Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6168
Title: การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน : ศึกษากรณีการดำเนินการกับธุรกรรมเงินสด
Other Titles: Anti-money laundering : a study of measure for cash transaction
Authors: ปภาสิริ ภาคอัตถ์
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การฟอกเงิน
เงินตรา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การฟอกเงิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบัน การกระทำความผิดฐานฟอกเงินโดยใช้เงินสดนั้น ได้มีการพัฒนารูปแบบของการกระทำความผิดออกไปเป็นอย่างมาก ได้แก่ วิธีการเปลี่ยนสภาพเงินสกปรกเป็นทรัพย์สินที่มีค่าต่างๆ เช่น รถยนต์ ทองคำ อัญมณี ปศุสัตว์ แล้วต่อมาจึงเอาสังหาริมทรัพย์เหล่านั้นกลับมาเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสด ทำให้เงินที่ได้มาในภายหลังดังกล่าว กลายเป็นเงินซึ่งมีที่มาโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยการทำธุรกรรมที่ใช้เงินสดเหล่านี้มักจะกระทำกันเองโดยตรง ไม่ผ่านสถาบันการเงิน ทำให้เป็นการยากที่จะติดตามหาร่องรอยที่จะนำไปสู่ตัวผู้กระทำความผิด ซึ่งในต่างประเทศได้มีความพยายามในการควบคุมการทำธุรกรรม หรือการชำระหนี้ที่ใช้เงินสดในการชำระหนี้ มิให้มีการใช้เงินสดปริมาณมากเกินกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมาย สนับสนุนให้มีการใช้บัตรเครดิต หรือสนับสนุนให้มีการชำระเงินด้วยการโอนเงิน กำหนดให้ใช้เงินสดได้ในจำนวนที่กำหนดเท่านั้น หากจำนวนมากกว่านั้นให้ใช้เช็คแทน ไม่ว่าจะเป็นการใช้เช็ค เช็คขีดคร่อม หรือตราสาร ทางการเงินอื่นๆ แทนการใช้เงินสดจำนวนมาก แต่สำหรับในประเทศไทย พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ยังมิได้มีการนำมาตรการทางกฎหมายดังกล่าวมาใช้อย่างชัดเจนนัก จึงเป็นเหตุผลอันสมควร ที่จะศึกษาถึงลักษณะของกฎหมาย เหตุผลในการนำกฎหมายมาใช้ รวมถึงศึกษาถึงผลดีและผลเสียของมาตรการทางกฎหมายดังกล่าว เพื่อนำมาปรับใช้ในประเทศไทยให้เหมาะสมต่อไป
Other Abstract: At present, the money laundering by using cash as a mechanism has developed its form of offence in a very advanced manner. Dirty money becomes valuable properties in various forms like high valued movables to viz automobiles, gold, jewels and cattles. And later on, these valuable movables are changed into cash. This later step cash becomes legal money. As these cash transactions are directly done without the help of financial institutions. It is difficult to trace to the offenders. In other countries, attempts have been made to control cash transaction or limit the extent of cash payment by law. Once the limit is not followed the law provides for two measures. The shot term one is to support the use of credit card or cash transfer as a mean of payment. The long term measures is to set a limit for cash payment. Any amount beyond that limit must be done by drawing a crossed cheque or other financial instrument. Whereas the Act for Prevention and Eradication of Money Laundering of B.E. 2542 of Thailand does not clearly provide for such a measure. It is therefore proper to carry out a study on the legal nature, reasons for bringing such a law into action and to make a survey on the pros and cons of such a bringing legal measure into actuatity in Thailand in a proper manner.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2545
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6168
ISBN: 9741730179
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
prapasiri.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.