Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6064
Title: แนวทางการพัฒนาพื้นที่ชานเมืองด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองพิษณุโลกเพื่อรองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัยนเรศวร
Other Titles: Development guidelines for the south-west suburb of Phitsanulok due to the expansion of Naresuan University
Authors: บุญชัย แซ่โง้ว
Advisors: ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Siriwan.Si@Chula.ac.th
Subjects: มหาวิทยาลัยนเรศวร
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- พิษณุโลก
เมือง -- การเจริญเติบโต
การขยายมหาวิทยาลัย
ชานเมือง
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาท หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ชานเมืองด้านตะวันตกเฉียงใต้กับชุมชนเมืองพิษณุโลก และบทบาท ความสำคัญของมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีผลต่อการขยายตัวและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในพื้นที่ชานเมืองด้านตะวันตกเฉียงใต้ เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนารองรับขยายตัวในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า การขยายตัวอย่างรวดเร็วของชุมชนในตำบลท่าโพธิ์ เป็นผลมาจากโครงการพัฒนา มหาวิทยาลัยนเรศวรให้เป็นศูนย์กลางทางการศึกษาระดับสูงในภาคเหนือตอนล่าง ตามนโยบายโอกาสทางการศึกษาระดับสูงไปสู่ภูมิภาค การพัฒนามหาวิทยาลัยนเรศวรส่งผลให้บทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนเมืองพิษณุโลกกับตำบลท่าโพธิ์เปลี่ยนแปลงไป จากชุมชนเกษตรกรรมชานเมืองกลายเป็นชุมชนที่มีบทบาทสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการศึกษาระดับสูงของเมืองพิษณุโลก และมีการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยอย่างรวดเร็ว เพื่อให้บริการแก่ประชากรมหาวิทยาลัย เช่น บริการร้านอาหาร ร้านค้า และที่พักอาศัย จากการสำรวจพบว่า ประชากรมหาวิทยาลัยนเรศวรส่วนใหญ่ใช้บริการที่พักอาศัย และร้านอาหารในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย โดยมีสัดส่วนการใช้จ่ายในพื้นที่ดังกล่าวประมาณร้อยละ 21.61 ของค่าใช้จ่ายรวมต่อเดือน ในปี พ.ศ. 2550 พื้นที่เกษตรกรรมโดยรอบมหาวิทยาลัยนเรศวรจะเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเป็นพาณิชกรรมอันได้แก่ ร้านอาหาร ร้านค้า และที่พักอาศัยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมหาวิทยาลัยนเรศวรจะมีประชากรมหาวิทยาลัยประมาณ 26,875 คน และส่งผลให้เกิดการจ้างงานที่เกี่ยวเนื่องกับมหาวิทยาลัยในตำบลท่าโพธิ์ประมาณ 4,893 คน มีผลให้ชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยมีความต้องการใช้ที่ดินเพื่อรองรับการขยายตัวประมาณ 554 ไร่ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของชุมชนในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดปัญหาหลายประการ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตจัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ทำให้ไม่สามารถวางแผนพัฒนารองรับการขยายตัวของชุมชนได้ ดังนั้นการศึกษานี้จึงได้เสนอแนวทางการพัฒนาเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมบทบาทการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาระดับสูงของตำบลท่าโพธิ์ โดยเสนอให้ยกเลิกเขตจัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมบางส่วนบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยนเรศวรพื้นที่ประมาณ 2,725 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นชุมชนศูนย์กลางรองรับการขยายตัวจากการพัฒนามหาวิทยาลัย และเป็นศูนย์กลางการค้าและการบริการของตำบลท่าโพธิ์ และกำหนดเขตการใช้ที่ดินในตำบลท่าโพธิ์เป็น 3 เขต ได้แก่ พื้นที่ชุมชนศูนย์กลาง มีการใช้ดินประเภทที่อยุ่อาศัยหนาแน่นปานกลาง พื้นที่โดยรอบชุมชนศูนย์กลางในเขตจัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมซึ่งได้เสนอให้ประกาศยกเลิก มีการใช้ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย และพื้นที่อื่นๆ ในตำบลท่าโพธิ์มีการใช้ดินประเภทพื้นที่เกษตรกรรม นอกจากนี้ ได้เสนอข้อกำหนดการใช้ที่ดินประเภทต่างๆ เพื่อควบคุมและกำหนดการขยายบริการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการป้องกันและแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต
Other Abstract: The research is aimed at studying the role, responsibility, and relationships between the southern-west suburban areas of Phisanulok with Phitsanulok urban areas and the role of Naresuan University, how it affects to the community growth and land use changes in southern-west suburb of Phitsanulok. The study finally proposed the development guidelines of southern-west suburban areas in the future. The result of this study shows the rapid expansion of community in Tha-pho Sub-district due to the policy of higher education to develop Naresuan University as the education center of the Lower Northern Region. The development of Naresuan University effects to the role and relationship between Phisanulok urban areas and Tha-Pho Sub-district, whereous the agricultural suburban areas changed the role to support higher education center of Phitsanulok. The economic activities around the campus was expanded rapidly to serve the university population, such as cafeterias, shops, dormitories etc. It was found that, most of university population spend money in the area around the campus about 21.61% of the expenditure per month. It is forcasted that in 2007, the agricultural land around the campus will be changed by increasing the commercial areas such as cafeterias, restaurants, shops, dormitories, rented rooms. Naresuan University will increase their population about 26,875 persons and this will induce the population workforce of 4,893 persons in Tha-pho Sub-district. The demand of lands will be 554 rai. The rapid expansion of community areas in Tha-pho Sub-district caused many problems. The area was the agricultural land adjustment so it could not developed for community growth. The result of this study proposed to support and promote the role of education center of the area and to cancell the status of land consolidation for 2,725 rai to be service areas to support the communities and university expansion in Tha-pho Sub-district. The land in Tha-pho Sub-district are devided into 3 zones ; they are medium density residential areas in the core area. The zone around campus should be allocated to be low-density residential areas and the rest to be agricultural areas. Moreover, land regulations are proposed to guide and control community expansion in accordance to community growth, and Phisanulok Comprehensive plan, including the infrastructure improvement and the environment prevention to support community growth in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6064
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.161
ISBN: 9741300735
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.161
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonchai.pdf9.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.