the institutions of vocational college unit under the jurisdiction of the department of vocational education
Authors: สุนีย์ ภู่พันธ์
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Boonmee.N@Chula.ac.th
Subjects: หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ศิลปหัตถกรรม -- หลักสูตร
อาชีวศึกษา -- หลักสูตร
Handicraft -- Curricula
Vocational education -- Curricula
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2530 ประเภทวิชาศิลปหัตถกรรม ในสถานศึกษาสังกัดกองวิทยาลัยอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามจำนวน 526 ฉบับ ไปยังกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากร ซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครูปฏิบัติการสอน หัวหน้างานห้องสมุด หัวหน้างานแนะแนวอาชีพและจัดหางาน และหัวหน้างานวัดผลและประเมินผลในสถานศึกษาสังกัดกองวิทยาลัยอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา แบบสอบถามได้รับกลับคืนมา เป็นจำนวน 445 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 84.60 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานในการบริหารหลักสูตรด้านต่าง ๆ นั้น ผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงานและติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผน คือ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้าคณะวิชา หัวหน้าแผนวิชาร่วมด้วยหน้างานที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียน และผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการศึกษาเป็นผู้ร่วมวางแผนดำเนินงาน สภาพปัญหาในการบริหารหลักสูตร ในด้านงานบริหารและบริการหลักสูตรมีปัญหาเกี่ยวกับการนิเทศอบรมและให้ความรู้จากส่วนกลางมีน้อย ความกระตือรือร้นของบุคลากร การจัดทำใบงานยังไม่ครบทุกวิชา ความเพียงพอของหนังสือหลักสูตร หนังสือส่งเสริมการเรียน ครูผู้สอนวิชาชีพ และบุคลากรที่ทำหน้าที่อื่น ๆ สถานฝึกงานอาชีพมีจำกัด ความร่วมมือของสถานฝึกงานอาชีพ และความรับผิดชอบของนักเรียนที่ไปฝึกงาน งานดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตรมีปัญหาเกี่ยวกับการขาดบุคลากรที่มีความรู้ในวิชาชีพที่สอดคล้องกับท้องถิ่น การจัดแบ่งชั่วโมงสอนให้ครู การเตรียมการและการพัฒนาการเรียนการสอน ความรู้ความเข้าใจของครูผู้สอนเกี่ยวกับระเบียบการวัดผลและประเมินผลและการปฏิบัติการสอนตามหลักสูตร งานสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตรมีปัญหาในเรื่องการขาดงบประมาณเพื่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การดำเนินงานห้องสมุด และการพัฒนาบุคลากร ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการและโรงฝึกงานไม่เพียงพอและการจัดนิเทศภายในสถานศึกษามีน้อย
Other Abstract: The purposes of this study were to investigate the state and problems of the administration of Arts and Crafts Curriculum B.E.2530 certificate level in the institutions of Vocational College Unit under the jurisdiction of the Department of Vocational Education. Five hundred and twenty-six questionnaires were sent to the administrators, teachers, head of librarians, head of vocational guidance and placement office, and head of measurement and evaluation office in 31 vocational colleges and four hundred and forty-five were returned, accounted for 84.60 percent. Data were analyzed by using percentage. Findings: Regarding all curriculum administration tasks it was found that planning and evaluating were organized by academic assistant director, division heads, department heads, and section chiefs concerned by which director, student activity assistant director, and educational promotion assistant director were involved in operation. With regards to problems in curriculum administration and service task it was found that lack of in-service training programs from the head office, personnels’ enthusiastic. Insufficient amount of instructional sheets, curriculum documents, and supplementary books, vocational instructors, and other personnel, limitation of vocational training centers and cooperation, and trainees’ responsibility were reported to be problems. Problems which related to instruction task were lack of local expert, teaching assignment, lesson preparation teachers’ understanding concerning measurement and evaluation. While budget for developing media, library development, personnel development, insufficient amout of laboratories and workshops, also lack of organization supervision were reported to be problems in curriculum supporting and promotion task.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56847
ISBN: 9745690775
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunee_ph_front.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_ph_ch1.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_ph_ch2.pdf7.08 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_ph_ch3.pdf809.71 kBAdobe PDFView/Open
Sunee_ph_ch4.pdf9.86 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_ph_ch5.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_ph_back.pdf8.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.